Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42332
Title: การทำให้บริสุทธิ์และการเปลี่ยนเชิงเคมีไฟฟ้าของกลีเซอรอลดิบจากการผลิตไบโอดีเซล
Other Titles: Purification and electrochemical conversion of crude glycerol from biodiesel production
Authors: พเยีย สายหล้า
Advisors: มะลิ หุ่นสม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: พลังงานทดแทน -- ไทย
เชื้อเพลิงไบโอดีเซล
กลีเซอรีน
เคมีไฟฟ้า
Power resources -- Thailand
Biodiesel fuels
Glycerin
Electrochemistry
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการทำให้บริสุทธิ์และการเปลี่ยนเชิงเคมีไฟฟ้าของกลีเซอรอลดิบ จากการผลิตไบโอดีเซลที่ใช้น้ำมันที่ผ่านการใช้งานแล้วเป็นสารตั้งต้น ส่วนแรกเป็นการศึกษาการเพิ่มความบริสุทธิ์ของกลีเซอรอลดิบด้วยกระบวนการทางเคมี ตัวแปรที่ศึกษาคือ ชนิดของสารสกัดมีขั้ว (เมทานอล เอทานอล และโพรพานอล) และสารสกัดไม่มีขั้ว (เฮกเซนและไดเอทิลอีเทอร์) และอัตราส่วนโดยปริมาตรระหว่างสารสกัดและกลีเซอรอลดิบปรับสภาพ (0.5-4) พบว่าโพรพานอลที่อัตราส่วนโดยปริมาตรต่อกลีเซอรอลดิบปรับสภาพเท่ากับ 2 จะให้กลีเซอรอลดิบปรับสภาพที่มีความบริสุทธิ์ถึง 97.85% และการลดลงของสี 94.96% ส่วนที่สองเป็นการสังเคราะห์สารเพิ่มมูลค่าจากกลีเซอรอลดิบปรับสภาพ ที่ผ่านการเพิ่มความบริสุทธิ์ด้วยกระบวนการเคมีไฟฟ้า ในเครื่องปฏิกรณ์เคมีไฟฟ้าแบบไม่มีเยื่อเลือกผ่าน ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ ความเป็นกรด-เบสเริ่มต้น (ความเป็นกรด-เบสเท่ากับ 1, 7 และ 11) ความหนาแน่นกระแสไฟฟ้า (0.08-0.27 แอมแปร์ต่อ ตร.ซม.) ชนิดขั้วไฟฟ้า และอัตราการป้อนแก๊สไฮโดรเจน (30 60 และ 120 นาที) พบว่าการใช้แพลทินัมเป็นขั้วไฟฟ้าสำหรับสารละลายกลีเซอรอลที่ความเป็นกรด-เบสเท่ากับ 1 และความหนาแน่นกระแสไฟฟ้าเท่ากับ 0.14 แอมแปร์ต่อ ตร.ซม. จะให้ร้อยละการเปลี่ยนของกลีเซอรอลสูงถึง 97.00% ภายในเวลา 17 ชั่วโมง และเมื่อมีการป้อนแก๊สไฮโดรเจนให้กับระบบ พบว่าแก๊สไฮโดรเจนช่วยให้ร้อยละการเปลี่ยนของกลีเซอรอล และร้อยละผลได้ของสารเพิ่มมูลค่าเกิดได้เร็วขึ้นกว่า ระบบที่ไม่มีการป้อนแก๊สไฮโดรเจน โดยสารเพิ่มมูลที่เกิดขึ้นในระบบ เช่น ไกลไซดอล 1,2-โพรเพนไดออล และ 1,3-โพรเพนไดออล
Other Abstract: This work is carried out to purify and convert crude glycerol derived from waste used-oil methyl ester plant to valuable chemical compounds. The first part was the purification of pre-treated crude glycerol by chemical process. The effect of varying the types of polar extract (methanol, ethanol and propanol) and non-polar extract (hexane and diethyl ether) and volume ratio of extract to pre-treated crude glycerol on the purity of purified crude glycerol was investigated. The results demonstrated that the propanol at the volume ratio to pre-treated crude glycerol of 2.0 provided the highest purity of purified crude glycerol of 97.85% with the color reduction of 94.96%. The second part was the synthesis of valuable chemical compounds from purified crude glycerol by electrochemical technique in un-divided electrochemical reactor. Effects of initial pH (1, 7 and 11), current density (0.08-0.27 A/cm²), electrode types and hydrogen feed rate were explored. The results indicated that the use of Pt as electrode, initial pH of 1 and the current density 0.14 A/cm² provided the highest glycerol conversion (97.00 %) within 17 h electrolysis time. The presence of hydrogen gas in the system can enhance a fast conversion and production yield of valuable compounds compared with that in the absence of hydrogen gas. Valuable compounds generated by the electrochemical conversion of purified crude glycerol were glycidol, 1,2-propanediol, 1,3-propanediol and etc.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42332
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.973
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.973
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
payia_sa.pdf4.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.