Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43511
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปิยะรัตน์ โตสุโขวงศ์ | en_US |
dc.contributor.advisor | พิสิฏฐ์ ประพันธ์วัฒนะ | en_US |
dc.contributor.author | ธนิดา จิระมงคลศิริ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-06-24T06:38:58Z | |
dc.date.available | 2015-06-24T06:38:58Z | |
dc.date.issued | 2556 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43511 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | บทนำ: อุบัติการณ์การเกิดโรคนิ่วไตเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก และมีอัตราการกลับเป็นซ้ำสูง ในปัจจุบันยังไม่มีสารทางชีวภาพใดที่ช่วยบ่งชี้ระดับการอักเสบและความเสี่ยงในการเกิดนิ่วซ้ำ ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาระดับการเติมหมู่เมทิลทั้งจีโนมในดีเอ็นเอเม็ดเลือดขาว ภาวะอักเสบ ภาวะเครียดจากออกซิเดชันและเมแทบอไลท์ในปัสสาวะของผู้ป่วยโรคนิ่วไตเทียบกับคนปกติ และศึกษาผลของยาสูตรมะนาวผง (LPR) ต่อระดับการเติมหมู่เมทิลทั้งจีโนมและภาวะอักเสบ ระเบียบวิธีวิจัย: ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 100 ราย ประกอบด้วยผู้ป่วยโรคนิ่วไต (Renal stone patients; RSP) จำนวน 50 รายและกลุ่มควบคุมจำนวน 50 ราย (Control) ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการเจาะเลือดและเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมง โดยเก็บครั้งเดียวในกลุ่มควบคุม (Control group: 50 คน) และสามครั้งในกลุ่ม RSP ประกอบด้วย ระยะก่อนผ่าตัดนำนิ่วออก (RS group: 50 คน) ระยะหลังผ่าตัดนำก้อนนิ่วออกและก่อนรับสูตรมะนาวผง (LPR0 group: 36 คน) และระยะหลังได้รับยาสูตรมะนาวผงเป็นระยะเวลา 6 เดือน (LPR6 group: 36 คน) จากนั้นทำการวิเคราะห์ระดับร้อยละ 5-methylcytosine (5-mC%) ของ DNA ในเม็ดเลือดขาว ตรวจวัดระดับ protein carbonyl ในพลาสมา และตรวจวัดระดับ IL-8 ครีเอตินิน สารต้านอนุมูลอิสระโดยรวม (TAS) ซิเทรตออกซาเลต กรดยูริก และโปรตีนในปัสสาวะ ผลการวิจัย: RS มีระดับ 5-mC%, IL-8, protein carbonyl, ออกซาเลต, กรดยูริก และโปรตีน สูงกว่า Control อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001, p<0.001, p=0.015, p<0.001, p<0.001 และ p=0.022 ตามลำดับ) และมีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระโดยรวม และซิเตรทในปัสสาวะ ต่ำกว่า control (p<0.001) และพบว่าระดับ 5-mC% มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ IL-8 (r=0.378, p<0.001) ในขณะที่ทั้ง 5-mC% และ IL-8 มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับออกซาเลต กรดยูริกและโปรตีน และมีความสัมพันธ์เชิงลบกับ TAS และซิเตรทอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ การศึกษาผลของยาสูตรมะนาวผงต่อระดับการเติมหมู่เมทิลทั้งจีโนมและภาวะอักเสบ พบว่า LPR6 มีระดับ 5-mC% และระดับ IL-8 ต่ำกว่า LPR0 อย่างมีนัยสำคัญ (p=0.014 และ p=0.005 ตามลำดับ) เมื่อวิเคราะห์คุณค่าทางการวินิจฉัยของตัวบ่งชี้ระดับการเติมหมู่เมทิลทั้งจีโนมและภาวะอักเสบ พบว่า 5-mC% มีค่า AUC เท่ากับ 0.8155 (95% CI; 0.7110-0.8870) ที่ค่า cutoff 0.5% มีค่า sensitivity เท่ากับ 68.00% และค่า specificity เท่ากับ 74.00% สำหรับ IL-8 มีค่า AUC เท่ากับ 0.9514 (95% CI; 0.9408-1.000) ที่ค่า cutoff 247.1 pg/mg Cr มีค่า sensitivity เท่ากับ 94.00% และค่า specificity เท่ากับ 92.00% สรุปผลการวิจัย: รายงานนี้เป็นรายงานการศึกษาแรกเกี่ยวกับระดับการเติมหมู่เมทิลทั้งจีโนมในผู้ป่วยโรคนิ่วไต ซึ่งพบว่ามีระดับที่สูงเมื่อเทียบกับคนปกติ และสัมพันธ์กับตัวบ่งชี้การอักเสบ IL-8 ในปัสสาวะ ข้อมูลวิจัยนี้ชี้แนะว่าการตรวจวัดระดับการเติมหมู่เมทิลทั้งจีโนมและการวัดปริมาณ IL-8 น่าจะใช้เป็นตัวบ่งชี้เพิ่มเติมเพื่อติดตามโรคนิ่วไตกลับเป็นซ้ำได้ และอาจมีประโยชน์ในการช่วยติดตามผลการรักษาโรคนิ่วไตในอนาคต | en_US |
dc.description.abstractalternative | Introduction: Renal stone disease is an emerging disease worldwide, with high recurrent rate. However, no biomarker can be used for evaluate the risk of stone recurrence. We investigated leukocyte global DNA methylation, urinary inflammation, oxidative stress and metabolites in renal stone patients, and the effect of Lime Powder Regimen (LPR) on global DNA methylation levels and inflammation. Methods: One hundred participants, including 50 renal stone patients (RSP) and 50 healthy controls (Control group) were enrolled. Blood and 24-hour urine were collected once in Control group, and three times in RSP, including pre-operative period (RS group), post-operative and before-LPR treatment (LPR0 group), and after treatment with LPR for 6 months (LPR6). The percentage of 5-methylcytosine levels (5-mc%) in leukocyte DNA, levels of plasma protein carbonyl, levels of urinary IL-8, creatinine, total antioxidant status (TAS), citrate, oxalate, uric acid and protein were measured. Results: The 5-mC%, IL-8, protein carbonyl, oxalate, uric acid, and protein were significantly higher in RS group than Control group (p<0.001, p<0.001, p=0.015, p<0.001, p<0.001 and p=0.022, respectively), while the TAS and urinary citrate were lower (p<0.001). We found the positive correlation between 5-mC% and IL-8 (r=0.378, p<0.001), as well as the positive correlation between 5-mC% and IL-8 with the urinary oxalate, uric acid and protein, and the negative correlation with urinary TAS and citrate. In addition, the study about the effect of LPR on global DNA methylation and inflammation, we found that LPR6 had significant lower levels of 5-mC% and IL-8 than LPR0 (p=0.014 and p=0.005, respectively). In the aspect of Receiver Operating Characteristic (ROC) curve analysis, the AUC of 5-mC% on renal stone disease was 0.8155 (95% CI; 0.7110-0.8870) at the cutoff point of 0.5%, with the sensitivity of 68.00% and specificity of 74.00%. While the AUC of IL-8 on renal stone disease was 0.9514 (95% CI; 0.9408-1.000) at the cutoff point of 247.1 pg/mg creatinine, with the sensitivity of 94.00% and specificity of 92.00%. Conclusion: This was the first report to demonstrate the level of leukocyte global DNA methylation in renal stone patients which was higher than healthy controls, and positively associated with urinary IL-8. Our data suggested that the levels of global DNA methylation and urinary IL-8 could be used as a biomarker for recurrent renal stone disease, and the measurement of global DNA methylation and urinary IL-8 might be useful for RSP follow-up. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.989 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | นิ่ว | |
dc.subject | สารสกัดจากพืช | |
dc.subject | จีโนมมนุษย์ | |
dc.subject | Calculi | |
dc.subject | Plant extracts | |
dc.subject | Human genome | |
dc.title | การศึกษาดีเอ็นเอเมทิลเลชันทั้งจีโนมในเซลล์เม็ดเลือดขาวและผลของการรักษาด้วยมะนาวผงในผู้ป่วยโรคนิ่ว | en_US |
dc.title.alternative | GLOBAL DNA METHYLATION IN PERIPHERAL BLOOD CELL AND THE EFFECT OF LIME POWDER REGIMEN IN UROLITHIASIS PATIENT | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | ชีวเคมีทางการแพทย์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | [email protected] | en_US |
dc.email.advisor | [email protected] | |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2013.989 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5574200230.pdf | 2.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.