Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43317
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวีระพงษ์ บุญโญภาสen_US
dc.contributor.authorณฐกร พัฒนพงศ์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:37:08Z
dc.date.available2015-06-24T06:37:08Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43317
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractแนวคิดเกี่ยวกับการห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดนั้นได้ถูกนำมาบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 103 โดยมีเจตนารมณ์เพื่อป้องกันมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐตกอยู่ในสถานการณ์ที่เรียกว่าการขัดกันของผลประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวมซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาการคอร์รัปชันในบั้นปลาย แต่อย่างไรก็ดีแนวความคิดดังกล่าวกลับแทบไม่มีสภาพบังคับในสังคมไทย ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้ทำการศึกษาถึงที่มาของแนวความคิดดังกล่าว แล้วทำการพิจารณาเปรียบเทียบกับสภาพของสังคมไทยว่ามีการขัดหรือแย้งกับแนวความคิดนี้หรือไม่ และท้ายที่สุดก็ทำการเปรียบเทียบกฎหมายที่เกี่ยวกับการห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดของประเทศไทยกับประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศจีน(ฮ่องกง) และประเทศสิงคโปร์ซึ่งเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในการบังคับใช้กฎหมายในเรื่องนี้ จากการศึกษาพบว่า แนวความคิดเกี่ยวกับการห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดนั้นมิได้ขัดหรือแย้งกับสภาพของสังคมไทยในปัจจุบัน แต่เหตุที่ไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายในเรื่องนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น เนื่องมาจากการบัญญัติกฎหมายของไทยยังไม่ตรงกับแนวความคิดในเรื่องนี้ อีกทั้งยังขาดความชัดเจนและยังไม่สอดคล้องกันในหลายกรณี ดังนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการบัญญัติกฎหมายใหม่เพื่อให้ตรงกับแนวความคิดในเรื่องนี้ อีกทั้งแก้กฎหมายในบางมาตราเพื่อให้เกิดความสอดคล้องต้องกัน และสามารถบังคับใช้ได้จริงในสังคมไทยen_US
dc.description.abstractalternativeThe concept of prohibiting state officials from receiving property or any other benefit in whatever forms is stipulated in Article 103 of the Organic Act on Counter Corruption, B.E. 2542 (1999). Its legislative intent is to prevent state officials from conflict of interests, both at the individual and common level, which potentially lead to corruption. Nevertheless, this concept is scantly enforced in the Thai society. Therefore, this thesis will delve in to the background of this concept and consider whether or not the situation of the Thai society is in contrast with it. At the end, it will compare relevant laws of the Kingdom of Thailand with those of the United States of America, Hong Kong Special Administrative Region of the People's Republic of China and the Republic of Singapore – all of which are states proven to have accomplished in enforcing its laws related to the subject matter. Through research, it is shown that the concept of prohibiting state officials from receiving property or any other benefit does not conflict with the current situation of the Thai society. The reason for the lack of effective enforcement, however, is that the relevant laws are still not in line with the concept. Furthermore, it lacks clarity and consistency in a number of instances. Therefore, this thesis offers a guideline on how to resolve this problem by means of new legislations coherent with the concept and some amendments to the existing legislations so that they are consistent with each other and practically enforceable with the Thai society.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.724-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการทุจริตและประพฤติมิชอบ
dc.subjectธรรมรัฐ
dc.subjectGood governance
dc.titleการห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542en_US
dc.title.alternativeSTATE OFFICIAL SHALL NOT RECEIVE PROPERTY OR ANY OTHER BENEFIT OF THE ORGANIC ACT ON THE COUNTER CORRUPTION B.E. 2542 (1999)en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected]en_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.724-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5385978534.pdf4.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.