Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4079
Title: | ผลการรักษารอยแผลเป็นนูนคีลอยด์ด้วยการใช้ความเย็นเทียบกับการฉีดยาไทรแอมซิโนโลน อเซ็ตโตไนด์เข้าไปในรอยแผล : การศึกษาเปรียบเทียบโดยมีกลุ่มควบคุมแบบสุ่ม |
Other Titles: | A comparison of cryosurgery and intralesional triamcinolone acetonide in the treatment of keloids : a randomized controlled trial |
Authors: | ศิริยศ ก่อเกียรติ, 2514- |
Advisors: | จิตรลดา วิภากุล วิวัฒน์ ก่อกิจ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | แผลเป็น ไทรแอมซิโนโลน อะเซ็ตโตไนด์ ศัลยกรรมใช้ความเย็น |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | รอยแผลเป็นนูนคีลอยด์เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในเวชปฏิบัติทั่วไป จนถึงปัจจุบันได้มีพัฒนาการรักษาโรคนี้มากขึ้น นอกจากการฉีดยาไทรแอมซิโนโลนที่ถูกนำมาใช้ในการรักษาเป็นส่วนใหญ่แล้ว มีผู้พยายามนำการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ มาใช้ เช่น การผ่าตัด การใช้แสงเลเซอร์ การปิดด้วยแผ่นซิลิโคน และการใช้ความเย็น การศึกษานี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบแบบสุ่มระหว่างการใช้ความเย็นและการฉีดยาไทรแอมซิโนโลน เพื่อดูผลการรักษารอยแผลเป็นนูนคีลอยด์ด้วยการใช้ความเย็น ผู้ป่วยจะถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มที่ได้รับการพ่นไนโตรเจนเหลวทุกสามสัปดาห์เป็นจำนวนสามครั้ง และกลุ่มฉีดยาไทรแอมซิโนโลนทุกสามสัปดาห์ จากจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 43 ราย พบว่า 37 รายมาติดตามการรักษาจนสิ้นสุดการศึกษา ค่าเฉลี่ยร้อยละของปริมาตรรอยแผลที่ลดลงของกลุ่มพ่นไนโตรเจนเหลวเท่ากับ 33.81 ส่วนกลุ่มฉีดยาไทรแอมซิโนโลนลดลงร้อยละ 45.32 ปริมาตรที่ลดลงของทั้ง 2 กลุ่มการทดลองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) แต่ผลข้างเคียงเช่นการเกิดตุ่มน้ำและอาการปวดจากการรักษาในกลุ่มพ่นไนโตรเจนเหลวมีมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการศึกษาสรุปได้ว่า การรักษารอยแผลเป็นนูนด้วยการพ่นไนโตรเจนเหลว ให้ผลการรักษาไม่แตกต่างจากวิธีมาตรฐาน ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้สามารถใช้เป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษารอยแผลเป็นนูนต่อไป |
Other Abstract: | Keloid is a common problem in dermatologic practice for which a variety of treatments are available i.e., intralesional triamcinolone acetonide, surgical procedure, laser, silicone gel and cryosurgery. Of these, intrelesional triamcinolone acetonide seems to be most commonly used and regarded as a standard treatment. We conducted a randomized, controlled trial in patients with keloid to determine the effectiveness of cryosurgery in the treatment of keloid. Patients were assigned to receive cryosurgery (three liquid nitrogen sprays performed every three weeks) or intralesional triamcinolone acetonide. Of 43 patients recruited, 37 patients completed the study. The average rate of decreasing proportion of the scar volume in liquid nitrogen was 33.81% and in triamcinolone acetonide group was 45.32%. There were no significant differences between the two groups (P>0.05). The cryosurgery group reported more adverse events in blister and tenderness. From this study, we conclude that cryosurgery in patient with keloid can produce similar therapeutic effects to intralesional triamcinolone. This method can be considered as the alternative means for treating patients with keloids |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4079 |
ISBN: | 9743344683 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
siriyot.pdf | 4.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.