Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42274
Title: ผลของสติกมาสเตอรอลต่อการแช่แข็งของยีสต์ทนร้อน Kluyveromyces marxianus UBU1-11
Other Titles: Effects of stigmasterol on freezing of thermotolerant yeast Kluyveromyces marxianus UBU1-11
Authors: อภิญญา แซ่โง้ว
Advisors: สุเมธ ตันตระเธียร
ชื่นจิต ประกิตชัยวัฒนา
วรภา คงเป็นสุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
[email protected]
Subjects: เอทานอล
กลูยเวอร์โรมัยซีส มาร์เซียนัส
ยีสต์
Ethanol
Yeast
Kluyveromyces marxianus
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: Kluyveromyces marxianus เป็นยีสต์ทนร้อนที่มีบทบาทสำคัญ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรม เอทานอลเนื่องจากช่วยลดค่าใช้จ่ายในการหล่อเย็นเพื่อรักษาอุณหภูมิของถังหมักและยังสามารถใช้น้ำตาล แลคโตสเป็นแหล่งคาร์บอนได้ แต่การเก็บเชื้อโดยวิธีการถ่ายเชื้อเมื่อทำเป็นประจำอาจทำให้เซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมได้ และการเก็บรักษาเซลล์ด้วยการแช่แข็งอาจทำให้จำนวนเซลล์รอดชีวิตต่ำ ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสติกมาสเตอรอลต่อการอยู่รอดของ K. marxianus หลังการแช่แข็ง โดยแปรระดับสติกมาสเตอรอลที่เติมในอาหารเลี้ยงเชื้อ 0-9 mg/L ต่อการเจริญของ K. marxianus พบว่า สติกมาสเตอรอลไม่มีผลในการเจริญ และพบสติกมาสเตอรอลในเซลล์เมื่อเติมใน YM broth ตั้งแต่ 5 mg/L จากนั้นจึงได้ศึกษาผลของปริมาณสติกมาสเตอรอลในเซลล์และอุณหภูมิในการแช่แข็งต่อเปอร์เซนต์การอยู่รอดของ K. marxianus พบว่า K. marxianus ที่ไม่มีสติกมาสเตอรอลมีเปอร์เซนต์การอยู่รอดหลังแช่แข็ง 38.12 – 44.10% และ K. marxianus ที่มีสติกมาสเตอรอลมีเปอร์เซนต์การอยู่รอดหลังแช่แข็ง 65.54 – 84.90% เมื่อพิจารณาอัตราเร็วของการแช่แข็งพบว่า K. marxianus ที่มีและไม่มีสติกมาสเตอรอลมีเปอร์เซนต์การอยู่รอดหลังการแช่แข็งสูงสุดที่อัตราเร็วแช่แข็ง 10 ℃/min โดยพบว่าสติกมาสเตอรอลมีผลทำให้เปอร์เซนต์การอยู่รอดหลังการแช่แข็งเพิ่มขึ้นในทุกอัตราเร็ว เมื่อเก็บแช่แข็ง K. marxianus เป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่าการลดลงของจำนวนเซลล์มีชีวิตเมื่อเก็บแช่แข็งที่อุณหภูมิต่ำน้อยกว่าเก็บแช่แข็งที่อุณหภูมิสูง และ K. marxianus ที่มี สติกมาสเตอรอลมีการลดลงของจำนวนเซลล์มีชีวิตระหว่างการเก็บแช่แข็งน้อยกว่า K. marxianus ที่ไม่มี สติกมาสเตอรอลในทุกอุณหภูมิเก็บแช่แข็ง และนอกจากศึกษาผลของสติกมาสเตอรอลและการแช่แข็งต่อเปอร์เซนต์การอยู่รอดหลังการแช่แข็งแล้วได้ศึกษากิจกรรมของเบตากาแลคโตซิเดสเพื่อเป็นตัวแทนกิจกรรมของเซลล์ พบว่าสติกมาสเตอรอลและการแช่แข็งไม่มีผลต่อเอนไซม์ดังกล่าว
Other Abstract: Kluyveromyces marxianus has an important role for industries, espeacially in alcohol industry because it is ability to save energy and expenses due to reduce cooling costs. To maintain culture, subculturing to a new medium oftenly may induce sapontaniuos mutation. Freezing could be an interesting method for culture maintenance. K. marxianus is a thermotolereant yeast, subzero temperature could be fatal. So, the objective for this research was to study the effect of stigmasterol on the survival of the culture after freezing. The addition of stigmasterol to the growth medium at 0-9 mg/L, it was found that, stigmasterol did not affect for the growth of K. marxianus. Stigmasterol in cell was found when added stigmasterol more than 5 mg/L. To study the effect of stigmasterol and temperature for freezing, it was found that the survival of K. marxianus cells contained no stigmasterol were 38.12 – 44.10% while K. marxianus cells contained stigmasterol wrer 65.54 – 84.90%. It was found that the freezing rate of 10 ℃/min showed the highest survival rate in both groups of K. marxianus. The cells contained stigmasterol survived freezing injury better than the cells without stigmasterol. The storage of cells for 6 weeks, it was found that the lower temperature of storage gave the lower number of survival cell than higher storage temperatures. K. marxianus containing stigmasterol had the number of survival cell higher than K. marxianus didn’t contain stigmasterol in all storage temperatures. Moreover, to study the effect of freezing and stigmasterol on cell activity, betagalactosidase was selected as representative. It was found that, stigmasterol and freezing didn’t affect the activity.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีทางอาหาร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42274
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.953
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.953
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
apinya _Sa.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.