Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/424
Title: แนวทางการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง เครื่องปั้นดินเผาโดยการใช้ Discipline-Base Art Education เป็นฐาน ในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดสุโขทัย
Other Titles: Guidelines for developing local art education curriculum on ceramic subject based on Discipline-Based Art Education in the elementary schools, Changwat Sukhothai
Authors: ณริศรา พฤกษะวัน, 2519-
Advisors: สุลักษณ์ ศรีบุรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ศิลปกรรม--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
เครื่องปั้นดินเผา--การศึกษาและการสอน
การศึกษา--หลักสูตร
หลักสูตรท้องถิ่น
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่องเครื่องปั้นดินเผา โดยการใช้ DISCIPLINE-BASED ART EDUCATION เป็นฐาน ในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดสุโขทัย ในด้านการกำหนดวัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน การประเมิน สื่อการสอน และแหล่งการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา 171 คน และช่างผู้ผลิตงานเครื่องปั้นดินเผา 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกตประกอบการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่องเครื่องปั้นดินเผา โดยใช้ DISCIPLINE-BASED ART EDUCATION เป็นฐาน ในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดสุโขทัยมีความสอดคล้องกับความต้องการของสถานศึกษาและชุมชน ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาและผู้ผลิตงานเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านเป็นด้วยเป็นอย่างมากกับแนวทางการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง เครื่องปั้นดินเผา สรุปสาระสำคัญทางด้านต่างๆ ดังนี้ 1. การกำหนดวัตถุประสงค์ : ผู้เรียนควรได้รับการส่งเสริมให้มีความรัก ภูมิใจ และเห็นความสำคัญของชุมชนที่ตนอาศัยอยู่ อันนำไปสู่การพัฒนาและสืบทอดภูมิปัญญาเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านสุโขทัย 2. การกำหนดเนื้อหาสาระ : ผู้เรียนควรเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านในอดีต และเครื่องปั้นดินเผาสุโขทัยในปัจจุบัน 3. การกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ : ผู้เรียนควรได้ไปทัศนศึกษาในแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาในชุมชน 4. การประเมินผล : ผู้เรียนสามารถอธิบายประวัติที่มาของชุมชนเครื่องปั้นดินเผาของตนและทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นที่เอื้ออำนวยความสะดวกในการผลิตงานปั้นดินเผา 5. สื่อและแหล่งการเรียนรู้ : ผู้เรียนได้เรียนรู้จากโบราณวัตถุ โบราณสถานในชุมชน เช่น แหล่งเตาเผาโบราณ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาให้ความสำคัญกับแนวทางการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นด้านประวัติศาสตร์ศิลป์ของเครื่องปั้นดินเผาเป็นแกนนำสู่องค์ความรู้ทางสุนทรียศาสตร์ ศิลปะปฏิบัติ ศิลปวิจารณ์ และชุมชนที่ตนอาศัยอยู่
Other Abstract: The purpose of this research was to study guidelines for developing local art education curriculum on ceramic subject based on Discipline-based Art Education in the elementary schools, Changwat Sukhothai which concerned to develop learning objectives, contents, activities, evaluation, educational media and learning resources. The research population included 171 educational management stakeholders and 16 local ceramics makers. Research instruments were questionnaires, interview forms and observation via interviews. The data were analyzed by percentage, arighmetic mean, standard deviation, and content analysis. The research findings revealed that the development of local Art Education curriculum on ceramic subject based on Discipline-based Art Education in the elementary schools, Changwat Sukhothai was appropriate in students' learning with educational institutes and communities. The stakeholders crucially agreed as the same as the opinion of local-ceramic makers. The local Art Education curriculum on ceramic subject could be summarized on follows; 1. Defined Proposal: students should be encouraged to love, be proud of and be aware in their communities which leaded to the development and the transition of Sukhothai local wisdom in ceramics. 2. Defined Contents: students should learn the local folk art ceramics history from the past to present. 3. Defined Learning Activities: students should take a field trip to local ceramic factories. 4. Evaluation: students should be able to describe the history of their local folk art ceramic communities and local resources available in local areas, which facilitated the ceramic producing. 5. Learning equipment and learning resources: students should learn from antiques producing and antiquities in this community such as ancient ceramics, kiln and local museums. The stakeholders paid attention to the guidelines for developing local curriculum on especially art history of ceramics as a core leading to the knowledgement in aesthetics, art studio, art criticism and their own communities.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/424
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.108
ISBN: 9741760108
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.108
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narisara.pdf7.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.