Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42399
Title: ซอย : พื้นที่ว่างสาธารณะสำหรับคนเดินเท้าในพื้นที่ธุรกิจศูนย์กลางเมือง กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Sois : Public open spaces for pedestrians in central business district, Bangkok
Authors: วาญุภัทร ทองเหลือง
Advisors: ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: พื้นที่สาธารณะ
ตรอกและซอย
ทางเท้า
พื้นที่คนเดินเท้า
Public spaces
Alleys
Sidewalks
Pedestrian areas
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาองค์ประกอบทางกายภาพของซอย ในประเด็นการเป็นพื้นที่ว่างสาธารณะสำหรับคนเดินเท้าในเมือง เนื่องจากซอยเป็นพื้นที่ว่างสาธารณะที่มีความสำคัญทั้งในระดับเมืองและระดับชุมชน เป็นพื้นที่รองรับทั้งกิจกรรมการสัญจร และกิจกรรมทางสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาคุณสมบัติสำคัญของซอยที่ดีในย่านธุรกิจศูนย์กลางเมือง เสนอแนวทางเบื้องต้นในการกำหนดองค์ประกอบทางกายภาพ ของการพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่ธุรกิจศูนย์กลางเมือง กรุงเทพฯ ที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ซอยเป็นพื้นที่ว่างสาธารณะสำหรับคนเดินเท้า ซึ่งหากได้รับการพัฒนาที่ดีนอกจากจะสามารถใช้ซอยเป็นทางสัญจรลัดที่สะดวกสบายได้ร่มเงาตลอดทั้งวันแล้ว ยังเป็นการเปิดพื้นที่ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และสังคมขนาดเล็กให้กระจายเข้าสู่เนื้อเมืองในพื้นที่ปิดล้อมขนาดใหญ่ของเมือง ที่เป็นสาเหตุหลักอย่างหนึ่งของปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพฯ และสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาเมืองของกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน โดยเน้นขนส่งมวลชนระบบรางเป็นหลัก ซึ่งซอยก็จะช่วยทำหน้าที่กระจายการสัญจรของคนจากสถานีระบบรางเข้าสู่พื้นที่โดยรอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในย่านที่มีปริมาณการสัญจรสูงอย่างธุรกิจศูนย์กลางเมือง เป็นการยกระดับความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของคนในเมืองให้ดีขึ้น จากการศึกษาได้ข้อสรุปว่า การที่จะเป็นซอยที่ประสบผลสำเร็จของย่านธุรกิจศูนย์กลางเมือง กรุงเทพมหานครได้นั้นจะประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลักๆ ได้แก่ 1) คุณสมบัติทางกายภาพพื้นฐาน 3 ข้อหลัก คือ การเข้าถึงที่ดี, การประโยชน์อาคารและทางเดินเท้าที่หลากหลาย โดยเฉพาะพาณิชยกรรม และมีคุณภาพร่มเงาที่ดีตลอดทั้งวัน รวมถึงควรมีการพิจารณาคุณภาพทางด้านมุมมอง และความปลอดภัยกับคนเดินเท้าเป็นองค์ประกอบรองด้วย 2) คุณลักษณะพิเศษของซอย เช่น สินค้าและบริการที่เฉพาะตัว, การเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ หรือการมีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม เป็นต้น
Other Abstract: This research is a study of the physical characteristics of ‘sois’, or side streets, as public open spaces for pedestrians which are important both at the city and community level, and support both traffic and social activities. The research has as its objectives to conduct an analysis to determine the main characteristics of good sois in the central business district of a city and to provide preliminary guidelines for determining the physical elements that should be included in the development and rehabilitation of business areas in central Bangkok in relation to the use of sois as open public spaces for pedestrians. If properly developed, these sois can be convenient short-cut traffic routes providing shade all day long and can open up areas for small social and economic activity as part of the urban fabric of the city. As the enclosed nature of Bangkok is a main contributor to the traffic congestion problem in the city, this should help ease congestion while being in accordance with Bangkok’s current urban development policies, which principally focus on the rail mass transit system. In this way, the sois could have a role in dispersing traffic away from rail system stations to surrounding areas efficiently, especially in those high traffic areas such as the city center. This would further help improve the quality of living of urban people. It can be concluded from the research results that there are two main factors present in the best sois in Bangkok’s central business district: 1) The major physical elements of good access, buildings with a variety of uses, and sidewalks, particularly those that support commerce and have good shade all day long. There should also be the secondary element of pedestrian’s perspective and safety. 2) A soi’s distinguishing characteristics such as specific goods and services available, being in a historical area, or having distinctive architecture.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การออกแบบชุมชนเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42399
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1008
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1008
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wayupat _To.pdf5.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.