Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42704
Title: | การระบุเนื้อเยื่อสมองโดยใช้ซีพีจีเมทิเลชันตำแหน่งจำเพาะ |
Other Titles: | BRAIN TISSUE IDENTIFICATION BY SITE-SPECIFIC CpG METHYLATION |
Authors: | จรัญญา สามสุวรรณ |
Advisors: | ปฐมวดี ญาณทัศนีย์จิต อภิวัฒน์ มุทิรางกูร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | การพิสูจน์ดีเอ็นเอ พันธุกรรม จีโนม Heredity Genomes |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ดีเอ็นเอเมทิเลชันคือหนึ่งในพันธุศาสตร์ด้านกระบวนการเหนือพันธุกรรม เกิดขึ้นในตำแหน่งที่เป็นซีพีจีไดนิวคลีโอไทด์ พบกระจายอยู่ทั่วทั้งจีโนมมีความเกี่ยวข้องกับกระบวน การเปลี่ยนแปลงชนิดของเซลล์เพื่อการทำหน้าที่เฉพาะ เป็นผลให้ดีเอ็นเอเมทิเลชันมีความแตกต่างกันในแต่ละเนื้อเยื่อหรืออวัยวะ ดังนั้นจึงมีการศึกษาหาตำแหน่งซีพีจีเมทิเลชันที่จำเพาะต่ออวัยวะที่สำคัญต่อการมีชีวิต โดยมีความมุ่งหวังเพื่อใช้ซีพีจีเมทิเลชันตำแหน่งจำเพาะนั้นในการระบุเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่เป็นวัตถุพยานจากสถานที่เกิดเหตุ ด้วยเหตุผลคือ นอกจากดีเอ็นเอเมทิเลชันจะมีความจำเพาะแล้วยังมีความเสถียรสามารถตรวจได้แม้ในวัตถุพยานที่เสื่อมสภาพ โดยผลการตรวจสอบจะเป็นประโยชน์ต่อการสืบสวนสอบสวน ซึ่งงานวิจัยนี้ได้ริเริ่มทำในหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญต่อการมีชีวิตนั่นคือ สมอง โดยค้นหาจากฐานข้อมูลดีเอ็นเอเมทิเลชันที่รวบรวมงานทดลองในรูปเมทิเลชันไมโครแอเรย์ จำนวน 39 การทดลอง มีตำแหน่งซีพีจีเมทิเลชันจำนวน 27,578 ตำแหน่ง คัดเลือกได้ตำแหน่ง cg02096975 ยีน EML2 ที่แสดงความจำเพาะต่อสมองเพื่อใช้เป็นเครื่องหมายดีเอ็นเอเมทิเลชันสำหรับระบุเนื้อเยื่อสมองในงานวิจัยนี้ ใช้เทคนิค COBRA ในการตรวจวิเคราะห์ โดยทำในเนื้อเยื่อสมองเปรียบเทียบกับเนื่อเยื่อชนิดอื่นอีก 17 ชนิด ซึ่งจากผลการทดลองพบว่าที่ตำแหน่งดังกล่าวมีเพียงดีเอ็นเอจากสมองเท่านั้นที่แสดงค่าเป็นเมทิเลชัน แต่ในอวัยวะอื่นแสดงผลไม่เป็นเมทิเลชัน ทำให้เครื่องหมายดีเอ็นเอตำแหน่งนี้มีความแม่นยำในการระบุเนื้อเยื่อสมอง 100 เปอร์เซ็น นอกจากนั้นยังทำการทดลองเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของเทคนิค COBRA ต่อการระบุเนื้อเยื่อสมองในตัวอย่างที่มีสภาพต่างๆ กัน เพื่อเทียบเคียงกับตัวอย่างที่พบในสถานที่เกิดเหตุ และผลที่ได้จากการทดลองพบว่า COBRA เป็นเทคนิคที่มีความจำเพาะและความไวสูง และมีขั้นตอนการทำที่รวดเร็ว สามารถตรวจสอบได้แม้ในวัตถุพยานที่เสื่อมสภาพ ซึ่งผลที่ได้จากงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปปรับใช้กับงานทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ |
Other Abstract: | DNA methylation is a major epigenetic modification which commonly occurs at the CpG nucleotide repeats along the whole genome, and it is also responsible for organ development and cellular differentiation. Generally, each CpG site possesses a different methylation status in different tissues. Many researches had been done on the CpG nucleotide to find the specific marker to identify each organ of the human body, since being able to use the CpG methylation profile to identify the tissues at the crime scene could be a break though for the case. Another reason for using the CpG methylation is because it is very stable and able to work with degraded samples. This study will be focused on identifying brain tissue within the sample that indicated the death of the owner. By scanning 39 experimental methylation array databases 27,578 CpG positions, we found that the cg03096975 position of EML2 was strikingly methylated in the brain tissue. The result was validated using by the COBRA technique, comparing the CpG methylation profile between brain tissue and other 17 organs. The CpG site was methylated in the brain tissue, while non-methylated in the other 17 tissues. The results clearly demonstrated that this marker can distinguish brain tissue from other organs with 100% accuracy, high sensitivity, and fast. This is the first application used CpG methylation (cg03096965 of EML2) to identify brain tissue. The COBRA technique had also been tested with different condition of brain tissue compatible to the tissue left at the crime scene, and it was still able to identify the sample. In conclusion, the cg03096965 methylation of EML2 gene is very specificity and sensitivity to the brain tissue which can be very useful in forensic science. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พันธุศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42704 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.174 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.174 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5571932423.pdf | 3.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.