Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43177
Title: กระบวนการสร้างสรรค์ละครเวทีเพื่อการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ของนักแสดง
Other Titles: CREATIVE PROCESS OF THEATRE FOR CONCEPTUAL TRANSFORMATIVE LEARNING OF ACTORS
Authors: เกรียงไกร ฟูเกษม
Advisors: ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การสื่อสาร
ละครเวที
ความคิดรวบยอด
Communication
Concepts
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสารในการสร้างสรรค์ละครเวทีผ่านแนวคิดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ของนักแสดง และ 2) เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ของนักแสดง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิจัยแบบสหวิธีการ กล่าวคือ ใช้การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม ร่วมกับ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก แบบสอบถามก่อนและหลังทำกระบวนการ และแบบบันทึกนักแสดง เพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงกับนักแสดงกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ พระจันทร์เสี้ยวการละคร นิวเธียร์เตอร์โซไซตี้ และนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม โดยนำบทละครเรื่อง “ผีแมวดำ” ดัดแปลงมาจากเรื่อง Venigar Tom ของ Caryl Churchill และ “ทัณฑฆาต” ดัดแปลงมาจากเรื่อง The Trial ของ Franz Kafka มาเป็นเครื่องมือในการทำกระบวนการสร้างสรรค์ ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการสื่อสารในการสร้างสรรค์ละครเวทีผ่านแนวคิดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ของนักแสดงนั้นประกอบไปด้วย การวิเคราะห์แก่นความคิดของบทละครในประเด็นการทำให้คนกลายเป็นอื่นในสังคมเดียวกันจนกลายเป็นคนนอก การวิเคราะห์รูปแบบการนำเสนอใช้รูปแบบการนำเสนอที่ไม่เหมือนจริงหรือละครแนวสไตไลซด์เพื่อเน้นเนื้อหาและสื่อสารความคิดของเรื่องเป็นหลัก การวิเคราะห์ขั้นตอนการสร้างสรรค์เน้นการแลกเปลี่ยนและเปิดพื้นที่ให้นักแสดงเกิดความเข้าใจในแก่นความคิดของเรื่อง การออกแบบและจัดทำกระบวนการสร้างสรรค์เน้นกระบวนการวิเคราะห์ตนเองและผู้อื่น วิเคราะห์แก่นเรื่องเพื่อเชื่อมโยงประเด็นสังคม และกระบวนการสุนทรียสนทนา เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ของนักแสดง ผลการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ของนักแสดง แบ่งออกเป็น 2 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) มโนทัศน์ต่อคุณสมบัติของนักแสดง ประกอบด้วย ทักษะพื้นฐานการแสดงมีค่าเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นจาก 4.29 เป็น 4.55 และทักษะทางความคิดในฐานะนักแสดงมีค่าเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นจาก 3.97 เป็น 4.35 2) มโนทัศน์ต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคมโดยรอบมีค่าเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นจาก 3.84 เป็น 4.25 นอกจากนั้นผู้วิจัยพบว่า องค์ประกอบที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ของนักแสดงประกอบด้วย 1) ผู้ดำเนินกระบวนการที่มีความเข้าใจต่อกระบวนการการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง 2) การกำหนดเนื้อหาที่ต้องการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ของนักแสดง 3) รูปแบบกิจกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหา 4) บรรยากาศในกระบวนการ 5) กระบวนการสุนทรียสนทนา และ 6) แบบบันทึกนักแสดง
Other Abstract: The purposes of the research were 1) to study the communication process in theatre plays creation by using transformative learning theory to transform actor’s frame of reference 2) to analyze the transformation of actor’s frame of reference. This study is a qualitative research by using multiple methods including of participation observer with in-depth interview, pre-post process questionnaire and reflection note to monitor the change of behavior of three target group actors; Crescentmoon Theatre, New Theatre Society and junior-year students of faculty of Communication Arts, Siam University. Using “Phee-Meaw-Dum” - plays script adapted from Venigar Tom by Caryl Churchill and “Thun- Tha-Khad” – adapted from The Trial by Franz Kafka as a tool in the research process. The result found that communication process in theatre plays creation by using transformative learning theory to transform actor’s frame of reference is consists of the analysis of plays theme, the otherness, The analysis of performance style is presentation approach or stylized theatre to emphasis content and communicate thought of plays, The analysis of production creation emphasize on actors by sharing interpretation. Theatrical creative process designed to analyze themselves, others and the themes of the plays to link with social factor. And use the process of dialogue. There are two main aspects of transformation actors. The first major is concept of actor property as performing skill have increase mean score from 4.29 to 4.55 and thinking skill have increase from 3.97 to 4.35. The second is concept of the actors themselves, other and social that have increase from 3.84 to 4.25. Moreover, this research found that the important component for converted actors composed of 1) Facilitator should have understanding transformative process 2) Defining the content to change concept of actors 3) Creating activity which related to the content 4) The environment of activities 5) Dialogue Process and 6) Reflection note.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43177
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.650
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.650
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5584656428.pdf5.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.