Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43505
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรุ่งโรจน์ พิทยศิริen_US
dc.contributor.advisorปรียา จาโกต้าen_US
dc.contributor.authorอรอนงค์ จิตรกฤษฎากุลen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:38:55Z
dc.date.available2015-06-24T06:38:55Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43505
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractบทนำ : ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศเป็นอาการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวที่พบไดบ่อยในคนไข้พาร์กินสัน แต่เป็นภาวะที่คนไข้ส่วนใหญ่มีความลำบากใจในการให้ข้อมูลและแพทย์ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ให้ความสนใจในการสืบค้นเหมือนกับอาการผิดปกติทางการเคลื่อนไหว วัตถุประสงค์ : เพื่อหาความชุกของการเกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้ป่วยพาร์กินสันเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่เป็นโรคพาร์กินสัน ประเมินโดยแบบสอบถามประสบการณ์ทางเพศของมหาวิทยาลัยอาริโซนา และหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้ป่วยพาร์กินสัน วัสดุและวิธีการ :การศึกษาในคนไข้โรคพาร์กินสันจำนวน 60 ราย และคนที่ไม่ได้เป็นโรคพาร์กินสันจำนวน 60 ราย ที่มาเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกในคลินิกโรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติและคลินิกอายุรกรรม คลินิกตรวจสุขภาพ และคลินิกเวชศาสตร์ผู้สูงอายุโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยผู้เข้าร่วมการศึกษาทุกรายจะทำแบบสอบถามประสบการณ์ทางเพศของมหาวิทยาลัยอาริโซนาซึ่งมีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ในการประเมินภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้ป่วยพาร์กินสันเพื่อหาความชุกของการเกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และได้รับการประเมินสภาพสมองและประเมินภาวะซึมเศร้าด้วยแบบประเมินที่เป็นมาตรฐานร่วมกับได้รับการตรวจเลือดเพิ่มเติมเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงของภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ผลการศึกษา : จากผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 120 ราย แบ่งเป็นคนไข้โรคพาร์กินสันจำนวน 60 ราย และคนที่ไม่ได้เป็นโรคพาร์กินสันจำนวน 60 ราย และมีอายุเฉลี่ยที่ 57.33 ปี (SD =7.88) และ 54.57 ปี (SD = 7.70 ) ตามลำดับ โดยไม่พบมีความแตกต่างกันของอายุและคะแนนจากการประเมินสภาพสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างสองกลุ่ม แต่พบว่าค่าดัชนีมวลกาย, คะแนนที่ได้จากการทำแบบประเมินภาวะซึมเศร้า และ จำนวนครั้งของการมีเพศสัมพันธ์ต่อเดือน มีความแตกต่างระหว่างสองกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) จากการใช้แบบประเมินประสบการณ์ทางเพศของมหาวิทยาลัยอาริโซนาพบคนไข้พาร์กินสันมีภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศจำนวน 49 ราย (คิดเป็นร้อยละ 81.6) และ คนที่ไม่เป็นพาร์กินสันที่มีภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศจำนวน 29 ราย (คิดเป็นร้อยละ 48.3 ) โดยพบว่าการไม่มีเพศสัมพันธ์ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา และการพบความผิดปกติจากแบบประเมิน UPDRS ส่วนที่ 1 เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้ป่วยพาร์กินสัน สรุป : ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศเป็นอาการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้มากและพบมักร่วมกับภาวะซึมเศร้า จึงมีความจำเป็นที่แพทย์จำเป็นต้องสืบค้นภาวะดังกล่าว ร่วมกับหาปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบหรืออาจพบร่วมกับการเกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน เพื่อใช้ในการพยากรณ์หรือใช้ในการป้องกันการเกิดภาวะดังกล่าวในอนาคตen_US
dc.description.abstractalternativeIntroduction : Although sexual dysfunction (SD) is a common non-motor manifestation of Parkinson's disease (PD), the assessment is quite limited due to cultural issues. Objective : To determine the prevalence of sexual dysfunction (SD) by using the Arizona Sexual Experiences Scale - Thai Version (ASEX-Thai) and assess risk factors of SD among Thai PD patients. Method : A total of 120 participants were recruited into the study (60 PD patients and 60 controls). All of them answered the ASEX-Thai questionnaire, which is a self-administered questionnaire asking about sexual function, Hamilton Depression Rating Scale (HAMD) for identifying depression and were checked for serum hormonal level, renal function, blood sugar, blood count and uric acid level. Result : The prevalence of sexual dysfunction in PD patients and control are 81.6% and 48.3% respectively (P<0.05). Parkinson’s patients had significantly lower body mass index (BMI), higher HAMD score and lower number of sexual intercourse per month (P<0.001). We conducted the binary logistic regression analysis to determine the factor that would be predicted the sexual dysfunction and we found that the absence of sexual intercourse in the past month and presence of cognitive problem determined by UPDRS part 1 could be predicted the sexual dysfunction. Conclusion: Sexual dysfunction is common non-motor symptoms in Thai PD patients and usually occurred with depression. The absence of sexual intercourse in the past month and presence of cognitive problem determined by UPDRS part 1 could be predicted the sexual dysfunction among Thai PD patients.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.984-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
dc.subjectผู้ป่วย
dc.subjectโรคพาร์กินสัน
dc.subjectImpotence
dc.subjectPatients
dc.subjectParkinson's disease
dc.titleความชุกของการเกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้ป่วยพาร์กินสันเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่เป็นโรคพาร์กินสัน ประเมินโดยแบบสอบถามประสบการณ์ทางเพศของมหาวิทยาลัยอาริโซนาen_US
dc.title.alternativePrevalence of Sexual Dysfunction in Parkinson’s Disease Patients Compare To Non-Parkinson’s Disease Patients Evaluated By Arizona Sexual Experiences Scaleen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected]en_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.984-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5574186130.pdf2.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.