Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43341
Title: การศึกษาเปรียบเทียบลักษณะพื้นที่รองรับกิจกรรมแห่พระพุทธเกษรทางน้ำ
Other Titles: COMPARATIVE STUDY ON SPATIAL FEATURES FOR SUPPORTING BUDDHA-GESORN WATER-FLOATING CEREMONY
Authors: จรรยาพัชญ์ แก้วมโนรมย์
Advisors: เทิดศักดิ์ เตชะกิจขจร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: แม่น้ำเจ้าพระยา -- ที่ราบลุ่มน้ำ
สังคมและวัฒนธรรม
Chao Phraya River (Thailand) -- Alluvial plains
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สภาพภูมิประเทศบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลางได้สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตที่ผูกพันกับโครงข่ายทางน้ำมาอย่างช้านานตั้งแต่ในอดีต ทั้งภูมิปัญญาในการดำเนินชีวิต ลักษณะประเพณีในท้องถิ่น ตลอดจนลักษณะกายภาพของพื้นที่ที่มนุษย์ปรับปรุงขึ้นเพื่อรองรับกิจกรรมต่างๆ ของตน การเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยไปสู่การพัฒนาสังคมวัฒนธรรมที่พึ่งพาการสัญจรทางบก ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบวิถีชีวิต ประเพณี และลักษณะพื้นที่กายภาพที่เคยพึ่งพาโครงข่ายทางน้ำไปสู่ความสัมพันธ์กับการสัญจรทางบก ประเพณีแห่พระพุทธเกษรใน ต.บ้านโพธิ์ อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา คือตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชนกับโครงข่ายทางน้ำอย่างแนบแน่น ก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงเป็นการทางบกในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา และเกิดความพยายามในการรื้อฟื้นประเพณีพระพุทธเกษรทางน้ำขึ้นอีกครั้งหนึ่ง การศึกษาเปรียบเทียบลักษณะพื้นที่ในรองรับกิจกรรมประเพณีแห่พระพุทธเกษรทางน้ำ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของกิจกรรมและพื้นที่จัดงานประเพณีแห่พระพุทธเกษรในอดีตและในงานรื้อฟื้นประเพณีแห่พระพุทธเกษรในปีพุทธศักราช 2556 โดยทำการเก็บข้อมูลจากการรวบรวมเอกสาร ภาพถ่ายเก่า การเข้าร่วมสังเกตการณ์เหตุการณ์ประเพณีการแห่พระพุทธเกษรในแต่ละครั้ง ร่วมกับการสัมภาษณ์ผู้อาวุโส ผู้เข้าร่วมงานประเพณีภายในชุมชน เพื่อประมวลลักษณะการใช้พื้นที่ในการรองรับกิจกรรมในแต่ละช่วงเวลา แล้วนำข้อมูลทั้งหมดที่ได้มาแปลงลงแผนที่วัดและบริเวณโดยรอบเพื่อศึกษาการเปรียบเทียบต่อไป จากการศึกษาพบว่า 1) มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ของผู้จัดงาน โดยองค์การบริหารส่วนตำบลและหน่วยงานภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดงานมากขึ้น 2) การรื้อฟื้นประเพณีแห่พระพุทธเกษรทางน้ำต้องคำนึงถึงการจัดเตรียมพื้นที่เพื่อรองรับทั้งการแห่ทางบกและทางน้ำ 3) พื้นที่ศาลาการเปรียญและสะพานเชื่อมระหว่างหมู่กุฏิและศาลาการเปรียญเป็นพื้นที่หัวใจสำคัญภายในวัดในการรองรับกิจกรรมประเพณีแห่พระพุทธเกษรตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 4) ในส่วนของพื้นที่ภายนอกวัด พบว่าประตูน้ำเจ้าเจ็ดมีศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่ในการรองรับกิจกรรมประเพณีแห่พระพุทธเกษรทางน้ำต่อไปในอนาคต 5) การศึกษาทำให้เกิดข้อค้นพบและเงื่อนไขเบ็ดเตล็ดต่างๆ ในการพัฒนาและการปรับปรุงพื้นที่เพื่อรองรับการจัดกิจกรรมประเพณีแห่พระพุทธเกษรทางน้ำครั้งต่อไป
Other Abstract: The characteristics of the middle part of the Chao Phraya River have influenced the lifestyle of those living along the river, their customs and their modification of the topography to suit their daily activities. However, at present, land transportation plays a more important role in their life, resulting in changes in their lifestyle, customs and dependence on the river for their existence. 7The procession of Buddha-gesorn in Ban Po Subdistrict, Sena District, Phra Nakhon Si Ayuttaya Province was an example of a close relationship between a community and a river before the road construction 30 years ago. However, there has been an attempt to revive this tradition. This study aims to examine the relationship between activities and the event venue in the past and in 2013. The data were collected from photographs, observations and interviews of the elderly and the participants. Then they were analyzed to determine the pattern of area use in performing each activity. After that all of the information was transformed into a map for a further comparative study. It was found that 1) there were changes in the organizers’ structure and roles. The Tambon Administrative and organizations outside the community played more important roles in organizing the event. 2) This tradition required both water and land routes. 3) The area of the sermon hall and the area of the bridge linking monks’ quarters and the sermon hall have been the key areas in the temple for organizing this event. 4) As for the area outside the temple, Chao Ched water gate has the potential to serve this activity in the future and 5) other findings obtained from this study can be applied to develop the area so that it will be more practical for organizing this traditional event.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43341
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.787
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.787
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5473396325.pdf9.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.