Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43487
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | รังสรรค์ ฤกษ์นิมิตร | en_US |
dc.contributor.advisor | รภัส พิทยานนท์ | en_US |
dc.contributor.author | ปิยะพันธ์ พฤกษพานิช | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-06-24T06:38:47Z | |
dc.date.available | 2015-06-24T06:38:47Z | |
dc.date.issued | 2556 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43487 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | ที่มา ผู้ป่วยที่มีประวัติมะเร็งศีรษะและลำคอมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งหลอดอาหารเป็นมะเร็งตำแหน่งที่สอง และมีอัตราการเสียชีวิตสูงหากมิได้รับการวินิจฉัยในระยะเริ่มแรก การส่องกล้องทางเดินอาหารร่วมกับย้อมหลอดอาหารด้วยสารละลายลูกอลมีความไวสูงในการตรวจพบเยื่อบุหลอดอาหารที่ผิดปกติ แต่ขาดความจำเพาะในการวินิจฉัยมะเร็งหลอดอาหารระยะแรก เทคโนโลยีใหม่ในการส่องกล้องได้แก่ กล้องคอนโฟคอล และกล้องแนโรวแบนด์อิมเมจจิงร่วมกับระบบกำลังขยาย จึงมีศักยภาพในการช่วยวินิจฉัยมะเร็งหลอดอาหารระยะแรกในรอยโรคในหลอดอาหารที่ไม่ติดสีจากการย้อมด้วยสารละลายลูกอล วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความจำเพาะของการใช้กล้องคอนโฟคอล ในการวินิจฉัยมะเร็งหลอดอาหารระยะแรก ในรอยโรคที่ไม่ติดสีจากการย้อมหลอดอาหารด้วยสารละลายลูกอลที่มีขนาดใหญ่กว่า 5 มิลลิเมตร ในผู้ป่วยที่มีประวัติมะเร็งศีรษะและลำคอ ชนิดสความัส วิธีการวิจัย ผู้ป่วยที่มีมะเร็งศีรษะและลำคอชนิดสความัส ที่มารับการรักษาในสาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ที่ยังมีชีวิตอยู่ ที่ไม่มีอาการทางหลอดอาหาร มาเข้ารับการส่องกล้องทางเดินอาหารปกติ ตามด้วยการย้อมหลอดอาหารด้วยสารละลายลูกอลเข้มข้นร้อยละ 0.5 จากนั้นรอยโรคที่ไม่ติดสีจากการย้อมด้วยสารละลายลูกอลที่มีขนาดใหญ่กว่า 5 มิลลิเมตรจะถูกตรวจด้วยกล้องแนโรวแบนด์อิมเมจจิงร่วมกับระบบกำลังขยาย และกล้องคอนโฟคอลตามลำดับ โดยผู้ส่องกล้อง 2 คนที่เป็นอิสระต่อกัน ผู้ส่องกล้องคอนโฟคอลจะไม่ทราบผลการส่องกล้องแนโรวแบนด์อิมเมจจิง หลังจากนั้นรอยโรคดังกล่าวจะถูกตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยาเพื่อเป็นมาตรฐานสำหรับการวินิจฉัย ผลการศึกษา จากรายชื่อผู้ป่วยทั้งหมด 1,199 คน มีผู้ที่อยู่ในเกณฑ์คัดเข้า 628 คน เมื่อตัดผู้ป่วยที่ไม่สามารถติดต่อได้, ผู้ป่วยที่ปฏิเสธเข้าร่วมงานวิจัยและผู้ป่วยที่มีเกณฑ์คัดออก เหลือผู้ป่วยที่เข้าร่วมในงานวิจัยทั้งหมดจำนวน 41 คน มีอายุตั้งแต่ 23 ปีถึง 73 ปี (ค่ามัธยฐาน 61 ปี) ตรวจพบรอยโรคผิดปกติในหลอดอาหาร 8 รอยโรคจากการส่องกล้องปกติ โดยเป็นรอยโรคที่แบนราบ 5 รอยโรคและยกนูน 3 รอยโรค และเมื่อย้อมด้วยสารละลายลูกอลพบรอยโรคที่ไม่ติดสีที่มีขนาดใหญ่กว่า 5 มิลลิเมตรทั้งหมด 20 รอยโรค ในผู้ป่วย 11 คน รอยโรคมีขนาดตั้งแต่ 5 ถึง 26 มิลลิเมตร (มัธยฐาน 9 มิลลิเมตร) และอยู่ที่ตำแหน่งตั้งแต่ 15 ถึง 36 เซนติเมตรจากฟันหน้า (มัธยฐาน 25.5 เซนติเมตรจากฟันหน้า) ผลตรวจทางพยาธิวิทยาเป็นมะเร็งหลอดอาหารระยะแรก 7 รอยโรคคิดเป็นร้อยละ 35 จากรอยโรคทั้งหมด สำหรับกล้องคอนโฟคอล เมื่อใช้เกณฑ์ความผิดปกติของเซลล์ร่วมกับความผิดปกติของขดหลอดเลือดฝอยที่เยื่อบุผิว พบว่ามีค่าความไว, ความจำเพาะ, ค่าพยากรณ์ผลบวก, ค่าพยากรณ์ผลลบและค่าความแม่นยำ เท่ากับร้อยละ 83, ร้อยละ 91, ร้อยละ 83, ร้อยละ 91 และร้อยละ 88 ตามลำดับ และสำหรับกล้องแนโรวแบนด์อิมเมจจิงร่วมกับระบบกำลังขยาย การใช้เกณฑ์ลักษณะของขดหลอดเลือดฝอยที่เยื่อบุผิวมีความผิดปกติอย่างน้อย 2 ใน 4 ลักษณะ เทียบเท่ากับการจัดกลุ่มของอิโนอูเอะระดับสี่ขึ้นไป พบว่ามีค่าความไว, ความจำเพาะ, ค่าพยากรณ์ผลบวก, ค่าพยากรณ์ผลลบและค่าความแม่นยำ เท่ากับร้อยละ 85, ร้อยละ 58, ร้อยละ 54, ร้อยละ 87 และร้อยละ 68 ตามลำดับ สรุปผลการศึกษา กล้องคอนโฟคอลมีความจำเพาะและความแม่นยำสูงกว่ากล้องแนโรวแบนด์อิมเมจจิงในการวินิจฉัยมะเร็งหลอดอาหารระยะแรก ในรอยโรคที่ไม่ติดสีจากการย้อมหลอดอาหารด้วยสารละลายลูกอลที่มีขนาดใหญ่กว่า 5 มิลลิเมตร ในผู้ป่วยที่มีประวัติมะเร็งศีรษะและลำคอ ชนิดสความัส | en_US |
dc.description.abstractalternative | Background: The surveillance endoscopy for esophageal squamous cell neoplasm (ESCN) was recommended in patients with head and neck cancer. Despite having an excellent sensitivity, Lugol’s chromoendoscopy has the suboptimal specificity for ESCN detection. The novel endoscopic modalities including probed-based confocal laser endomicroscopy (pCLE) and magnifying NBI (M-NBI) have been introduced. Objective: To compare the diagnostic values of pCLE and M-NBI for ESCN in patients with history of head and neck cancers who had Lugol’s-voiding lesions (LL) size larger than 5 mm. Methods: Asymptomatic patients with a history of head and neck cancers diagnosed during January, 2002 to December, 2012 were recruited. After a standard white light EGD, the esophagus was stained with 0.5% Lugol’s solution. LL size larger than 5 mm was sequentially examined with M-NBI and pCLE by the two independent operators. The endoscopist performing pCLE exam was blinded to the results of M-NBI readings. Finally, all Lugol’s unstained lesions larger than 5 mm were biopsied and pathology was referred as the gold standard. Results: Of the total 1,199 patients, 628 patients were within the inclusion criteria. Forty-one eligible patients were recruited. The patients’ age ranged from 23 to 73 years (median 61 years). There were 8 lesions detected by the initial white light study which 5 of them were the flat demarcated red lesions and the rest were the elevated lesions. Twenty Lugol’s unstained lesions were larger than 5 mm (11 patients). The size of the lesions ranged from 5 to 26 mm (median 9 mm) and located at 15-36 cm from the incisor (median 25.5 cm). Seven of these Lugol’s unstained lesions (35%) were histologically diagnosed as esophageal squamous cell neoplasm (low-grade, n=3 or high-grade dysplasia, n=4). The criteria by pCLE were abnormal cellular pattern plus three abnormal vascular patterns i.e. dilated, irregular, and elongated capillaries which the sensitivity, specificity, PPV, NPV and accuracy were 83%, 91%, 83%, 91% and 88% respectively. The criteria for the diagnosis of ESCN by M-NBI were at least two abnormal intrapapillary capillary loop (IPCL) patterns such as caliber change, variation in shape, and tortuous capillaries which the sensitivity, specificity, PPV, NPV and accuracy were 85%, 58%, 54%, 87% and 68% respectively. Conclusion: pCLE provides higher specificity and accuracy than M-NBI for the presence of esophageal squamous cell neoplasm in patients with previous history of head and neck cancer who had positive Lugol’s unstained lesions. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.951 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | หลอดอาหาร -- มะเร็ง | |
dc.subject | การส่องกล้อง | |
dc.subject | Esophagus -- Cancer | |
dc.subject | Endoscopy | |
dc.title | การศึกษาความจำเพาะของกล้องคอนโฟคอล ในการวินิจฉัยมะเร็งหลอดอาหารระยะแรก ในรอยโรคที่ไม่ติดสีจากการย้อมหลอดอาหารด้วยสารละลายลูกอลที่มีขนาดใหญ่กว่า ๕ มิลลิเมตร ในผู้ป่วยที่มีประวัติมะเร็งศีรษะและลำคอ ชนิดสความัส | en_US |
dc.title.alternative | STUDY OF THE SPECIFICITY OF CONFOCAL ENDOMICROSCOPY FOR DIAGNOSIS OF EARLY ESOPHAGEAL NEOPLASM IN LUGOL UNSTAINED LESIONS SIZE MORE THAN 5 MM IN PATIENTS WITH HEAD AND NECK CANCERS | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | อายุรศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | [email protected] | en_US |
dc.email.advisor | [email protected] | |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2013.951 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5574148330.pdf | 2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.