Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42196
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พร วิรุฬห์รักษ์ | - |
dc.contributor.advisor | มานพ พงศทัต | - |
dc.contributor.author | ภาริณี อธิพันธุ์จินดา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2014-04-18T01:54:14Z | - |
dc.date.available | 2014-04-18T01:54:14Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42196 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | ปัจจุบันโครงการอสังหาริมทรัพย์ ได้มีการเปิดตัวโครงการเป็นจำนวนมาก ช่องทางการจำหน่ายทางการตลาดจึงมีความสำคัญมาก เพราะจะทำให้สินค้าเป็นที่รับรู้ต่อกลุ่มผู้บริโภค และนำไปสู่การตัดสินใจซื้อในที่สุด วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคุ้มค่าของช่องทางการจำหน่ายด้านการออกงาน “มหกรรมบ้านและคอนโดฯ” ของกลุ่มผู้ประกอบการอาคารชุดรายกลางถึงรายเล็ก พร้อมสรุปและวิเคราะห์ผลที่ได้รับ เพื่อเป็นข้อเสนอแนะแก่ผู้ประกอบการ ในการวางแผนด้านการตลาด ด้านความคุ้มค่าศึกษา 3 ด้านได้แก่ อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการทางการตลาดต่อยอดขาย อัตราการขาย และ การเปรียบเทียบสัดส่วนค่าใช้จ่ายทางการตลาดของแต่ละโครงการ ด้วยวิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์ผู้วางแผนทางการตลาดจำนวน 8 บริษัท ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการวางแผนการทางการตลาดของผู้ประกอบการอาคารชุดทั้งรายกลางถึงรายเล็ก มีการกระทำที่สอดคล้องกัน 3 ด้าน คือ ศึกษากลุ่มเป้าหมายของตนเอง การเลือกใช้สื่อโฆษณาสำคัญที่สุดคือการทำการตลาด ณ ทำเลที่ตั้งโครงการ ในรัศมี 5 กิโลเมตร และการวางแผนเรื่องงบประมาณทางการตลาดด้านการใช้สื่อขึ้นอยู่กับมูลค่าโครงการรวมเป็นหลัก สำหรับการศึกษาด้านความคุ้มค่าพบว่า กลุ่มผู้ประกอบการอาคารชุดรายกลาง ด้านอัตราส่วนค่าใช้จ่ายทางการตลาดต่อยอดขาย โครงการ ริชี่พาร์ค (ร้อยละ 0.69) มีความคุ้มค่ามากที่สุด ด้านอัตราขาย โครงการ แอม ฟายน์ (5:1) มีความคุ้มค่ามากที่สุด และด้านการเปรียบเทียบสัดส่วนค่าใช้จ่ายทางการตลาด ทุกโครงการมีค่าใช้จ่ายการโฆษณา โดยเน้นป้ายโฆษณากลางแจ้งมากที่สุด รองลงมาเป็นการตลาดทางตรง โดนเน้นการออกงานมหกรรมแสดงสินค้า และการตลาดทางอินเตอร์เน็ตเป็นสัดส่วนน้อยที่สุด สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการอาคารชุด รายเล็ก ในด้านอัตราส่วนค่าใช้จ่ายทางการตลาดต่อยอดขาย โครงการ ฟ้าโดม (ร้อยละ 7.69) มีความคุ้มค่ามากที่สุด ด้านอัตราขาย โครงการ ซี สไตล์ (33.30:1) มีความคุ้มค่ามากที่สุด และด้านการเปรียบเทียบสัดส่วนค่าใช้จ่ายทางการตลาด ทุกโครงการมีการใช้ค่าใช้จ่ายการโฆษณามากที่สุด โดยเน้นป้ายรอบๆบริเวณโครงการ รองลงมาจะเป็นการตลาดทางตรง และการตลาดทางอินเตอร์เน็ตให้ความสำคัญน้อยที่สุด โดยจะใช้เพียงเว็บไซต์ของทางบริษัทเท่านั้น ข้อเสนอแนะ สำหรับผู้ประกอบการ ช่องทางการจำหน่ายงานมหกรรมบ้านและคอนโด ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สามารถสร้างการรับรู้ของตราสินค้า และเป็นการประชาสัมพันธ์ข้อมูลโครงการ เพื่อส่งผ่านไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ดีมากที่สุดวิธีหนึ่ง นอกเหนือจากการวัดในรูปแบบของเม็ดเงิน และกำไรที่ได้รับ และยังสามารถใช้ เป็นเครื่องมือทางการตลาด เพื่อเสริมด้านประสิทธิผลจากการใช้ป้ายโฆษณา เพื่อเป็นการตอกย้ำตราสินค้า และสร้างการรับรู้ของตัวโครงการ ได้อีกทางหนึ่งเช่นกัน สำหรับผู้จัดงาน ด้านตำแหน่งบูทมีผลต่อการเดินชมงานของกลุ่มผู้บริโภค และยอดขายของโครงการ จึงเสนอแนะให้ปรับผังบูท และจัดโซนทำเล เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ทั้งยังทราบถึงแนวโน้มด้านทำเลที่ตั้งที่ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการ และกลุ่มเป้าหมายในแต่ละช่วงเวลาของการจัดงานอีกด้วย ข้อค้นพบ จัดงานแสดงสินค้าเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการรายกลางถึงรายเล็ก ข้อดีคือ แข่งขันกับระดับเดียวกันทั้งด้านราคา ทำเล โปรโมชั่น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการในตัวสินค้าของกลุ่มผู้บริโภคให้มากที่สุด ยังนำไปสู่ความคุ้มค่าสูงสุดในการช่องทางการจำหน่ายนี้ | en_US |
dc.description.abstractalternative | Presently, since a large number of real estate/condominium property projects have been launched, marketing channels are indispensable as they have an important role in terms of consumer recognition and can eventually result in decision-making. The objective of this research was to study the value of the marketing channel at the "House and Condo Show" for medium and small condominium developers. This research also analyzed the results for developers in terms of marketing planning for three dimensions of "value", which are the marketing cost/total sale rate, sale rate, and a comparison of the marketing cost per project, primarily based on a qualitative analysis of a focus group interview of 8 marketing planners. The study found that the marketing planning of medium and small condominium developers shared 3 practices in common; studying the target group, selecting the important advertisement mode for a marketing campaign within 5 kilometers of the project site, and marketing budget planning for media utilization depending on the total value of the project. The study of "value" showed that medium condominium developers gained the most value from "marketing cost/total sale rate" (the Richi Park Project [0.69%] had the highest value). For the sale rate analysis, the Am Fine Project (5:1) had the highest value. For the comparison of the marketing cost per project, every project bore advertising costs, particularly for billboards and direct marketing while events and online marketing were the least costly. In terms of the marketing cost per project among small condominium developers, the Fah Dome Project (7.69%) had the most value. For the sale rate, the C Style Project (33:30:1) had the most value. In regard to the comparison of the marketing cost ratio, every project bore the highest advertising cost, particularly for billboards around the project site and direct marketing while online marketing or using only company websites had the lowest importance. For developers, the research suggests that the distribution channels of the "House and Condo Show" can be recognized as another effective way to create brand recognition and as a way to promote their projects to target customers. In addition, in terms of cash and revenue, it is also employed as a marketing tool as another way to support the billboards to gain more brand recognition and brand awareness for the projects. The location of the display booths has an effect on visiting customers and the total sales of the projects. Therefore, the developers should arrange their booth scheme and display zone in order to easily reach target customers. In addition, they will be able to see the trend in booth layout plans among other developers and target customers at different exhibitions. The research also found that the advantage of establishing an exhibition by small condominium developers is that they will compete with other developers of the same size in terms of price, location, and promotions which will satisfy the consumers' product needs the most. Finally, this will lead to the highest value for such a distribution channel. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.732 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ช่องทางการตลาด | en_US |
dc.subject | อาคารชุด -- การตลาด | en_US |
dc.subject | ที่อยู่อาศัย -- การตลาด | en_US |
dc.subject | การสื่อสารทางการตลาด | en_US |
dc.subject | พฤติกรรมผู้บริโภค | en_US |
dc.subject | Marketing channels | en_US |
dc.subject | Condominiums -- Marketing | en_US |
dc.subject | Dwellings -- Marketing | en_US |
dc.subject | Communication in marketing | en_US |
dc.subject | Consumer behavior | en_US |
dc.title | ช่องทางการจำหน่ายใน “งานมหกรรมบ้านและคอนโดฯ” : กรณีศึกษาผู้ประกอบการโครงการอาคารชุดรายกลาง-รายเล็ก | en_US |
dc.title.alternative | The marketing channel at the “House and Condo Show” : a case study of a medium–small condominium developer | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.732 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
parinee_at.pdf | 4.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.