Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43817
Title: | การปรับปรุงคุณภาพในกระบวนการผลิตแท็งก์สำหรับสารเคมี |
Other Titles: | QUALITY IMPROVEMENT IN CHEMICAL TANK PRODUCTION |
Authors: | วรพร นาคประสงค์ |
Advisors: | จิตรา รู้กิจการพานิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | สารเคมี -- การขนส่ง ถัง การควบคุมกระบวนการผลิต Tanks Process control |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | แท็งก์บรรจุวัตถุอันตรายมีความสำคัญต่อความปลอดภัยในการขนส่ง แท็งก์ต้องมีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐาน ผ่านการทดสอบจากหน่วยงานตรวจสอบและได้รับการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานของรัฐ จากการศึกษากระบวนการผลิตแท็งก์ของโรงงานกรณีศึกษาแห่งหนึ่ง พบว่าในกระบวนการผลิตเกิดข้อบกพร่องแท็งก์ไม่ผ่านการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย (Non-Destructive Testing, NDT) เป็นสัดส่วนที่สูง 53.83 เปอร์เซ็นต์ (ข้อมูลการผลิตแท็งก์ ปีพ.ศ. 2555) ส่งผลให้แท็งก์ที่ผลิตได้ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงคุณภาพในกระบวนการผลิตแท็งก์ การดำเนินการวิจัยมีดังนี้ 1) การศึกษามาตรฐานข้อกำหนดการผลิตแท็งก์บรรจุสารเคมีอันตราย 2) การระดมสมองเพื่อค้นหาสาเหตุของข้อบกพร่องโดยใช้ผังแสดงเหตุและผล (Cause-and-Effect Diagram) 3) การประยุกต์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบ (FMEA) เพื่อคำนวณดัชนีความเสี่ยงชี้นำ (RPN) 4) การกำหนดวิธีการและดำเนินการปรับปรุงคุณภาพ และ 5) การประเมินและติดตามผลภายหลังการปรับปรุง ผลการดำเนินการวิจัยพบว่า สาเหตุของข้อบกพร่องที่มีค่า RPN สูง มีทั้งหมด 4 ข้อบกพร่อง ได้แก่ (1) ชนิดแผ่นโลหะไม่ตรงตามต้นแบบ (2) เนื้อเชื่อมไม่ได้คุณภาพ (3) ผิวแนวเชื่อมมีรอยแตก และ (4) เตรียมอุปกรณ์ติดตั้งไม่ตรงตามต้นแบบ จึงทำการปรับปรุงคุณภาพกระบวนการผลิตโดย 1) การพัฒนาแผนคุณภาพ (quality plan) 2) การจัดทำเอกสารการตรวจสอบการทำงาน 3) การจัดทำเอกสารการตรวจสอบข้อบกพร่อง 4) การสร้างตารางทักษะ (skill matrix) ของช่างเชื่อม และ 5) การสร้างระบบการฝึกอบรมช่างเชื่อม ผลการปรับปรุงคุณภาพ พบว่า สัดส่วนข้อบกพร่องจาก 1) การเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ลดลง 58.92 เปอร์เซ็นต์ 2) ข้อบกพร่องเนื้อเชื่อมไม่ได้คุณภาพลดลง 35.49 เปอร์เซ็นต์ และ 3) ข้อบกพร่องบนผิวแนวเชื่อมลดลง 16.27 เปอร์เซ็นต์ จากสัดส่วนข้อบกพร่องที่ลดลงดังกล่าว ส่งผลให้สัดส่วนของแท็งก์ที่ไม่ผ่านการทดสอบ NDT ลดลง 37.50 เปอร์เซ็นต์ |
Other Abstract: | Chemical storage tanks play an important role in transport safety. Chemical tanks shall conform to technical standard requirements, verified by an inspection body and also certified by the Department of Industrial Works. Regarding a case study from a factory, found the high proportion of tanks about 53.83 % that did not pass the Non-Destructive Testing (NDT) that caused tanks did not conform to technical standard requirements. So, the objective of this study was to improve quality in the chemical tank production. The procedure started from 1) studying standard requirements of chemical tank production, 2) brainstorming to search for causes of defects via Cause-and-Effect Diagram, 3) using FMEA techniques and calculating the Risk Priority Number (RPN) to screen significant causes, 4) setting up methods and implementing to improve tanks’ quality, and 5) evaluating and monitoring the concluded results. The result from this study revealed 4 defects having high RPN. Those were 1) incorrect type of metal, 2) low quality of weld bead, 3) weld bead cracking, and 4) incorrect preparation of tank parts. Above all, the improvements were concluded as 1) development of quality plan, 2) preparation of Check Sheets, 3) preparation of welding defects’ Check Sheet, 4) creation of welders’ skill matrix, and 5) development of welders’ training system. The results of their quality improvement were the proportion of defects of 1) incorrect preparation of tank parts could be decreased by 58.92%, 2) low quality of weld bead could be decreased by 35.49%, and 3) weld bead cracking could be decreased 16.27%. From these results, the proportion of tanks not passing the NDT Test at first was able to be decreased by 37.50 %. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43817 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1274 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.1274 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5470352121.pdf | 10.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.