Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43456
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกุณฑลทิพย พานิชภักดิ์en_US
dc.contributor.authorนันท์นภัส มายะการen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:38:31Z
dc.date.available2015-06-24T06:38:31Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43456
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนด้านที่อยู่อาศัย Agenda 21 ได้กำหนดให้ประชากรทุกคนต้องมีที่อยู่อาศัยที่มีมาตรฐานและเพียงพอ นานาประเทศทั่วโลกได้ดำเนินการกำหนดนโยบายและมักมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อย ในปี 2558 จะมีการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economics Community) : AEC คาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ที่อยู่อาศัยในกลุ่มประเทศอาเซียน แต่ยังขาดการศึกษาในประเด็นนี้อยู่ วิยานิพนธ์นี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา นโยบายและบทบาทองค์กรภาครัฐในการพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยในอาเซียน : กรณีศึกษากลุ่มประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน เพื่อเป็นบทเรียนนำมาปรับใช้เตรียมความพร้อมในการวางแผนต่อไป โดยการวิจัยจากเอกสาร การวิเคราะห์เนื้อหา การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านที่อยู่อาศัย และการจัดประชุมระดมความคิด กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ผลการศึกษาพบว่า 1. สถานการณ์ที่อยู่อาศัยในกลุ่มประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียนทั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์นั้น ประเทศที่ประสบปัญหาด้านที่อยู่อาศัยมากที่สุดคือ ฟิลิปปินส์ เนื่องจากการเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็ว ความยากจน และการประสบภัยธรรมชาติที่รุนแรงบ่อยครั้ง รองลงมาคือ อินโดนีเซีย ซึ่งมีปัจจัยคล้ายฟิลิปปินส์แต่มีสถานะทางเศรษฐกิจดีกว่าทำให้ปัญหารุนแรงน้อยกว่า ลำดับถัดมาเป็นประเทศไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ตามลำดับ 2. ด้านบทบาทองค์กรภาครัฐ ด้านโครงสร้างองค์กรพบว่าภาครัฐได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่อยู่อาศัย โดยจัดตั้งองค์กรพัฒนาที่อยู่อาศัยทุกประเทศ โดย 4 ใน 5 ประเทศมีการตั้งเป็นหน่วยงานระดับกระทรวงและได้รวบรวมองค์กรที่เกี่ยวข้องไว้ในกระทรวงหรือหน่วยงานเดียวกัน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันและเกือบทุกประเทศมีการกระจายอำนาจด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยสู่หน่วยงานส่วนท้องถิ่นโดยมี นโยบานระดับชาติกำกับ มีแต่ประเทศไทยประเทศเดียวที่ไม่ได้จัดตั้งองค์กรพัฒนาที่อยู่อาศัยในระดับกระทรวงและในกระทรวงที่การเคหะแห่งชาติสังกัดก็ไม่ได้มีองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่อยู่อาศัยอยู่ในกระทรวงเดียวกัน และการกระจายอำนาจด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยสู่หน่วยงานปกครองท้องถิ่นก็ยังขาดองค์ความรู้และงบประมาณจึงยังไม่สามารถดำเนินการได้ 3. ด้านนโยบายภาครัฐ พบว่าทุกประเทศมีการกำหนดนโยบายที่อยู่อาศัยในระดับชาติ มีกฎหมายด้านการพัฒนาเมือง กฎหมายด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย และระบบการเงินเคหะการที่สนับสนุนการพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อย และมีการกำหนดนโยบายที่อยู่อาศัยในระดับชาติแบบบูรณาการ มีการดำเนินนโยบายอย่างต่อเนื่อง มีการปรับนโยบายให้เข้ากับสถานการณ์เป็นระยะและสม่ำเสมอ แต่ประเทศไทยมีนโยบายด้านที่อยู่อาศัยในระดับชาติเพียงบางช่วงไม่ต่อเนื่องและไม่สม่ำเสมอจึงทำให้ขาดแนวทางการดำเนินการในระยะยาว บทเรียนที่ได้จากการศึกษา คือการที่ประเทศที่จะสามารถพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยให้ประสบความสำเร็จนั้น ปัจจัยที่สำคัญคือความตั้งใจของภาครัฐหรือ Political will และการดำเนินนโยบายแบบบูรณาการ ซึ่งพบในประเทศสิงคโปร์ ที่ได้เปรียบเนื่องจากเป็นประเทศเล็ก ภาครัฐได้ใช้นโยบายพัฒนาที่อยู่อาศัยเป็นนโยบายหลักในการสร้างประเทศ โดยจัดตั้งองค์กรและรวมหน่วยงานหรือกลไกที่เกี่ยวข้องไว้ในหน่วยงานเดียวกัน ทำให้การทำงานสามารถผลักดันการดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากนั้นยังมีการมีการติดตามประเมินผล และการปรับเปลี่ยนนโยบายให้ทันกับสถานการณ์ เช่นนโยบายที่อยู่อาศัยเพื่อการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของสิงคโปร์ และบทเรียนเรื่องนโยบายสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการพัฒนาที่อยู่อาศัยแก่ผู้มีรายได้น้อยของ รัฐบาลมาเลเซีย ซึ่งถ้าประเทศไทยสามารถนำนโยบายดังกล่าวมาปรับใช้ก็จะเกิดประโยชน์กับการพัฒนาที่อยู่อาศัยในอนาคตen_US
dc.description.abstractalternativeAccording to Article 21 of The Universal Declaration of Human Rights, everybody shares the right to decent and adequate housing. Many countries worldwide have set up standards and policies for housing, especially those involving providing housing for low-income working families. In 2015, the AEC integration will make some changes in the housing situation of the ASEAN member countries. However, there has not been research on this. The study, therefore, aims to investigate the policies and roles of governmental organizations in developing low-income housing. The cases examined in the study were all located the ASEAN member countries. The purpose of the study was to foster the collection of actionable data for policy makers to use, in order to make better decisions on housing policy under the AEC. The case study research methodology included collecting data from documents, analyzing data, interviewing experts in housing, and organizing a meeting of experts to brainstorm ideas. The study found that among the ASEAN member countries, the Philippines face the most housing problems. This is due to the rise in population, poverty, and occurrence of natural disasters. The next most problematic country is Indonesia, whose housing problems are similar to that of the Philippines, but Indonesia’s economic success is a mitigating factor. Thailand, Malaysia, and Singapore have the least housing problems respectively. Moreover, it was found that the government of every country pays attention to developing housing. There is an organization which develops housing in every country. Four out of the five countries studied have set up a ministry of housing which consists of related organizations so that the management is easier and more direct. Most countries try to distribute power to local authorities. Thailand, unlike other countries, does not have a ministry of housing. Moreover, the National Housing Authority is under the Ministry of Social Development and Human Security but the other organizations involved are outside of Ministerial control. In addition, the distribution of power to local authorities is not effective because they lack funds and knowledge. Concerning the governmental policies, every country has national housing laws, city development laws, and national housing development laws. There is also financial support for the development of low-income housing. Most countries have continually developed and implemented integrated national housing policies. However, Thailand does not have solid national housing policies, which make it difficult to develop housing plans in the long run. The study found that the most crucial factor in successful low-income housing development is the political will to do so.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.920-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนาที่อยู่อาศัย -- นโยบายของรัฐ -- กลุ่มประเทศอาเซียน
dc.subjectนโยบายการเคหะ -- กลุ่มประเทศอาเซียน
dc.subjectHousing development -- Government policy -- ASEAN countries
dc.subjectHousing policy -- ASEAN countries
dc.titleนโยบายและบทบาทองค์กรภาครัฐในการพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยในอาเซียน: กรณีศึกษากลุ่มประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียนen_US
dc.title.alternativePOLICIES AND ROLES OF GOVERNMENT IN LOW-INCOME HOUSING DEVELOPMENT IN THE ASEAN: CASE STUDY ASEAN FOUNDING COUNTRIESen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการพัฒนาที่อยู่อาศัยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected]en_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.920-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5573574825.pdf4.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.