Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43165
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฐวุฒิ บริบูรณ์วิรีย์en_US
dc.contributor.authorวิตต์ธาดา เภาคำen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:24:38Z
dc.date.available2015-06-24T06:24:38Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43165
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการเรียนการสอนเปียโนในระดับชั้นต้น ในเขตกรุงเทพมหานคร 2) นำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนดนตรีโดยใช้ดนตรีคลาสสิคและดนตรีสมัยนิยม เพื่อพัฒนาทักษะเปียโนของนักเรียนในระดับชั้นต้น กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย 1) เอกสารที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานทักษะปฏิบัติเปียโนคลาสสิคและเปียโนสมัยนิยมในระดับชั้นต้นของทรินิตี 2) อาจารย์เปียโนที่มีประสบการณ์ในการสอนไม่ต่ำกว่า 3 ปี จำนวน 23 คน ในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร 3) อาจารย์สอนเปียโนที่มีประสบการณ์ในการสอน 5 - 10 ปี และมีประสบการณ์ในการสอนเปียโนคลาสสิคและเปียโนสมัยนิยม จำนวน 5 คน 4) อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเปียโนสมัยนิยม จำนวน 3 คน 5) อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเปียโนคลาสสิค จำนวน 3 คน 6) ศิลปินผู้มีชื่อเสียงทางด้านเปียโนสมัยนิยม รวมถึงดนตรีแจ๊ส จำนวน 3 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์เอกสาร 2) แบบสอบถาม 3) แบบสัมภาษณ์ และ 4) แบบสังเกตการสอน ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการจำแนกข้อมูล เปรียบเทียบ การสร้างข้อสรุปเชิงอุปนัย และสังเคราะห์เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. สภาพการเรียนการสอนเปียโน ในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้สอนส่วนใหญ่มีการผสมผสานดนตรีสมัยนิยมเข้ากับการเรียนการสอนดนตรีคลาสสิคในชั้นเรียน เนื่องจากดนตรีสมัยนิยมและดนตรีคลาสสิคมีขอบเขตขององค์ความรู้ทางดนตรีที่ทับซ้อนกัน จะแตกต่างกันในส่วนของการนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ 2. แนวทางการจัดการเรียนการสอนแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์ควรครอบคลุมการพัฒนาและเพิ่มพูนองค์ความรู้ที่จำเป็นในการบรรเลงเปียโนให้แก่ผู้เรียน การเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางดนตรีกับทักษะปฏิบัติเปียโนผ่านการลงมือปฏิบัติ และมุ่งให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการบรรเลงเปียโน 2) ด้านเนื้อหาสาระสามารถจำแนกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ด้านเทคนิค ด้านความเป็นดนตรี ด้านการแสดงออก และด้านทักษะดนตรี 3) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนควรมุ่งเน้นให้เกิดการเชื่อมโยงเนื้อหาด้านเทคนิค ด้านความเป็นดนตรี ด้านการแสดงออก และทักษะดนตรี ผ่านทางการปฏิบัติ 4) ด้านสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอนประกอบด้วย ผู้สอน คลิปวิดิโอ เกมส์ทฤษฎีดนตรี และตารางคอร์ดบทเพลงสมัยนิยม 5) ด้านการวัดและประเมินผล ควรมีการประเมินก่อนเรียน ระหว่างเรียน หลังเรียน และหลังจากจบหลักสูตร โดยการสังเกต การสอบถามความเข้าใจ โดยให้ครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ทักษะ และความคิดสร้างสรรค์en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to examine instructional conditions of beginner piano lessons in Bangkok and 2) to propose guidelines for organizing music instruction using classical and popular music to develop piano skills of beginner piano students. The sample groups consisted of 1) Trinity’s documents related to the examination of classical and popular piano in beginner level 2) 23 teachers in Bangkok with teaching experience at least 3 years 3) 5 teachers with teaching experience between 5 -10 years on both classical and popular style 4) 3 experts in popular piano music 5) 3 experts in classical piano music and 6) 3 well established artists in popular and jazz music. Research instruments consisted of 1) document analysis forms 2) questionnaires 3) interview schedules and 4) classroom observation forms. Data were analyzed through classification, comparison, inductive conclusion and synthesize into instructional guidelines. Findings revealed that 1. in authentic teaching environments, most instructors regularly used combination of classical and popular music in classroom instruction due to its overlapping bodies of knowledge. The differences lie in the application of the body of knowledge. 2. Instructional guidelines can be divided into 5 aspects 1) the objectives of instruction should aim at developing and enhancing the essential body of musical knowledge, linking the body of knowledge in music with practical skills, and encouraging creative thinking of the students 2) the contents can be divided into four groups comprising of technique, musicality, expression, and musical skills 3) thus classroom activities must focus on connecting those four groups of knowledge namely technique, musicality, expression and musical skills through practice 4) the Instructional media should consist of teachers, video clips, games related to music theory, and chord charts of popular songs 5) the assessments should be done before, between, at the end of classes, and at the end of the course; assessments should focus on knowledge, skills and creativity based on observation and viva voce.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.638-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectดนตรี -- การศึกษาและการสอน
dc.subjectกิจกรรมการเรียนการสอน
dc.subjectการบริหารองค์ความรู้
dc.subjectMusic -- Study and teaching
dc.subjectActivity programs in education
dc.subjectKnowledge management
dc.titleการนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนดนตรีโดยใช้ดนตรีคลาสสิคและดนตรีสมัยนิยมเพื่อพัฒนาทักษะเปียโนของนักเรียนเปียโนระดับชั้นต้นen_US
dc.title.alternativePROPOSED GUIDELINES FOR ORGANIZING MUSIC INSTRUCTION USING CLASSICAL AND POPULAR MUSIC TO DEVELOP PIANO SKILLS OF BEGINNER PIANO STUDENTSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineดนตรีศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected]en_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.638-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5583472027.pdf3.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.