Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43259
Title: | การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสีป้องกันความร้อนผสมอนุภาคซิลิกากับวิธีการป้องกันความร้อนอื่นๆ |
Other Titles: | PERFORMANCE COMPARISON AMONG HIGH REFLECTANCE SILICA PANTING AND OTHER HEAT PREVENTION TECHNIQUE |
Authors: | กวิน วิทูรพงศ์ |
Advisors: | อรรจน์ เศรษฐบุตร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | อาคาร -- การอนุรักษ์พลังงาน Buildings -- Energy conservation |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนของผลิตภัณฑ์สีผสมอนุภาคซิลิกา(Silicate paint) เปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในการใช้งานวัสดุกันความร้อน และสร้างแนวทางในการตัดสินใจเลือกวัสดุที่เหมาะสมต่อการป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคาร การศึกษานี้แบ่งเป็น 3ส่วน คือ ส่วนการทดลองคุณสมบัติของวัสดุ การจำลองการใช้พลังงานด้วยคอมพิวเตอร์ และ การศึกษาความคุ้มค่าในด้านการเงิน วัสดุที่ถูกศึกษาได้รับการทดสอบเพื่อหาค่าการสะท้อนความร้อนด้วยวิธี ASTM. E1918A และค่าการต้านทานความร้อนจากการวัดด้วยดาต้าลอกเกอร์ ในการจำลองกรณีศึกษามีตัวแปรของอาคารที่คำนึงถึงคือ ทิศทางอาคาร อัตราส่วนช่องเปิด (WWR) ความชันของหลังคา พื้นที่อาคาร และชนิดการใช้งานงานอาคาร โดยทุกกรณีศึกษาเป็นอาคารปรับอากาศ ส่วนการการศึกษาความคุ้มค่าจะใช้ค่า ระยะคืนทุน(Payback period) มูลค่าปัจุบัน(NPV) และ อัตรผลตอบแทนภายใน(IRR) ผลการทดลงพบว่า วัสดุที่มีประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานสูงสุดคือ สีผสมอนุภาคซิลิกา และรองลงมาคือ สีผสมอนุภาคเซรามิก และฉนวนใยแก้วตามลำดับ จากการจำลอง วัสดุฉนวนจะมีประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานสูงสุดในทิศทางมุม อะซิมุธ135º ในขณะที่กลุ่มวัสดุสะท้อนความร้อน จะประหยัดที่สุดที่มุมอะซิมุธ180º โดยเฉลี่ยอาคารสำนักงานสามารถประหยัดพลังงานได้สูงสุด กรณีที่ประหยัดที่สุดคือกรณีที่มีช่องเปิดร้อยละ0 และความสามารถประหยัดพลังงานมีค่าแปรผกผันกับค่าอัตราส่วนหน้าต่างอาคาร(WWR) ความชันของหลังคามีผลกระทบต่อการประหยัดพลังงานพลังงานน้อยมากแต่เพิ่มปริมาณวัสดุเมื่อความชันสูงขึ้น การเพิ่มความชันหลังคาจึงเป็นการลดความคุ้มค่า ในการจำลองกรณีศึกษาของอาคารสำนักงาน การช้พลังงานเกิดขึ้นในช่วงเวลากลางวัน ในขณะที่ร้าค้าการใช้งานอาคารสำนักงานมีช่วงเวลาที่ใช้พลังงานในตอนกลางวันเป็นส่วนมาก ในขณะที่อาคารพาณิชย์มีการใช้งานในช่วงหัวค่ำด้วย ซึ่งการป้องกันความร้อนทางหลังคาไม่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน ดังนั้น อาคารที่ใช้งานในเวลากลางวันจึงเหมาะกับการใช้วัสดุป้องกันความร้อนทางหลังคามากกว่า อาคารที่ได้รับประโยชน์จากการใช้วัสดุป้องกันความร้อนจากหลังคาคืออาคารที่ใช้งานในเวลากลางวัน มีหลังความชันต่ำ มีช่องเปิดน้อย และมีการปรับอากาศ อาคารดังกล่าว คืออาคารศูนย์กระจายสินค้า และอาคารศูนย์การค้าแบบไฮเปอร์มาร์เกตเป็นต้น |
Other Abstract: | This study aims to compare the energy saving performance and feasibility of silicate coating roof paint with other products, and create a guideline for selecting the appropriate product for thermal protection in buildings. This study is composed of three parts : materials testing, computer simulation and economic value calculation. The studied materials were tested for thermal reflectance by the ASTM. E1918A procedure and thermal resistance by data logger. In the simulation part, the relevant factors of the building are slope of the roof, window-to-wall ratio (WWR), building area and types. All cases are air conditioned. The feasibility study used Payback Period, Net Present Value and Internal Rate of Ratio. The results showed that the energy saving performance of the silicate paint is the best among the three materials, followed by ceramic paint and fiberglass insulation. From the simulation, fiberglass insulation can perform best when that building faces south east (azimuth 135°), while both silicate and ceramic paint performs best when the building faces south (180°). On average, all material can perform best in office building cases, and the performance increasing proportionally to the WWR. slope of the roof has very small impact to the energy saving. In the feasibility evaluation, both reflective paints were less feasible than insulation in all cases. The best case scenario is when the building has 0% window-to-wall ratio, the feasibility worsens when the WWR increases. Since the slope of the roof has small impact on saving performance but increases the amount of material when it gets higher, the increasing of the slope of roofs decreases feasibility. In the office simulation cases, the energy consumption takes place mostly during daytime, while in the retail case, it also takes place in the evening, when roof thermal protection became ineffective. Hence, the office building is more appropriate for use in roof thermal protection. In the best case scenario for the building to be able to benefit most from using roof thermal protection is that air-conditioned in daytime usage with a low angle roof, low WWR and aired conditioned, such as a goods distribution superstore or hypermarket. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43259 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.667 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.667 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5374192725.pdf | 3.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.