Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42281
Title: การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสอนของนักศึกษาครู
Other Titles: The development of a knowledge management learning model to enhance student teachers' teaching competencies
Authors: บัณฑิต ฉัตรวิโรจน์
Advisors: พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์
อภิภา ปรัชญพฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: นักศึกษาครู
การบริหารองค์ความรู้
การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
การทำงานกลุ่มในการศึกษา
การฝึกสอน
Student teachers
Knowledge management
Student-centered learning
Group work in education
Student teaching
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะการสอนของนักศึกษาครู 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบการจัดการความรู้ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสอนของนักศึกษาครู และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบการจัดการความรู้ที่เสริมสร้างสมรรถนะการสอนของนักศึกษาครู ขั้นตอนการดำเนินการมีดังนี้ 1. ศึกษาสมรรถนะการสอนของนักศึกษาครู โดยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ประกอบด้วย นักศึกษาครูจำนวน 960 คน และอาจารย์นิเทศก์จำนวน 130 คนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏ 7 แห่ง โดยสุ่มตัวอย่างจากประชากรที่ประกอบด้วยนักศึกษาครูและอาจารย์นิเทศก์มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ ผลการศึกษา พบว่า สมรรถนะด้านการเตรียมการสอนและการวางแผนการสอน ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และด้านการวัดผลประเมินผลการเรียนการสอนอยู่ในระดับปานกลางส่วน ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นอาจารย์นิเทศก์กับนักศึกษาครูเกี่ยวกับสมรรถนะการสอนของนักศึกษาครูทั้ง 3 ด้าน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบการจัดการความรู้ ซึ่งได้รับการประเมินความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญที่ระดับมากที่สุด รูปแบบนี้มีลักษณะเด่น คือ การบูรณาการการจัดการความรู้ กระบวนการกลุ่มและเรียนรู้แบบร่วมมือ การเรียนรู้แนวสร้างสรรค์นิยม การนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติ และการประเมินผลตามสภาพจริง 3. การนำรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบการจัดการความรู้ไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ในรายวิชาการพัฒนาความเป็นครูวิชาชีพ จำนวน 60 คน : กลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน จากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ t – test พบว่า กลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและสมรรถนะการสอนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The objectives of this research were 1) to investigate student teachers’ teaching competencies, 2) to develop a Knowledge Management Learning Model; and 3) to evaluate the outcomes from utilization of the Knowledge Management Learning Model. The research procedure is as follows: 1. In terms of the investigation of student teachers’ teaching competencies, datas were collected from the samples of 960 student teachers and 130 supervising lecturers from 7 universities. These samples are selected from student teachers and supervising lecturers across the country. The result of the study showed that the level of teaching preparation, teaching performance, and teaching evaluation are at the moderate level. The differences between student teachers and supervising lecturers’ views on student teachers’ teaching competencies are at the .05 level of significance. 2. Knowledge Management Learning Model was developed and approved by experts at the highest level. Strengths of this model were the integration of the concepts of knowledge management, group processing and cooperative learning, constructivism, knowledge application, and authentic assessment. 3. The Knowledge Management Learning Model is tested with 60 student teachers in Kamphaeng Phet Rajabhat: the treatment group (n=30) and the controlled group (n=30) with a course, titled the Teacher Professional Development. Data’s on teaching competencies were analyzed with t-test. The results of the research showed that the average score on the student teachers’ learning achievement and teaching competencies’ of the treatment group is higher than those of the controlled group at the .05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42281
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1426
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1426
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bandhit_Ch.pdf4.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.