Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4369
Title: การศึกษาสมรรถนะทางด้านการประวิงเวลาของระเบียบวิธีการจองช่องสัญญาณในระบบสื่อสารไร้สายความเร็วสูง
Other Titles: Study of delay performance of channel reservation algorithms in high speed wireless communication systems
Authors: ชัยรัตน์ นิติยารมย์
Advisors: ลัญฉกร วุฒิสิทธิกุลกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: โปรโตคอลเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบสื่อสารไร้สาย
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ นำเสนอการศึกษาสมรรถนะทางด้านประวิงเวลา และปรับปรุงสมรรถนะเพื่อลดการประวิงเวลาของระเบียบวิธีการจองช่องสัญญาณในระบบสื่อสารไร้สายที่ใช้ 7 วิธี ได้แก่ CFP, CAP, COP, COP+SPL, CFP+SPL, UNI และ UNI+LA โดยทั้ง 7 วิธีได้รับการออกแบบสำหรับกรณีที่การประวิงเวลาการแพร่กระจายครบรอบ (Round-Trip Propagation Delay) ยาวกว่าเวลาประวิงการส่งสัญญาณ (Transmission Delay) ในระบบที่สามารถรับทราบข้อมูลจำนวนผู้ใช้บริการและจำนวนสล็อตการจองโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จำลองในการทดสอบ จากการประเมินสมรรถนะของระบบในแต่ละวิธี ปรากฎว่าจำนวนสล็อตการจองต่อเฟรมเป็นพารามิเตอร์ที่สำคัญกับระบบ เพราะจำนวนสล็อตการจองต่อเฟรมที่เหมาะสมจะทำให้เวลาประวิงมีค่าน้อยที่สุดเมื่อมีจำนวนผู้ใช้บริการที่ต่างกัน จากการเปรียบเทียบทั้ง 7 วิธีปรากฏว่าวิธี COP+SPL ให้ค่าเวลาประวิงในช่วงการจองต่ำที่สุด เนื่องจากจำนวนสล็อตการจองต่อเฟรมเป็นพารามิเตอร์ที่สำคัญกับระบบ ดังนั้นงานวิจัยฉบับนี้ได้นำเสนอระบบที่สามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสล็อตต่อเฟรม ทำให้สมรรถนะในช่วงการจองมีค่าเพิ่มขึ้นในวี UNI และ COP+SPL ใน 2 กรณีได้แก่ กรณีระบบสามารถรับทราบข้อมูลจำนวนผู้ใช้บริการตอนต้นเฟรม และ กรณีที่ระบบจะทำการประเมินผู้ใช้บริการจากผลการร้องขอของผู้ใช้บริการ โดยในกรณีแรกพบว่าสามารถเพิ่มสมรรถนะในช่วงเวลาประวิงได้ทั้ง UNI และ COP+SPL และในกรณีหลังสามารถเพิ่มสมรรถนะให้วิธี UNI ซึ่งการปรับเปลี่ยนจำนวนสล็อตต่อเฟรมกรณีนี้มีความซับซ้อนน้อยที่สุดเหมาะกับการใช้ทางปฏิบัติ
Other Abstract: This thesis presents a performance evaluation study of 7 channel reservation schemes namely CFP, CAP, COP, COP+SPL, CFP+SPL UNI and UNI+LA in terms of average delay time per packet for systems with relatively long round trip propagation delay time. Based on Monte Carlo Computer simulations, results, indicate that the number of request slots per frame is an important factor impacting the delay performance of the system, i.e. appropriate number of slots for frame needs to be carefully set to suit different traffic load conditions to achieve minimal delay. It is clear the channel reservation scheme with high throughput performance will also offer low delay. When comparing amongst all schemes it is found that the COP+SPL scheme is the most efficient with respect to delay as wellas throughput performance. In addition, this thesis further investigates the possibilities of applying an adaptive frame technique to improve the delay performance of UNI and COP+SPL schemes for systems with assumptions of both perfect and partial knowledge of the number of remaining users at the start of each frame. Simulation results reveal that with perfect knowledge of remaining users delay performance can be noticeably improved for both schemes. However, with partial knowledge of remaining users system delay performance gain exists only for UNI.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4369
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1481
ISBN: 9741753225
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.1481
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chairat_n.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.