Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41278
Title: | ลีลาภาษาและวรรณศิลป์ในพระราชหัตถเลขา ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
Other Titles: | The style and literary values of King Mongkut's letters |
Authors: | พิสิทธิ์ กอบบุญ |
Advisors: | สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | Mongkut, King of Siam, 1804-1868 Letters จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2347-2411 -- วิธีเขียน จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2347-2411 -- ภาษา จดหมาย การเขียนจดหมาย |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาคุณค่าด้านลีลาภาษาและวรรณศิลป์ในพระราชหัตถเลขา ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จากการศึกษาพบว่าลีลาภาษาและวรรณศิลป์ในพระราชหัตถเลขา มีลักษณะภาษาของการสื่อความถี่สะท้อนทัศนคติ อารมณ์ความรู้สึกของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างชัดเจน ตรงไปตรงมา ซึ่งเป็นการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ความชัดเจนของสารนั้นเกิดจากการใช้คำที่สื่อความหมายชัดเจน ได้แก่ คำแสดงความคิดเห็น คำแสดงความรู้สึก คำแสดงเจตนา พระองค์ทรงใช้สำนวนและภาพพจน์ลักษณะต่างๆ เพื่อสร้างความหมายสื่อถึงทัศนคติ อารมณ์ความรู้สึกของพระองค์อย่างชัดเจน ลีลาภาษาและวรรณศิลป์ประการสำคัญคือ การสร้างคำโดยการซ้อนคำและการซ้ำคำซึ่งช่วยสื่อความคิด อารมณ์ความรู้สึกอย่างชัดเจน เป็นการเน้นย้ำสารและทำให้ข้อความนั้นสละสลวยโดดเด่น พระองค์ทรงใช้ประโยคในการสื่อสารได้แก่ การใช้ประโยคบอกเล่าประโยคคำถาม ประโยคคำสั่งและประโยคขอร้อง ซึ่งมีเนื้อความที่แจ่มชัดตรงตามจุดมุ่งหมาย และมีลักษณะทางวรรณศิลป์ด้วยการใช้ประโยคซ้ำความและประโยคขนานความ ในการเรียบเรียงข้อความนั้นพระองค์ทรงเรียบเรียงข้อความอย่างเป็นระเบียบ การลำดับความคิดมีสัมพันธภาพไม่สับสน ทำให้สารที่ทรงสื่อถึงผู้รับนั้นมีความแจ่มชัด ดังนั้นลีลาภาษาในพระราชหัตถเลขาดังกล่าว จึงมีคุณค่าทั้งทางความหมายและความไพเราะงดงามทางภาษา พระราชหัตถเลขาเป็นวรรณกรรมที่สะท้อนทัศนคติ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในด้านต่างๆ ได้แก่ ทัศนคติด้านการเมืองการปกครอง การต่างประเทศ วิทยาการตะวันตกและความเชื่อในด้านต่างๆ ซึ่งเป็นข้อมูลความรู้ทางประวัติศาสตร์และสังคมที่สำคัญยิ่ง เป็นแหล่งความรู้ทางวัฒนธรรม สำนวนภาษาของยุคสมัย อีกทั้งยังมีคุณค่าให้ความเพลิดเพลิน ประเทืองอารมณ์แก่ผู้อ่านด้วย |
Other Abstract: | To study the style and literary values of King Mongkut's letters. The study reveals that the style of King Mongkut's letters consists of vivid language use for an efficient communication reflecting his attitude and feeling. The vividness of the message in the texts is achieved through the precise and careful choice of words expressing opinion, feeling and purpose. The use of repetition and compounded words, as well as the use of idioms and imagery, enhance the eloquence of style. The use of literary techniques such as phrase repetition and pararellism helps to convey his ideas with clearity and charm. Moreover, the unity and harmony between the ideas and the language use establish a literary beauty of these royal letters. Apart the style, the content of these royal letters is a great source of knowledge in numerous fields-history, social history, culture and language use in the early Rattanakosin period. Thus King Mongkut's letters can be considered an important piece of literary work of both pleasure and profit for the readers |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41278 |
ISBN: | 9743329749 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pisit_Ko_front.pdf | 251.98 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pisit_Ko_ch1.pdf | 199.93 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pisit_Ko_ch2.pdf | 831.7 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pisit_Ko_ch3.pdf | 1.22 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pisit_Ko_ch4.pdf | 727.67 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pisit_Ko_ch5.pdf | 1.61 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pisit_Ko_ch6.pdf | 1.49 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pisit_Ko_ch7.pdf | 184.42 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pisit_Ko_back.pdf | 212.49 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.