Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43791
Title: | การกำหนดความผิดทางอาญาเพื่อคุ้มครองสาธารณสถานและสถานที่สำคัญ |
Other Titles: | CRIMINALIZATION TO PROTECT PUBLIC PLACES AND IMPORTANT PLACES |
Authors: | วรทัศน์ เผือกกรุต |
Advisors: | ชัชพล ไชยพร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ความผิดทางอาญา การบุกรุก Mistake (Criminal law) Trespass |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การบุกรุกเป็นความผิดที่กำหนดขึ้นจากการกระทำที่ไม่เหมาะสมในสังคม ความผิดฐานบุกรุกที่มีการบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองสิทธิการครอบครองของเอกชน จึงทำให้ไม่ครอบคลุมต่อการกระทำความผิดบางลักษณะ เช่น การเข้าไปในที่สาธารณสถานโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ยอมออกจากที่สาธารณสถานเมื่อมีคำบอกกล่าวจากผู้ดูแลให้ออกไปจากสถานที่นั้น ซึ่งเมื่อพิจารณาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกระทำความผิดในที่สาธารณสถานย่อมก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลประโยชน์ของสาธารณะในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบในมิติด้านความมั่นคง ในมิติด้านความสงบเรียบร้อยของประชาชน ในมิติด้านเศรษฐกิจ ตลอดจนในมิติด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งล้วนแต่เป็นการก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมเป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ดี การนำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาเรื่องการบุกรุกมาใช้บังคับกับที่สาธารณสถานอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งกันระหว่างแนวคิดทางกฎหมายระหว่าง การคุ้มครองประโยชน์ของสิทธิการครอบครองของเอกชน กับสิทธิของสาธารณชนในการใช้ที่สาธารณสถาน นอกจากนี้ อัตราโทษสำหรับการกระทำความผิดฐานบุกรุกยังอยู่ในระดับต่ำ กล่าวคือ เป็นโทษจำคุกระยะสั้น ซึ่งไม่เหมาะสมกับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับที่สาธารณสถาน ทั้งยังไม่สามารถป้องปรามการกระทำความผิดในสังคมปัจจุบันที่มีลักษณะการกระทำแตกต่างไปจากความผิดฐานบุกรุกที่มีอยู่เดิม จากการศึกษาพบว่า ประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ โรมาเนีย และเยอรมนี มีการกำหนดความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองสาธารณสถาน และสถานที่สำคัญ โดยมีการกำหนดให้การเข้าไปในที่สาธารณสถานโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ยอมออกจากที่สาธารณสถานเมื่อมีคำบอกกล่าวจากผู้ดูแลให้ออกไปเป็นความผิด เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกามีการกำหนดความผิดเกี่ยวกับการบุกรุกที่สาธารณสถานที่สำคัญเป็นความผิดที่ต้องรับโทษมากกว่าการบุกรุกทั่วไป วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงทำการศึกษา วิเคราะห์กฎหมายของประเทศดังกล่าว เพื่อเสนอแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา อันจะทำให้เกิดความเหมาะสมกับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำความผิดในที่สาธารณสถาน ทั้งยังช่วยให้สามารถป้องปรามการกระทำความผิดที่มีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปในสภาพสังคมปัจจุบันได้อีกด้วย |
Other Abstract: | Trespass has development from an improper action in the society. The offenses of trespass in the Criminal Code has an intention and purpose to protect the possession right of the individual. So, the Criminal Code can not apply to some wrongful act, such as entering unlawfully or remaining without constitutional rights in the public place, which some place is a critical public place, that cause the serious harm to the public order, the economic interests, or cause the bad reputations to the foreign relationships. However, The offenses of trespass in the Criminal Code is not appropriate for the public place because of the difference in concept of the intention and purpose of laws. Moreover, Thai laws that related the offenses of trespass still have a minimal penalty, that can not deterrent the offenders and can not prevent other crimes. Results from the study showed that criminal laws in several countries such as the United States, England, Romania and Germany have enacted specific provisions to protect public places and important places, by criminalization for the entering unlawfully or remaining without constitutional rights in the public place. i.e. the United States has enacted aggravated criminal liability for the entering unlawfully or remaining without constitutional rights in the public place. Therefore, this thesis proposes to study and analyse the criminal trespass laws of these countries in order to find a suggestion for amendment the Criminal Code of Thailand. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43791 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1260 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.1260 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5386048034.pdf | 2.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.