Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4281
Title: | การควบคุมฝุ่นละอองจากถนนที่ไม่ได้ปูผิวทาง |
Other Titles: | Control of dust emission from unpaved roads |
Authors: | กมล สุทธิจันทร์นภา |
Advisors: | วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์ สุพจน์ เตชวรสินสกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | การควบคุมฝุ่น ฝุ่น ถนน -- การควบคุมฝุ่น |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาและคำนวณหาอัตราการปล่อยฝุ่นละอองจากยานยนต์ ที่แล่นผ่านถนนที่ไม่ได้ปูผิวทาง และศึกษาประสิทธิภาพของการควบคุมฝุ่นละออง จากถนนที่ไม่ได้ปูผิวทางโดยวิธีการการฉีดน้ำ การฉีดพ่นสารแอสฟัลต์อิมัลชัน และการฉีดพ่นสารโพลิเมอร์ลงบนผิวถนน รวมทั้งประเมินค่าใช้จ่ายของการควบคุมฝุ่นละออง จากถนนที่ไม่ได้ปูผิวทางทั้ง 3 วิธี พร้อมทั้งเปรียบเทียบความเหมาะสมในการนำไปปฏิบัติ ในการศึกษาเลือกใช้ถนนลูกรังที่มีลักษณะการใช้ประโยชน์ เป็นถนนชนบทที่เชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้านกับหมู่บ้าน หรือเชื่อมต่อกับถนนสายหลัก ใช้ช่วงความยาวของถนนประมาณ 200 เมตร สำหรับแต่ละส่วนที่ทำการทดลอง โดยตรวจวัดความเข้มข้นฝุ่นละอองจากถนนในส่วนควบคุม ที่ไม่มีการฉีดพ่นสารเคมีใดๆ ส่วนที่มีการฉีดน้ำ ส่วนที่มีการฉีดพ่นสารแอสฟัลต์อิมัลชัน และส่วนที่มีการฉีดพ่นสารโพลิเมอร์ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการควบคุมฝุ่นละอองทั้ง 3 วิธี การศึกษาพบว่าอัตราการปล่อยฝุ่นละอองจากยานยนต์ ที่แล่นผ่านถนนที่ไม่ได้ปูผิวทางในสภาพปกติที่ไม่มีการควบคุม และในกรณีที่มีการควบคุมโดยวิธีต่างๆ มีค่าอยู่ระหว่าง 0-1322 กรัม PM-10/กิโลเมตร-คัน ณ ความเร็วจำกัดของยานยนต์ที่ 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พบว่า ประสิทธิภาพของการควบคุมฝุ่นละอองรวม TSP จากถนนที่ไม่ได้ปูผิวทางโดยวิธีการฉีดน้ำที่อัตรา 0.5 ลิตรต่อตารางเมตร จำนวน 2 ครั้งต่อวัน มีค่าประสิทธิภาพเฉลี่ย 16 เปอร์เซ็นต์ ประสิทธิภาพของการควบคุมของการควบคุมฝุ่นละอองรวม TSP โดยวิธีการฉีดพ่นสารแอสฟัลต์อิมัลชันและสารโพลิเมอร์ มีค่าประสิทธิภาพเฉลี่ย 31% และ 0% ในช่วงเดือนที่ 8 หลังการฉีดพ่นสารเคมี ตามลำดับ และประสิทธิภาพของการควบคุมฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM-10 จากถนนที่ไม่ได้ปูผิวทางโดยวิธีการฉีดน้ำที่อัตรา 0.5 ลิตรต่อตารางเมตร จำนวน 2 และ 5 ครั้งต่อวัน มีค่าประสิทธิภาพเฉลี่ย 39 และ 72 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ประสิทธิภาพของการควบคุมฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM-10 โดยวิธีการฉีดพ่นสารแอสฟัลต์อิมัลชันและสารโพลิเมอร์ มีค่าประสิทธิภาพเฉลี่ย 40 และ 33 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงเดือนที่ 8 หลังการฉีดพ่นสารเคมี ตามลำดับ ค่าใช้จ่ายของการควบคุมฝุ่นละออง จากถนนที่ไม่ได้ปูผิวทางโดยวิธีการฉีดน้ำที่อัตรา 0.5 ลิตรต่อตารางเมตร จำนวน 2 และ 5 ครั้งต่อวัน มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานรวมทั้งสิ้น 1,042 และ 1,105 บาทต่อกิโลเมตรต่อวัน ส่วนค่าใช้จ่ายของการควบคุมฝุ่นละออง โดยวิธีการฉีดพ่นสารแอสฟัลต์อิมัลชันและการฉีดพ่นสารโพลิเมอร์ มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานรวมทั้งสิ้น 63,000 และ 950,000 บาทต่อกิโลเมตร ตามลำดับ โดยพบว่า การควบคุมฝุ่นละอองโดยวิธีการฉีดน้ำเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพของการควบคุมสูงขึ้น จำเป็นต้องมีการฉีดน้ำจำนวนหลายๆ ครั้งต่อวัน และเนื่องจากวิธีนี้เป็นการควบคุมแบบวันต่อวัน จำเป็นต้องมีการฉีดน้ำในทุกๆวัน ดังนั้นการควบคุมฝุ่นละอองโดยวิธีการฉีดน้ำจึงมีความเหมาะสมสำหรับการควบคุมในระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น ส่วนการควบคุมฝุ่นละอองโดยวิธีการฉีดพ่นสารแอสฟัลต์อิมัลชันมีประสิทธิภาพในการช่วยลดฝุ่นละอองได้ดี จึงมีความเหมาะสมสำหรับการนำไปใช้กับถนนที่ไม่ได้ปูผิวทางที่มีลักษณะการใช้ประโยชน์เป็นถนนชนบท มีปริมาณการจราจรค่อนข้างน้อย โดยการฉีดพ่นสารเคมีอาจกระทำไปพร้อมกับการซ่อมบำรุงถนนประจำปี และการใช้สารโพลิเมอร์ผสมกับดินสามารถช่วยให้เกิดการยึดเกาะกันของอนุภาคดินได้ดี ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพของการควบคุมฝุ่นละออง ดังนั้นวิธีนี้จึงอาจมีความเหมาะสมในการนำไปใช้ผสมกับดินแทนน้ำระหว่างการก่อสร้างถนนในชั้นรองพื้นทาง ซึ่งเป็นช่วงที่ก่อให้เกิดปัญหาการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองมากที่สุด |
Other Abstract: | To determine the dust emission rate and the efficiency of controlling dust emission from unpaved road by spraying water, asphalt emulsion and polymer emulsion, to compare the cost of different methods of controlling dust emission and to find the appropriate way of practice. The road was divided into 4 sections for different applications of spraying water, asphalt emulsion, polymer emulsion and controlled section (no application). The control efficiency was determined by measurement of dust concentration. In the field experiments, the 200-meters-long laterite road, which connects between villages, was chosen for the study. The results show that dust emission rates from different sections of experimental road were between 0-1322 g PM-10/VKT at vehicle speed of 30 km/hr. The average efficiency of controlling TSP dust emission from unpaved road by spraying water at 0.5 l/m2 twice per day is about 16%. The average efficiency of controlling TSP dust emission by spraying asphalt and polymer emulsion is about 31% and 0% respectively 8th month after spraying the chemicals. The average efficiency of controlling PM-10 dust emission by spraying water at 0.5 l/m2 twice and five times/day, was about 39% and 72% respectively. The average efficiency of controlling PM-10 dust emission by spraying asphalt and polymer emulsion was about 40% and 33% respectively 8th month after spraying the chemicals. The total extimated cost of controlling dust emission from unpaved road by spraying water at 0.5 l/m2 twice and five times/day is about 1,042 and 1,105 baht/km/day. And the estimated cost of controlling dust emission by spraying water asphalt and polymer emulsion is about 63,000 and 950,000 baht/km respectively. For higher efficiency of water spraying, it is necessary to spray water several times/day everyday, therefore water spraying is appropriate for a short period control method. The asphalt emulsion is appropriate for controlling dust emission of unpaved roads in villages where there is less traffic, therefore spraying these chemical may be done together with annual maintenance. And the polymer emulsion mixed with soil instead of water is appropriate for controlling dust emission in the construction of sub-based because of its adhesive property |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4281 |
ISBN: | 9743346775 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.