Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41982
Title: การติดงานและความผูกใจมั่นในงาน : สาเหตุเชิงแรงจูงใจ และผลด้านความเหนื่อยหน่ายในงาน
Other Titles: Workaholism and work engagement : motivational antecedents and job burnout consequence
Authors: เจณิกา วังสถาพร
Advisors: ณัฐสุดา เต้พันธ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การจูงใจ (จิตวิทยา)
ความพอใจในการทำงาน
กลุ่มอาการบ้างาน
การบ้างาน
ลูกจ้าง -- แง่จิตวิทยา
การทำงาน -- แง่จิตวิทยา
Motivation (Psychology)
Job satisfaction
Workaholism
Workaholics
Employees -- Psychological aspects
Work -- Physiological aspects
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ศึกษาปัจจัยสาเหตุทางด้านแรงจูงใจ และปัจจัยผลด้านความเหนื่อยหน่ายในงานของการติดงานและความผูกใจมั่นในงาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้ คือ พนักงานที่ปฏิบัติงานในบริษัทเอกชน จำนวน 650 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดแรงจูงใจในการทำงาน, มาตรวัดการติดงาน, มาตรวัดความผูกใจมั่นในงาน และมาตรวัดความเหนื่อยหน่ายในงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการสร้างสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรมลิสเรล (LISREL) ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลเชิงสาเหตุและเชิงผลของการติดงานและความผูกใจมั่นในงานสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) การติดงานมีแรงจูงใจมาจากการควบคุมพฤติกรรมจากการปลูกฝังทางสังคม (β = .23, p < .05) และการควบคุมพฤติกรรมจากอัตลักษณ์ (β = .48, p < .001) ในทิศทางบวก แต่มีแรงจูงใจมาจากการควบคุมพฤติกรรมจากภายในในทิศทางลบ (β = -.19, p < .05) 3) ความผูกใจมั่นในงานมีแรงจูงใจมาจากการควบคุมพฤติกรรมจากอัตลักษณ์ (β = .82, p < .001) และการควบคุมพฤติกรรมจากภายใน (β = .45, p < .001) ในทิศทางบวก แต่มีแรงจูงใจมาจากการควบคุมพฤติกรรมจากการปลูกฝังทางสังคมในทิศทางลบ (β = -.58, p < .05) 4) การติดงานส่งอิทธิพลทางตรงในทิศทางบวกต่อความเหนื่อยหน่ายในงาน (β = .17, p < .001) ขณะที่ความผูกใจมั่นในงานส่งอิทธิพลทางตรงในทิศทางลบต่อความเหนื่อยหน่ายในงาน (β = -.52, p < .001)
Other Abstract: The purposes of this research were to study motivational antecedents and job burnout consequence of workaholism and work engagement. Participants were 650 Thai employees from private organizations. There were 4 research instruments: the motivation at work scale, the workaholism scale, the work engagement scale and the job burnout scale. The Structural Equation Model analysis using LISREL program was employed. Findings are as follows : 1) The antecedents and consequence model of workaholism and work engagement significantly fits the empirical data. 2) Workaholism is positively motivated by introjected regulation (β = .23, p < .05) and identified regulation (β = .48, p < .001) but negatively motivated by internal regulation (β = -.19, p < .05). 3) Work engagement is positively motivated by identified regulation (β = .82, p < .001) and internal regulation (β = .45, p < .001) but negatively motivated by introjected regulation (β = -.58, p < .05). 3) Workaholism has a positive direct effect to job burnout (β = .17, p < .001) and work engagement has a negative direct effect to job burnout (β = -.52, p < .001).
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41982
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1217
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1217
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jenika_wa.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.