Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42859
Title: | แนวทางการเสริมสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์พลังงานของเยาวชน |
Other Titles: | GUIDELINES FOR PROMOTING THE ENERGY CONSERVATION CONSCIOUSNESS OF THE YOUTH |
Authors: | วรรณิภา สันป่าแก้ว |
Advisors: | ชื่นชนก โควินท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การสร้างจิตสำนึก การอนุรักษ์พลังงาน Conscientization Energy conservation |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการเสริมสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์พลังงานของเยาวชนและ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการเสริมสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์พลังงานของเยาวชน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับเยาวชนที่มีอายุตั้งแต่ 10 ปี แต่ยังไม่เกิน 18 ปีที่ได้รับรางวัลดีเด่นด้านการอนุรักษ์พลังงาน ประจำปี 2555 ภายใต้โครงการคืนโลกสดใส ลดใช้พลังงาน ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานภายใต้สังกัดภาครัฐและเอกชนจำนวน 6 แห่งได้แก่ 1) โรงเรียนจันทร์ประดิษฐารามวิทยาคม 2) โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นนทบุรี 3) โรงเรียนซางตาครู้สคอนแวนต์ 4) โรงเรียนพิชญศึกษา 5) โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย และ6) โรงเรียนอัสสัมชัญ รวมทั้งสิ้น 620 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติภาคยรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การศึกษาเอกสาร การสังเกตและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับเยาวชนแกนนำโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า จังหวัดนนทบุรี โรงเรียนพิชญศึกษา และโรงเรียนโสตศึกษา จังหวัดนนทบุรี และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดหรือดำเนินกิจกรรมการอนุรักษ์พลังงานได้แก่ 1) หัวหน้าครอบครัว/ผู้ปกครอง 2) ผู้อำนวยการโรงเรียน/รองผู้อำนวยการโรงเรียน และครู/อาจารย์ 3) หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน 4) หน่วยงานภาคเอกชน ได้แก่ สมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม, บริษัทถิรไทย จำกัด 5) หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค รวมทั้งสิ้น 24 คน ผลการวิจัยพบว่ากระบวนการเสริมสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์พลังงานประกอบด้วย 5 ขั้นตอนคือ 1) การขัดเกลา 2) การสร้างความคิด 3) การเสริมทัศนคติ 4) การปฏิบัติ 5) การประเมินผล ส่วนปัจจัยในการเสริมสร้างจิตสำนึกซึ่งจำแนกได้ 2 ประเภท คือ ปัจจัยภายในได้แก่ความคิด ทัศนคติ พฤติกรรมและการรับรู้ ปัจจัยภายนอก ได้แก่ โอกาสและการเข้าถึง แรงจูงใจ งบประมาณ นโยบาย ตัวอย่าง การมีส่วนร่วม เวลา การบริหารของหน่วยงาน การพัฒนาบุคลากรและการจัดการเรียนรู้ แนวทางการเสริมสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์พลังงานของเยาวชน ได้แก่ การกำหนดนโยบายจากระดับประเทศลงสู่ระดับชุมชน เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของสังคม เสริมแรงจูงใจเพื่อกระตุ้นการเข้าร่วม จัดการเรียนรู้โดยเน้นเยาวชนเป็นศูนย์กลางให้ได้สัมผัสลงมือปฏิบัติจริง บูรณาการเรื่องการอนุรักษ์พลังงานกับเนื้อหาวิชาเรียนในทุกกลุ่มสาระ พัฒนาบุคลากรในการให้ความรู้และจัดกิจกรรม ปรับปรุงสื่อและกิจกรรม ตลอดจนสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์พลังงานเพื่อให้เกิดการเสริมสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์พลังงานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน |
Other Abstract: | The purposes of this research were: 1) to study the youth’s energy conservation consciousness promotion process; and 2) to propose guidelines for the promotion of youth’s energy conservation consciousness. This mixed method research study comprised a survey of youth studying in the recipient schools of energy conservation awards by means of questionnaires and a field study by means of observation and in-depth interviews of youth leaders and concerned individuals regarding youth energy conservation. It was found that: 1. The energy conservation consciousness process consists of five stages, i.e. 1) orientation; 2) formation of thoughts; 3) enhancement of attitudes; 4) practices; and 5) evaluation. Two factors involved in the promotion of consciousness are: 1) internal, i.e. thoughts, attitudes, behavior, and perception and 2) external, i.e. opportunities and accesses, motivation, budget, policies, example, participation, time, organization administration, personnel development, and learning management. 2. Guidelines for the promotion of youth energy conservation consciousness are: 1) top down policy making, from national to community levels, with an emphasis on the participation of all social sectors; 2) motivation enhancement for participation activation; 3) youth-centered instruction for real practices; 4) integration of energy conservation into the contents of all learning strands; 5) personnel development, enabling them to provide knowledge and organize. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พัฒนศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42859 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.356 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.356 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5383462627.pdf | 5.93 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.