Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43477
Title: | ความชุกของภาวะติดการพนันและบุคลิกภาพแบบอันธพาลในผู้ติดสารเมทแอมเฟตามีนที่เข้ารับการบำบัดรักษาที่สถาบันธัญญารักษ์ |
Other Titles: | PREVALENCE OF PATHOLOGICAL GAMBLING AND ANTISOCIAL PRESONALITY DISORDER IN INDIVIDUALS WITH METHAMPHETAMINE DEPENDENCE AT THANYARAK INSTITUTE |
Authors: | ธีรศานต์ ไกรงามสม |
Advisors: | รัศมน กัลยาศิริ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | สถาบันธัญญารักษ์ แอมฟิตะมิน ยาบ้า ยาเสพติด -- การบำบัดรักษา Amphetamines |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะติดการพนันและบุคลิกภาพแบบอันธพาล และปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะติดการพนันและบุคลิกภาพแบบอันธพาล ทำการศึกษาในผู้ติดสารเมทแอมเฟตามีนที่เข้ารับการบำบัดรักษาที่สถาบันธัญญารักษ์ โดยใช้ข้อมูลของการศึกษา ‘อิทธิพลของพันธุกรรมร่วมกับสิ่งแวดล้อม ในกลุ่มอาการโรคจิตที่เกิดจากการเสพสารเมทแอมเฟตามีนหรือยาบ้า’ ที่มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 728 คน และเก็บข้อมูลในปี พ.ศ. 2554-2555 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ SSADDA (Semi-Structured Assessment for Drug Dependence and Alcoholism) ฉบับภาษาไทย ใน Section I: บุคลิกภาพแบบอันธพาล และ Section U: Gambling และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติด้วยการทดสอบ Chi-square และ การวิเคราะห์ Logistic regression ด้วยวิธี Backward likelihood ratio ผลการศึกษา พบว่า ความชุกของภาวะติดการพนันและบุคลิกภาพแบบอันธพาลในผู้ติดสารเมทแอมเฟตามีนที่เข้ารับการบำบัดรักษาที่สถาบันธัญญารักษ์ คือ ร้อยละ 33.4 และ 23.8 ตามลำดับ ปัจจัยที่สัมพันธ์และเป็นปัจจัยทำนายภาวะติดการพนัน คือ การติดเมทแอมเฟตามีนรุนแรง การติดบุหรี่ แอลกอฮอล์ และการเคยใช้กัญชา นอกจากนี้ เพศชาย การคิดฆ่าตัวตาย อาการจิตหวาดระแวงจากการใช้สาร การใช้ฝิ่นและอนุพันธ์ของฝิ่น และสารระเหย ยังมีความสัมพันธ์กับภาวะติดการพนันเช่นกัน ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และเป็นปัจจัยทำนายการมีบุคลิกภาพแบบอันธพาล คือ เพศชาย ช่วงอายุน้อยกว่า 20 ปี การเคยมีอาการจิตหวาดระแวงจากการใช้สาร การติดเมทแอมเฟตามีนรุนแรง การติดบุหรี่ แอลกอฮอล์ การเคยใช้ฝิ่นและอนุพันธ์ของฝิ่น นอกจากนี้ การพยายามและคิดฆ่าตัวตาย การเคยใช้สารระเหยและกัญชา มีความสัมพันธ์กับบุคลิกภาพแบบอันธพาลเช่นกัน นอกจากนี้ยังพบว่า ภาวะติดการพนันและบุคลิกภาพแบบอันธพาลในผู้ติดสารเมทแอมเฟตามีนที่เข้ารับการบำบัดรักษาที่สถาบันธัญญารักษ์ยังมีความสัมพันธ์กันอีกด้วย |
Other Abstract: | The objective of this study was to establish the prevalence of pathological gambling (PG) and antisocial personality disorder (ASPD) in individuals with methamphetamine dependence at Thanyarak institute, Thailand and to determine associated factors for PG and ASPD. Data of 728 individuals were obtained from the Semi-Structured Assessment for Drug Dependence and Alcoholism (SSADDA-Thai version) in the study of ‘Methamphetamine-Induced Psychosis: A Gene by Environment Interaction Study’ that collected data from 2010-2012. The prevalence of PG and ASPD in individuals with methamphetamine dependence were 33.4% and 23.8% respectively. Logistic regression identified predictors of PG to be: severe methamphetamine dependence, nicotine dependence, alcohol dependence and cannabis use. Male, suicidal thought, methamphetamine-induced paranoia, opiate dependence and inhalant use were associated with PG. The predictors of ASPD were male, age below 20 years, methamphetamine-induced paranoia, severe methamphetamine dependence, nicotine dependence, alcohol dependence and opiate dependence. In addition, suicidal thought and suicidal attempt, inhalant use and cannabis use were associated with ASPD. PG and ASPD were associated with each other. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขภาพจิต |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43477 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.943 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.943 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5574132230.pdf | 6.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.