Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42320
Title: | การพัฒนารูปแบบการสร้างความรู้ด้วยการเรียนรู้จากการปฏิบัติและการเรียนรู้ร่วมกันสำหรับบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา : กรณีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Other Titles: | The development of a knowledge creation model using action learning and collaborative learning for staff members in higher education institutions: a case study of Faculty of Education, Chulalongkorn University |
Authors: | เนาวนิตย์ สงคราม |
Advisors: | อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง ปรีชา วิหคโต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การเรียนรู้แบบประสบการณ์ การเรียนรู้ร่วมกัน การเรียนแบบมีส่วนร่วม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ -- การพัฒนาบุคลากร Experiential learning Collaborative learning Active learning |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการสร้างความรู้ด้วยการเรียนรู้จากการปฏิบัติและการเรียนรู้ร่วมกัน 2. สร้างรูปแบบการสร้างความรู้ด้วยการเรียนรู้จากการปฏิบัติและการเรียนรู้ร่วมกันสำหรับบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา 3. ทดลองใช้รูปแบบการสร้างความรู้ด้วยการเรียนรู้จากการปฏิบัติและการเรียนรู้ร่วมกันสำหรับบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา และ 4. นำเสนอรูปแบบการสร้างความรู้ด้วยการเรียนรู้จากการปฏิบัติและการเรียนรู้ร่วมกันสำหรับบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความรู้และบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ที่ปฏิบัติงานอยู่ในคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ทำงานอยู่ในปีการศึกษา 2550 จำนวน 47 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น แบบประเมินค่านิยมการสร้างความรู้ แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานร่วมกัน แบบประเมินผลงานที่เป็นนวัตกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1. ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความรู้เห็นว่าองค์ประกอบของการสร้างความรู้ด้วยการเรียนรู้จากการปฏิบัติและการเรียนรู้ร่วมกันสำหรับบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา มี 7 องค์ประกอบ และมี 8 ขั้นตอน 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยค่านิยมการสร้างความรู้หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3. รูปแบบการสร้างความรู้ด้วยการเรียนรู้จากการปฏิบัติและการเรียนรู้ร่วมกันสำหรับบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบได้แก่ 1) วัฒนธรรมองค์กร 2) เทคโนโลยีสารสนเทศ 3) ภาวะผู้นำ 4) บรรยากาศ 5) ผู้ประสานงาน 6) กลุ่ม 7) ปัญหา 8) โครงการ และ 9) การประเมินผล และประกอบด้วย 8 ขั้นตอนได้แก่ 1) การเตรียมความพร้อมสำหรับบุคลากร 2) การกำหนดประเด็นปัญหา 3) การแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์และความคิดเห็น 4) การสร้างความรู้ และการพิจารณาความถูกต้องของความรู้ 5) การสร้างผลงานที่เป็นนวัตกรรม 6) การตรวจสอบความก้าวหน้าของผลงานที่เป็นนวัตกรรม 7) การทดลองใช้ผลงานที่เป็นนวัตกรรม และ 8) การประเมินผล และการสรุปผล |
Other Abstract: | The purposes of this research were to 1) study opinions of specialists concerning the knowledge creation using action learning and collaborative learning 2) create the knowledge creation model using action learning and collaborative learning for staff members in higher education institutions 3) study the effect of the knowledge creation model using action learning and collaborative learning on staff members and 4) propose the knowledge creation model using action learning and collaborative learning for staff members in higher education institutions. The samples consisted of five specialists in knowledge management and 47 supporting academic staff of faculty of Education, Chulalongkorn University working in the academic year of 2007. The research instruments were opinion questionnaire, knowledge creation value test, observational assessment and innovation evaluation form. The data were analyzed using mean, standard deviation and t-test dependent. The research findings showed that: 1. The specialists in knowledge management indicated that the knowledge creation model using action learning and collaborative learning for staff members in higher education institutions consisted of seven components and eight steps. 2. A t-test comparison of post-test scores and pretest scores of the samples showed statistically significant difference at .05 level between knowledge creation value. 3. The knowledge creation model using action learning and collaborative learning for staff members in higher education institutions consisted of eight components. They are 1) Organizational culture 2) Information communication technology 3) Leadership 4) Climate 5) Facilitator 6) Group 7) Problem 8) Project and 9) Evaluation. The eight steps of knowledge creation consisted of 1) Preparation activity 2) Identification of problem or knowledge 3) Sharing of knowledge, experiences and opinions 4) Create and justify knowledge 5) Create knowledge (Innovation) 6) Follow-up innovation progress 7) Implement the innovation and 8) Assessment and Summarize. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42320 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1076 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.1076 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Noawanit_So.pdf | 3.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.