Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43265
Title: | ภาวะสุขภาพจิตและอาการผิดปกติทางจิตภายหลังภยันตรายของผู้ป่วยทหารราชการสนามที่รับการรักษาในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า |
Other Titles: | MENTAL HEALTH AND POST-TRAUMATIC STRESS SYMPTOMS RELATED TO COMBAT IN SOLDIERS AT PHRAMONGKUTKLAO HOSPITAL |
Authors: | กังสดาล เพ็งล่อง |
Advisors: | เดชา ลลิตอนันต์พงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ทหารผ่านศึก -- สุขภาพจิต การดูแลรักษาในโรงพยาบาล Veterans -- Mental health Hospital care |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในการปฏิบัติการราชการสนาม กำลังพลทหารมักได้รับแรงกดดันจากอันตรายที่มีอยู่รอบด้านซึ่งอาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาทางจิตใจ กำลังพลบางรายอาจจะมีปัญหาทางด้านสุขภาพจิต จากการศึกษาค้นคว้างานวิจัยที่มีความเกี่ยวข้องพบว่าในระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ไม่มีงานวิจัยที่ทำการศึกษาภาวะสุขภาพจิตและอาการผิดปกติทางจิตภายหลังภยันตรายของทหารราชการสนาม การศึกษาในครั้งนี้จึงถือว่าเป็นงานวิจัยใหม่ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการวางแผน กำหนดแนวทาง ส่งเสริมให้ทหารราชการสนามมีสุขภาพจิตที่ดี การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยศึกษา ณ จุดเวลาใด เวลาหนึ่ง เพื่อศึกษาสุขภาพจิต อาการผิดปกติทางจิตภายหลังภยันตราย และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาพจิตและอาการผิดปกติทางจิตภายหลังภยันตรายของผู้ป่วยทหารราชการสนามที่มารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โดยรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยทหารราชการสนาม จำนวน 108 คน โดยการใช้แบบสอบถาม 3 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดสุขภาพจิต SCL.90 และแบบประเมินภาวะสุขภาพจิตหลังภาวะวิกฤต GHQ 12 Plus - R ส่วนที่ 2 PTSD Screening Test ใช้การวิเคราะห์ Univariate Analysis เพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องและมีความสัมพันธ์กับสุขภาพจิตและอาการผิดปกติทางจิตภายหลังภยันตราย ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยทหารราชการสนามมีปัญหาสุขภาพจิต ร้อยละ 73.1 ซึ่งมีปัญหาสุขภาพจิตด้านการย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive – Compulsive) มากที่สุด ร้อยละ 50.0 โดยพบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต คือ สาเหตุที่ทำให้ได้รับบาดเจ็บในขณะปฏิบัติภารกิจราชการสนามด้วยการถูกสะเก็ดระเบิด ส่วนอาการผิดปกติทางจิตภายหลังภยันตรายนั้น พบว่าผู้ป่วยทหารราชการสนาม ร้อยละ 77.8 ไม่มีอาการผิดปกติทางจิตภายหลังภยันตราย พบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติทางจิตภายหลังภยันตราย ได้แก่ อายุและสถานภาพสมรส ส่วนปัจจัยทำนายนั้นพบว่าเมื่อควบคุมอิทธิพลของตัวแปรอื่น ๆ แล้ว สถานภาพสมรสที่เป็นคู่ มีความเสี่ยงต่อการมีอาการผิดปกติทางจิตภายหลังภยันตรายเป็น 3.238 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่มีสถานภาพสมรสเป็นโสด โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.019) |
Other Abstract: | The study is relevant to the mental health of soldiers from battlefields. However, the past - findings were not be applicable and couldn’t define the symptoms of mental disorders after trauma, which are important symptoms. The study about mental health and post - traumatic stress symptoms will be helpful for using in planning guidelines to encourage the soldiers from battlefields to have better mental health. The propose of this cross - sectional descriptive study was to study mental health, post - traumatic stress symptoms and associated factors related to combat in soldiers at Phramongkutklao Hospital. Data were collected from 108 from soldiers from combat who admitted at Phramongkutklao Hospital. Self - report included: Personal information, Symptom Distress Checklist 90 (SCL.90) and General Health Questionnaire Plus Revision (GHQ 12 Plus - R) Part 2 PTSD Screening Test. Univariate analysis were used to determine the associated factors with mental health and post - traumatic stress symptoms among those patients. The results revealed that most of the soldiers from combat 73.1 % had mental health problems, 50.0 % was Obsessive - Compulsive symptom. From Univariate analysis, the factor associated with mental health problem is caused injury while performing official field mission with detonation wounds. And most of the soldiers from combat 77.8 % do not have post - traumatic stress symptoms, the factors associated with post - traumatic stress symptoms are age and marital status. Logistic regression analysis was performed and found predicted factor of post - traumatic stress symptoms was married. (p = 0.019). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขภาพจิต |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43265 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.673 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.673 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5374606230.pdf | 4.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.