Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42598
Title: | พฤติกรรมการสึกหรอของวัสดุผสมอะลูมินา-ไทเทเนียมคาร์ไบด์โดยเทคนิคพินออนดิสก์ |
Other Titles: | WEAR BEHAVIOR OF Al2O3-TiC COMPOSITE BY PIN-ON-DISK TECHNIQUE |
Authors: | วิศรุต เพ็งเลา |
Advisors: | ธาชาย เหลืองวรานันท์ บุญรัตน์ โล่ห์วงศ์วัฒน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | โลหะ -- การสึกกร่อน การเจียระไนและการขัด โลหะผสมไทเทเนียม Grinding and polishing Titanium alloys |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในงานวิจัยนี้เราจึงได้ทำการศึกษาพฤติกรรมการสึกหรอที่เกิดขึ้นจากการขัดสีระหว่างวัสดุผสมอะลูมินา-ไทเทเนียมคาร์ไบด์กับวัสดุใบตัดเพชรที่มีนิกเกิลเป็นตัวประสาน ทำการทดสอบการสึกหรอโดยใช้เครื่องทดสอบการสึกหรอแบบพินออนดิสก์ สภาวะทดสอบการสึกหรอที่ใช้มีดังนี้ ความเร็วไถลเชิงเส้น 0.2, 0.3 และ 0.4 เมตรต่อวินาที แรงกดที่ให้ 10, 15 และ 20 นิวตัน ระยะทางไถลมากสุดที่ 5000 เมตร และมีของเหลวในระบบเป็นสารหล่อเย็น Rustlick G-25J พิจารณาผลของการขัดสีที่เกิดขึ้นในเทอมของ ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน, มวลที่เปลี่ยนแปลงไปของชิ้นงาน, อัตราการสึกหรอจำเพาะ, ความหยาบผิวหน้าที่เปลี่ยนแปลงไปของชิ้นงาน และลักษณะสัณฐานและโครงสร้างจุลภาคของผิวหน้าชิ้นงาน จากการศึกษาพบว่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานของคู่ผิวสัมผัสนี้มีค่าอยู่ในช่วง 0.151 ถึง 0.347 โดยขึ้นกับหลายปัจจัยอย่างเช่น การเพิ่มขึ้นของความเร็วไถลเชิงเส้นส่งผลให้สัมประสิทธิ์แรงเสียดทานมีค่าลดลง และยังส่งผลในเทอมของอัตราการสึกหรอจำเพาะมีค่าลดลงด้วยเช่นกัน และพบว่ามีการลดลงของอัตราการสึกหรอจำเพาะเมื่อระยะทางไถลที่ผ่านไปเพิ่มมากขึ้น โดยเมื่อผ่านไป 1000 เมตร อัตราการสึกหรอจำเพาะมีค่าอยู่ในช่วง 345x10-6 ถึง 518x10-6 mm3/Nm จากนั้นเมื่อผ่านไป 5000 เมตร ค่าลดลงมาอยู่ในช่วง 100x10-6 ถึง 170x10-6 mm3/Nm แสดงให้เห็นถึงความรุนแรงของการขัดสีระหว่างวัสดุผสมอะลูมินา-ไทเทเนียมคาร์ไบด์กับใบตัดเพชรลดลงจากการเพิ่มขึ้นของระยะทางไถล และพฤติกรรมการสึกหรอที่เกิดขึ้นนี้ยังแสดงให้เห็นในเทอมของการเปลี่ยนแปลงความหยาบผิวของผิวหน้าร่องการสึกหรอเมื่อระยะทางไถลเปลี่ยนแปลงไป และลักษณะทางสัณฐานของร่องการสึกหรอจากภาพถ่ายจากกล่องจุลทรรศน์แบบแสง ดังจะเห็นได้จากช่วงระยะทางไถล 3000 ถึง 5000 เมตรที่มีความรุนแรงของการขัดสีน้อย ผิวหน้าของร่องการสึกหรอที่ได้จะมีความเรียบที่มากกว่า และสามารถสังเกตเห็นร่องรอยของการหลุดออกของเกรนได้น้อยกว่า ช่วงระยะทางไถล 1000 เมตร ที่มีการขัดสีที่รุนแรง ยังได้ตรวจพบลักษณะของการผลัดผิวใหม่เองของผิวหน้าใบตัดเพชร จากพฤติกรรมการเพิ่มขึ้นและลดลงของความหยาบผิวหน้าใบตัดเพชรในระหว่างการขัดสีกับวัสดุผสมอะลูมินา-ไทเทเนียมคาร์ไบด์อีกด้วย |
Other Abstract: | This research studies wear behavior of alumina-titanium carbide (AlTiC) ceramic matrix composite, when rubbing against diamond wheel having nickel alloy bond. Wear behavior is tested by using a pin-on-disk method. Testing condition are: linear sliding velocity of 0.2, 0.3, and 0.4 m/s, load of 10, 15, and 20 newton, maximum sliding distant of 5000 m. Lubrication during sliding is commercial coolant, Rustlick G-25J. Research results are coefficient of friction, mass loss, specific wear rate, change of roughness value, and morphology, microstructure of worn surfaces. From the study, it was found that coefficient of friction is in between 0.151 and 0.347. The values vary depending on many factors: increase of sliding velocity decrease coefficient of friction, as well as specific wear rate. The specific wear rates are in range of 345x10-6 to 518x10-6 mm3/Nm, during the first 1000 m. Between 1000 to 5000 m, the specific wear rates are in rage of 100x10-6 to 170x10-6 mm3/Nm. This shows that severity of abrasion between the AlTiC and diamond wheel is reduced, as sliding distant increases. Change of wear behavior is also observed from change of roughness value of sliding surfaces. Roughness value of worn AlTiC is small, when sliding distance is between 3000 to 5000 m. During the first 1000 m, roughness is high, and some grain pull-outs are observed. In addition, wear of diamond blade shows change of its surface as self-dressing, and change of its roughness. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโลหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42598 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.74 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.74 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5370341121.pdf | 9.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.