Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42246
Title: การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ด้วยศูนย์การเรียนเสมือนเพื่อเสริมสร้างความสามารถการเรียนรู้เป็นทีมของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3
Other Titles: The development of a model of organizing social studies religious and culture subject group instruction using virtual learning centers to enhance team learning ability of third key stage students
Authors: พีรภัทร ฉัตรสุวรรณ
Advisors: เนาวนิตย์ สงคราม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การทำงานเป็นทีม
กลุ่มทำงานเสมือน
การเรียนรู้
ศูนย์การเรียน
Teams in the workplace
Virtual work teams
Learning
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ (1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ด้วยศูนย์การเรียนเสมือนเพื่อเสริมสร้างความสามารถการเรียนรู้เป็นทีมของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ด้วยศูนย์การเรียนเสมือนเพื่อเสริมสร้างความสามารถการเรียนรู้เป็นทีมของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 (3) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ด้วยศูนย์การเรียนเสมือนเพื่อเสริมสร้างความสามารถการเรียนรู้เป็นทีมของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 และ (4) เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ด้วยศูนย์การเรียนเสมือนเพื่อเสริมสร้างความสามารถการเรียนรู้เป็นทีมของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบวัดความสามารถการเรียนรู้เป็นทีม แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความพึงพอใจของผู้เรียน และ บทเรียนด้วยศูนย์การเรียนเสมือน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้การทดสอบค่าที (t-test) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของความสามารถการเรียนรู้เป็นทีมของกลุ่มทดลองในครั้งที่ 1 กับครั้งที่ 4 ของการทดลอง ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ด้วยศูนย์การเรียนเสมือนเพื่อเสริมสร้างความสามารถการเรียนรู้เป็นทีมของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ที่พัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบคือ (1) ผู้เรียนในฐานะส่วนหนึ่งของทีม (2) ผู้สอนในฐานะผู้อำนวยการเรียนรู้ (3) ชุดการสอนเสมือนแบบสื่อประสม (4) การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทีม (5) การจัดโลกเสมือนจริงเป็นศูนย์กิจกรรม และ (6) โลกเสมือนจริงและระบบสนับสนุนการเรียน มีขั้นตอนได้แก่ (1) การนำเข้าสู่บทเรียน (2) การสร้างทีมและการวางแผนทีมบนโลกเสมือนจริง (3) การศึกษาความรู้โดยใช้ชุดการสอนเสมือน (4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสมาชิกทีมโดยใช้เครื่องมือสนทนาบนโลกเสมือนจริง (5) การสร้างผลงานร่วมกันบนโลกเสมือนจริง และ (6) การอภิปรายและสรุปบทเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม จำนวน 27 คน และผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน จากการตรวจสอบประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าวด้วยการนำไปทดลองใช้ ปรากฏว่านักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบดังกล่าวมีความสามารถการเรียนรู้เป็นทีมสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this research were: 1) to study the opinions of the experts about the development of a model of organizing social studies religious and culture subject group instruction using virtual learning centers to enhance team learning ability; 2) to improve the development of a model of organizing social studies religious and culture subject group instruction using virtual learning centers to enhance team learning ability of third key stage students; 3) to study the results of using the development of a model of organizing social studies religious and culture subject group instruction using virtual learning centers to enhance team learning ability; and 4) to present the development of a model of organizing social studies religious and culture subject group instruction using virtual learning centers to enhance team learning ability of third key stage students. Instruments consisted of a specialist interview form, a team learning ability test, a learning achievement, an attitude questionnaire, and a virtual learning centers. The data were analyzed using t-test to compare the mean scores of team learning abilities at the first and fourth stages of the implementation process. The results of the study revealed that are six elements and six steps. The six elements were 1) Learners; 2) Facilitator; 3) Instructional package; 4) Activities; 5) Learning centers; and 6) Virtual world. The six steps were 1) Introduction; 2) Team buildings on virtual worlds; 3) Study by using virtual instructional package; 4) Knowledge sharing between team members by using chat; 5) Implementation by doing an assignment on virtual worlds; and 6) Discussion and conclusion. These subjects consisted of five specialists and twenty-seven students in grade eight at Kanjanapisek Witthayalai Nakornphathom School. A comparison of the first stage scores and fourth stage score of the experimental group shows higher a statistically significant difference at .05 level of team learning abilities.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42246
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.908
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.908
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
peerapat _ch.pdf9.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.