Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43403
Title: | การกระทำความผิดต่อเนื่องในคดีสิ่งแวดล้อม : ศึกษากรณีการรุกล้ำลำน้ำ |
Other Titles: | THE CONTINUED OFFENSES IN ENVIRONMENTAL CASES : STUDIES IN WATERWAYS ENCROACHMENT |
Authors: | บริรักษ์ ศิริสวัสดิบุตร |
Advisors: | วีระพงษ์ บุญโญภาส |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ที่ดินสาธารณะ การบุกรุก กฎหมายสิ่งแวดล้อม Public lands Trespass Environmental law |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในอดีตปัญหาการรุกล้ำลำน้ำในประเทศไทยไม่มีความรุนแรงมากนัก เนื่องด้วยอัตราส่วนระหว่างประชากรกับที่ดินในประเทศมีความสมดุลกัน ต่อมาเมื่อสังคมเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ ความต้องการใช้ที่ดินจึงเพิ่มขึ้น ทำให้คนที่ไม่สามารถจับจองที่ดินได้ ก็จะอาศัยการบุกรุกที่ดินบริเวณริมลำน้ำ โดยสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งประชาชนโดยทั่วไปขาดความรู้และความเข้าใจ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การรุกล้ำลำน้ำอย่างผิดกฎหมายยังคงเกิดขึ้นต่อไป ซึ่งโดยมากแล้วการกระทำความผิดก็จะเป็นไปในลักษณะต่อเนื่อง ซึ่งมีความหมายว่าผู้กระทำความผิดได้กระทำความผิดในฐานความผิดเดียวหรือหลายฐานความผิด เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ของการกระทำความผิดเดียวกัน โดยความผิดทุกฐานได้ถูกกระทำลง ก่อนที่จะถูกจับกุมดำเนินคดีในทุกฐานความผิด โดยอาจใช้ระยะเวลานานเท่าใดก็ได้ ซึ่งในเรื่องนี้กฎหมายของประเทศไทย ไม่ได้มีการกำหนดนิยามของการกระทำความผิดต่อเนื่องไว้เป็นการเฉพาะ จึงทำให้การเพิ่มโทษแก่ความผิดประเภทนี้ต้องนำหลักเกณฑ์การเพิ่มโทษเนื่องจากการกระทำความผิดซ้ำในประมวลกฎหมายอาญา มาใช้บังคับแทน ในฐานะที่เป็นกฎหมายที่มีความใกล้เคียงที่สุดเท่านั้น ซึ่งมีข้อบกพร่องหลายประการ ทั้งนี้เมื่อศึกษาถึงการกระทำความผิดต่อเนื่องในกฎหมายสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศ เช่น ประเทศออสเตรเลีย ประเทศสิงคโปร์ และเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ประเทศเหล่านี้จะใช้การเพิ่มโทษปรับเป็นรายวันเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผู้เขียนเห็นว่า การนำกฎหมายควบคุมการกระทำความผิดต่อเนื่องในกฎหมายสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศ มาเป็นแนวทางในการบัญญัติกฎหมายควบคุมการกระทำความผิดต่อเนื่องในคดีรุกล้ำลำน้ำถือได้ว่ามีความเหมาะสม โดยควรนำมาปรับใช้ควบคู่กับแนวทางการเพิ่มโทษเนื่องจากการกระทำความผิดซ้ำ |
Other Abstract: | In the past, waterways encroachment problem in Thailand is not very strong due to the balance proportion of the population and the lands. Nowadays, this kind of crime has dramatically increased because the allocation of the lands fails to meet the demands of people. Consequently, the waterways’ rims encroachment has become relatively high. It could be the ineffectiveness of law enforcement and lack of knowledge about waterways encroachment problem. This kind of offence is a continuing offence whose characteristics are committed one charge or many charge for the goal of crime and all crimes must be committed in period before arrested in every charges. Although Thailand has the environment law, the law cannot be enforced due to lacking of continuing offence definition. The only way to prosecute the offender is to apply the recidivism increasing punishment from the criminal law. This principle has many disadvantages, however, comparing with Australia Singapore, Hong Kong., where the offender sustains the day-by-day punishment. To eliminate the problem, thus, it is advisable that this kind of punishment be enforced. This principle could be apply with the punishment extending principles of the recidivism punishment increased. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43403 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.870 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.870 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5485995234.pdf | 2.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.