Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42482
Title: | การนำกลับโมลิบดีนัมจากตัวเร่งปฏิกิริยาเอชดีเอสใช้แล้วโดยกรรมวิธีโลหการแบบใช้น้ำ |
Other Titles: | Recovery of molybdenum from spent HDS catalyst by hydrometallurgical process |
Authors: | ศิริพร วิรัชดำรงค์ |
Advisors: | เก็จวลี พฤกษาทร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ตัวเร่งปฏิกิริยา โมลิบดีนัม Catalysts Molybdenum |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ตัวเร่งปฏิกิริยาไฮโดรดีซัลเฟอไรเซชันใช้แล้ว ประกอบไปด้วยโลหะหลายชนิด เช่น อะลูมินัม โมลิบดีนัม โคบอลต์ นิกเกิลและอื่นๆ ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้โดยการแยกโลหะออกมา งานวิจัยนี้จึงมีความสนใจที่จะนำโลหะโมลิบดีนัมกลับคืนอย่างจำเพาะโดยการชะละลายด้วยกรดและการดูดซับด้วยถ่านกัมมันต์และการคายซับด้วยแอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ กระบวนการเริ่มต้นจากตัวแปรที่มีผลต่อการย่าง ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา และการบดตัวเร่งปฏิกิริยาใช้แล้วก่อนการย่าง พบว่าภาวะที่เหมาะสม คือ การย่างตัวเร่งปฏิกิริยาใช้แล้วที่ผ่านการบดที่อุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียส เวลา 180 นาที สามารถกำจัดสิ่งเจือปนได้เกือบทั้งหมดและยังให้ปริมาณของโมลิบดีนัมในรูปของออกไซด์สูงขึ้นจากร้อยละ 9.34 เป็น 13.64 โดยสิ่งเจือปนที่หายไปคือซัลเฟอร์ จากนั้นศึกษาตัวแปรที่มีต่อการชะละลายด้วยกรดซัลฟิวริก ได้แก่ ความเข้มข้น อุณหภูมิ และเวลาในการสัมผัสกัน พบว่าการใช้กรดซัลฟิวริกความเข้มข้น 1 โมลต่อลิตร อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส เวลาในการสัมผัสกัน 240 นาที สามารถชะละลายโลหะโมลิบดีนัมได้สูงถึงร้อยละ 96.7 ซึ่งเป็นภาวะที่ดีที่สุดในช่วงที่ทำการทดสอบ สำหรับการดูดซับโมลิบดีนัมไอออนด้วยถ่านกัมมันต์ พบว่าภาวะที่เหมาะสมในการดูดซับ คือ ค่าความเป็นกรด-เบส 1.5 เวลา 60 นาที และปริมาณตัวอย่างต่อสารชะละลายร้อยละ 20 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร ตัวดูดซับสามารถดูดซับโมลิบดีนัมสูงสุดถึงร้อยละ 87.5 และในการคายซับโลหะโมลิบดีนัมด้วยแอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ พบว่าเมื่อเพิ่มความเข้มข้นจะทำให้ประสิทธิภาพในการคายซับสูงขึ้น โดยแอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ ที่ความเข้มข้นร้อยละ 40 โดยน้ำหนัก ที่เวลา 240 นาที สามารถสกัดโลหะโมลิบดีนัมออกมาได้ถึงร้อยละ 78 และสามารถนำกลับโมลิบดีนัมในรูปของโมลิบดีนัมไตรออกไซด์ที่มีความบริสุทธิ์สูงถึงร้อยละ 90.1 ได้โดยวิธีการตกตะกอนแอมโมเนียมโมลิบเดต |
Other Abstract: | Spent hydrodesulphurization (HDS) catalysts consisted of many kinds of metals such as Al, Mo, Ni, etc are reusable material if metals are separated. This research was carried out to recover molybdenum by using acid leaching, adsorption with activated carbon and desorbed by ammonium hydroxide process. In roasting experiment, temperature, time and crashing spent catalyst have been investigated. The optimum conditions were crushed spent HDS catalyst roasting at 900°C for 180 min., the overall contaminants (especially sulfur) were removed and molybdenum content in spent catalyst roasting was increased from 9.34 to 13.64%. Afterward, leaching procedure was carried out by investigating the effect of parameters including sulfuric acid concentration leaching temperature and contact time. The optimum leaching condition was 1 M H2SO4, 90˚C and 240 min, 96.7% of Mo was leached. Activated carbon was used for molybdenum ion adsorption. The optimal condition of adsorption process was pH 1.5, 60 min, and 20% solid/liquid (S/L)), in which more than 87.5% Mo was adsorbed. Then, in desorption procedure by ammonium hydroxide, desorption efficiency of Mo was increased with concentration increased. 78% of Mo was recovered at 40%wt of ammonium hydroxide for 240 min. 90.1% purity of Mo recovery from desorbed solution as MoO3 was achieved by ammonium molybdate precipitation method. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เคมีเทคนิค |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42482 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.358 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.358 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
siriporn_wi.pdf | 3.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.