Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43390
Title: | ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความเข้มแข็งทางใจของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสูงอายุ |
Other Titles: | FACTOR RELATED TO RESILIENCE AMONG OLDER PERSONS WITH MAJOR DEPRESSIVE DISORDER |
Authors: | อรุณลักษณ์ คงไพศาลโสภณ |
Advisors: | รังสิมันต์ สุนทรไชยา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | โรคซึมเศร้า -- ผู้ป่วย -- สุขภาพจิต ผู้สูงอายุ -- สุขภาพจิต Psychotic depression -- Patients -- Mental health Older people -- Mental health Resilience (Personality trait) |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้มแข็งทางใจของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสูงอายุ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเพศ สถานภาพสมรส การเจ็บป่วยเรื้อรัง รายได้ครอบครัว ความสามารถในการทำหน้าที่ของผู้สูงอายุ ความสามารถในการรู้คิด ความสิ้นหวัง การสนับสนุนทางสังคมและภาวะซึมเศร้ากับความเข้มแข็งทางใจของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสูงอายุแผนกผู้ป่วยนอกสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาและสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ จำนวน 165 ราย ได้รับการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบประเมินสภาพสมองเบื้องต้น 2) แบบประเมินความเศร้าของผู้สูงอายุไทย 3) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 4) แบบประเมินความเข้มแข็งทางใจ 5)แบบประเมินความสามารถในการทำหน้าที่ของผู้สูงอายุ 6) แบบประเมินความสิ้นหวังของผู้สูงอายุ 7) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม โดยมีดัชนีความตรงของเครื่องมือ ดังนี้ แบบวัดที่ 4, 5, 6 และ 7 เท่ากับ .84, .81, .88 และ .96 ตามลำดับ ค่าความเที่ยงของแบบวัดที่ 1, 2, 4, 5, 6 และ 7 เท่ากับ .74 , .85, .89 , .79 , .88 และ .82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย สถิติสหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล สถิติสหสัมพันธ์สเปียร์แมนและสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน โดยกำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสูงอายุมีความเข้มแข็งทางใจระดับต่ำ (Mean = 64.79, ± SD = 17.63) 2. เพศ สถานภาพสมรส การเจ็บป่วยเรื้อรัง รายได้ครอบครัวต่อเดือนไม่มีความสัมพันธ์กับความเข้มแข็งทางใจ 3. ความสามารถในการทำหน้าที่ของผู้สูงอายุ ความสามารถในการรู้คิดและการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเข้มแข็งทางใจของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสูงอายุอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .05 (r = .301, .172 และ .456) ตามลำดับ 4. ความสิ้นหวังและภาวะซึมเศร้า มีความสัมพันธ์ทางลบกับความเข้มแข็งทางใจของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสูงอายุ ที่ระดับ .01 (r = -.510 และ r = -.525) ตามลำดับ ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสูงอายุ ควรมีการส่งเสริมความสามารถในการทำหน้าที่ การสนับสนุนทางสังคม รวมทั้งลดความสิ้นหวังและภาวะซึมเศร้าเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งทางใจให้แก่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสูงอายุ |
Other Abstract: | The objective of this study was to examine resilience among older persons with Major Depressive Disorder, and its correlation with gender, marital status, chronic illness, family income, late – life function, cognitive, hopelessness social support and depression. The sample consisted 165 older persons diagnosed with major depressive disorder, by using a random sampling at the outpatient clinic at Somdet Chaophaya Institute Psychiatry and Galya Rajanagarindra Institute,The data collections were used by the personal questionnaire, Connor-Davidson resilience scale questionnaire(CD-RISC), Late – Life function instrument questionnaire(LLFI), Geriatric hopelessness scale, The personal resource questionnaire (PRQ), Mini – mental status exammination(MMSE) and Thai Geriatric depression scale (TGDS). The content validity index of MMSE, TGDS, CD-RISC, LFFI, Geriatric hopelessness scale and PRQ were .84, .81, .88 and .96 respectively and Cronbach’s alpha reliability of CD-RISC, LFFI, Geriatric hopelessness scale and PRQ were .74 , .85, .89, .81, .88 and .82 respectively Data were analyzed by descriptive statistic, Point Biserial Correlation, Spearman Rank Correlation and Pearson’s Product Moment Correlation. The result were as follows: 1. Older persons with Major depressive disorder had mean of resilience 64.79 (Mean = 64.79, ± SD = 17.63) 2. Gender, Marital status, Chronic illness and family income did not correlate with resilience. 3. Late – life function, Cognitive and Social support had positively correlated with resilience at the significant level of .05 (r = .301, r = .172, r = .456) 4. Hopelessness and Depression had negatively correlated with resilience at the significant level of .01 (r = - .510, r = -.367) Research suggestion of caring for older persons with major depressive disorder included that further studies in experimental research to develop and examine the effect of the program involving resilience for older persons with major depressive disorder. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43390 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.856 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.856 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5477316936.pdf | 4.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.