Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42278
Title: การพัฒนาระบบแผนผลิตหลักในโรงงานผลิตลวดอัดแรงโพสเทนชั่น
Other Titles: Development of master production plan system in a post tension strand factory
Authors: บดินทร์ อัฑฒ์วงศ์ไพศาล
Advisors: โอฬาร กิตติธีรพรชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การวางแผนการผลิต
การควบคุมการผลิต
ลวด
Production planning
Production control
Wire
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอการพัฒนาระบบแผนผลิตหลักของโรงงานผลิตลวดอัดแรงโพสเทนชั่นซึ่งมีรูปแบบการผลิตตามการออกแบบทางวิศวกรรม (Engineering-To-Order) ทำให้ลวดอัดแรงที่ใช้ในโครงสร้างขึ้นอยู่กับธรรมชาติของโครงการ เช่น ลักษณะการใช้งาน รูปแบบการรับน้ำหนัก ซึ่งจำเป็นต้องถูกออกแบบโดยวิศวกรที่แตกต่างกันในแต่ละโครงการ โรงงานผลิตจึงได้รับข้อมูลความต้องการน้ำหนักลวดของแต่ละโครงการล่าช้าหรือใกล้เคียงกำหนดเวลาความต้องการใช้ ส่งผลให้ไม่สามารถวางแผนให้ดำเนินการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความไม่แน่นอนของแผนที่วางไว้ การวิจัยนี้จึงศึกษาข้อมูลการออกแบบในอดีตเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสัดส่วนปริมาณลวดอัดแรงต่อพื้นที่และของปัจจัยทางวิศวกรรมของโครงสร้างที่ทราบก่อนการออกแบบโดยใช้วิธีการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) ด้วยค่าความเชื่อมั่น 95% พบว่าปัจจัยทางวิศวกรรมสี่ปัจจัยที่มีผลต่อสัดส่วนน้ำหนักลวดอัดแรงต่อพื้นที่คือระยะห่างระหว่างช่วงเสา ความลึกของคานกว้าง ความหนาพื้น และความสามารถในการรับน้ำหนักสถิต จึงนำปัจจัยดังกล่าวมาสร้างแบบจำลองถดถอยแบบเชิงเส้น (Linear Regression Model) เพื่อพยากรณ์น้ำหนักลวดอัดแรงเพื่อไปใช้ในการวางแผนการผลิต นอกเหนือจากการขาดข้อมูลความต้องการใช้ลวดแล้ว การผลิตลวดอัดแรงโพสเทนชั่นยังประสบปัญหาการสื่อสาร การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบของแผนกต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงมีการจัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อกำหนดขั้นตอนการทำงานมาตรฐานร่วมกัน พร้อมพัฒนาระบบการวางแผนผลิตหลักแบบออนไลน์โดยอาศัยขั้นตอนมาตรฐานและแบบจำลองการพยากรณ์ข้างต้น เมื่อทดสอบประสิทธิภาพของระบบออนไลน์ดังกล่าวในช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 ถึง เดือนตุลาคม พ.ศ.2555 พบว่า 95% ของการผลิตเป็นไปตามแผนการผลิตที่ได้วางไว้ในขณะที่อดีตทำได้เพียงประมาณ 60% นอกจากนี้ระบบการวางแผนผลิตหลักดังกล่าวยังสามารถช่วยวางแผนวิธีขนส่งที่เหมาะสมอีกด้วย
Other Abstract: This thesis reports the development of a master production planning system for a post-tension strand factory. This factory manufactures post-tension strands as Engineering-To-Order. The strands to reinforce the structure depend on the nature of each project such as load function, load bearing profile etc. In addition, each project may use a different engineer. As a result, the factory often receives the requirement of strands from each project rather late and too close to usage date. Therefore, production plans are often inefficient and unreliable. Data of past designs are collected and analyzed to formulate the relationship between the ratio of strand weight per area and engineering specifications that are known before the design process using one-way analysis of variance (ANOVA). With 95% confidential level, ANOVA suggests that the ratio is affected by four engineering specifications namely column span, depth of band beam, slab thickness, and super imposed dead loads. A linear regression model is then formulated to predict post-tension strand requirement in each project. In addition to the lack of demand projection, there are poor communication and unclear roles and responsibilities among related departments in the production of post-tension strands. To solve this problem, small group workshops were organized to develop standard work process an online master production planning system. The test of the online system during August to October 2012 resulted in 95% of the actual production that followed the master plan, compared to only about 60% in the past. Besides, the new planning system enables the planning of appropriate transportation modes.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42278
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1010
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1010
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
bodin _At.pdf6.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.