Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43748
Title: การสร้างเสริมทุนชุมชนผ่านการเรียนรู้จากการสร้างสื่อศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
Other Titles: THE ENHANCEMENT OF COMMUNITY CAPITAL THROUGH THE LEARNING OF LOCAL ART AND CULTURAL MEDIA PRODUCTION
Authors: ณัฐวดี ใจแสวงทรัพย์
Advisors: อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ทรัพยากรมนุษย์
การสื่อสารกับวัฒนธรรม
มนุษย์กับวัฒนธรรม
Human capital
Communication and culture
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัจจัยเงื่อนไขการเรียนรู้ในการสร้างเสริมทุนชุมชน 2) วิเคราะห์การเรียนรู้จากการสร้างสื่อศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อสร้างเสริมทุนชุมชน 3) นำเสนอแนวทางการสร้างเสริมทุนชุมชนผ่านการเรียนรู้จากการสร้างสื่อศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากชุมชนที่มีการสร้างสื่อศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง จำนวน 22 ชุมชน มีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 407 คน จากนั้นนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS FOR WINDOW นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาจากชุมชนที่มีทุนชุมชนสูงจากการสร้างสื่อศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น คือ ชุมชนโคกสลุง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี โดยทำการสัมภาษณ์คนในชุมชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างสื่อศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น จำนวน 6 คน สนทนากลุ่ม (focus group) กับผู้ริเริ่ม แกนนำชุมชน ครู ครูภูมิปัญญา และเยาวชน ในชุมชน จำนวน 12 คน รวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับเยาวชน แกนนำชุมชน ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู ครูภูมิปัญญา จำนวน 7 คน เพื่อนำผลมาวิเคราะห์เนื้อหาและสรุปเป็นแนวทางการสร้างเสริมทุนชุมชนผ่านการเรียนรู้จากการสร้างสื่อศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ผลการวิเคราะห์พบว่า 1) สภาพการเรียนรู้การสร้างเสริมทุนชุมชน ชุมชนมีการเรียนรู้ทักษะการสื่อสารมากที่สุด เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ โดยมีแหล่งเรียนรู้สำคัญคือ สถานศึกษา ปัจจัยการเรียนรู้ที่สำคัญ คือ บุคลากร ที่มีความร่วมมือในชุมชนจากทุกภาคส่วน 2) การเรียนรู้จากการสร้างสื่อศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อสร้างเสริมทุนชุมชน พบว่า การเรียนรู้การสร้างสื่อศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นจะช่วยสร้างเสริมทุนชุมชนด้านทุนสังคมมากที่สุด เมื่อพิจารณาจำแนกตามช่วงการเรียนรู้การสร้างสื่อศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น พบว่า ช่วงการเตรียมการเป็นช่วงที่สามารถสร้างเสริมทุนมนุษย์มากที่สุด ช่วงการดำเนินการสร้างเสริมทุนวัฒนธรรมมากที่สุด และช่วงการประเมินผลและเผยแพร่สร้างเสริมทุนสถาบันครอบครัวมากที่สุด และ 3) แนวทางการสร้างเสริมทุนชุมชนผ่านการเรียนรู้จากการสร้างสื่อศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เมื่อจำแนกในแต่ละด้าน พบว่า แนวทางในการสร้างเสริมทุนชุมชนทั้ง 5 ด้าน ควรมีการจัดกิจกรรมสำคัญ ดังนี้ 3.1) ทุนมนุษย์ ควรมีการจัดกิจกรรมที่ลงมือปฏิบัติจริง 3.2) ทุนสถาบันครอบครัว ควรสร้างสัมพันธภาพที่ดีจากการให้กำลังใจและการสนับสนุนในการทำกิจกรรมร่วมกัน 3.3) ทุนวัฒนธรรม ควรจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมในการเรียนการสอนของโรงเรียน 3.4) ทุนกิจกรรม ควรจัดเวทีสาธารณะเพื่อเป็นพื้นที่ในการแสวงหาเป้าหมายของชุมชนร่วมกัน และ 3.5) ทุนสังคม ควรจัดให้มีลานวัฒนธรรมของชุมชนเพื่อสร้างพื้นที่การสร้างสื่อศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ในการลดช่องว่างระหว่างวัย
Other Abstract: This research is a quantitative and qualitative research. The objectives are 1) to study the characteristic and condition factors for learning of enhancement of community capital, 2) to analyze the learning of local art and cultural media production for enhancement of community capital, 3) proposes an approach to enhancement of community capital through the learning of local art and cultural media production. Using questionnaires to collect information from the 22 communities with the continuously creation of local art and cultural media (407 peoples). Then the statistical analysis with the computer program SPSS FOR WINDOW addition, researchers have studied the community with high social capital from the local art and cultural media product for example Khok Salung community, Phatthana Nikhom District, Lopburi province. By interviewing people in the community who are involved with the creation of local art and cultural media for 6 persons. Focus group with those initiatives with 12 community leaders, teachers, wisdom and youth in the community, as well as in-depth interviews 7 youth leaders, community school director, teachers. After analysis and conclude for guide enhancement of community capital through the local art and cultural media product. The analysis found that 1) the learning characteristic of community capital enhancement. Community learning communication skills the most. The self-learning is the most common. They learned from school. People characteristic is the learning factor. 2) Analysis of learning from local art and cultural media production for enhancement of community capital found that learning from local art and cultural media production most effect the enhancement of community capital in term social capital. Considering the learning period by local art and cultural media production, showed that the preparation period enhance human capital the most, during work period enhance culture capital the most. And the evaluation and dissemination period enhance family capital the most. 3) The approach to enhancement of community capital through the learning of local art and cultural media production separating each side (five side), we recommend to: 3.1) human capital; should do activity that has embarked into practice, 3.2) family Capital; build a good relationship from the encouragement and support of the activities together, 3.3) cultural capital; should do cultural activity in the school class, 3.4) activity capital; activates by the public event that can bring people together and finding a common goal of community, 3.5) social capital; comes from organizing cultural events to participate in community activities and reduce the age gap by using local art and cultural media product.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พัฒนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43748
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1206
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1206
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5383332727.pdf10.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.