Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42681
Title: | ประสบการณ์ทางจิตใจของวัยรุ่นที่ปรับตัวได้จากครอบครัวที่มีความขัดแย้งสูง |
Other Titles: | PSYCHOLOGICAL EXPERIENCE OF WELL-ADJUSTED ADOLESCENTS FROM HIGH CONFLICT FAMILIES |
Authors: | แววนภา โกศลดิลก |
Advisors: | ณัฐสุดา เต้พันธ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | วัยรุ่น ความรุนแรงในครอบครัว ความขัดแย้ง (จิตวิทยา) Adolescence Family violence Conflict (Psychology) |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ทางจิตใจของวัยรุ่นที่ปรับตัวได้จากครอบครัวที่มีความขัดแย้งสูง มีผู้ให้ข้อมูลเป็นวัยรุ่นที่ปรับตัวได้และมาจากครอบครัวที่มีความขัดแย้งสูงจำนวน 10 ราย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยา ผลการวิจัยพบว่า วัยรุ่นผู้ให้ข้อมูลมีประสบการณ์ทางจิตใจใน 3 ประเด็นหลัก คือ 1) ชีวิตในครอบครัวที่พ่อแม่มีความขัดแย้งกัน ประกอบด้วย การรับรู้ความสัมพันธ์ที่ขัดแย้งระหว่างพ่อแม่ และผลกระทบจากความขัดแย้งในครอบครัว 2) การรับมือกับสถานการณ์ความขัดแย้งของพ่อแม่ ประกอบด้วย การมุ่งแก้ปัญหาที่ตนเอง และการปฏิบัติตนในสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างพ่อแม่ 3) ปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมการดำเนินชีวิตอย่างปรับตัวได้ ประกอบด้วย การเติบโตในสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการดำเนินชีวิต และการสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการทำความเข้าใจประสบการณ์ทางจิตใจของวัยรุ่นจากครอบครัวที่มีความขัดแย้งสูงและปรับตัวได้ และใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับผู้เกี่ยวข้องที่จะนำไปใช้พัฒนาบริการปรึกษาแก่วัยรุ่นที่มีพื้นฐานครอบครัวที่มีความขัดแย้งสูงต่อไป |
Other Abstract: | This qualitative research aimed at investigating psychological experience of well-adjusted adolescents from high conflict families. Key informants were 10 adaptive adolescents who experienced high family conflict. Data were collected via in-depth interviews. Phenomenological research method was employed. Resulting in as 3 main themes: 1) Living in a high conflict family, consisted of 2 dimensions, perceived parental conflict and impacted from parental conflicts; 2) Coping with parental conflicts also consisted of 2 dimensions, self-focused coping and way of being during parental conflicts. 3) Adjustment supportive factors consisted of 2 dimensions, having growth supporting environment and having ability to live properly. These findings could be applied to further understand the experience of adaptive adolescents from high conflict families and provide psychological service for adolescents who experienced high conflicts in their parental relationship. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42681 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.155 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.155 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Psy - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5477616138.pdf | 6.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.