Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43834
Title: การวัดสัดส่วนศีรษะเพื่อการออกแบบหมวกนิรภัยในเด็กก่อนวัยเรียน
Other Titles: HEAD ANTHROPOMETRY FOR PRESCHOOL PROTECTIVE HELMET DESIGN
Authors: มาลินี ลีลัคนาวีระ
Advisors: ไพโรจน์ ลดาวิจิตรกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ความปลอดภัยในท้องถนน
อุบัติเหตุ -- การป้องกัน
Traffic safety
Accidents -- Prevention
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัญหาเรื่องความปลอดภัยในเด็กเล็กในการเดินทางโดยรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย ส่วนหนึ่งเกิดจากการไม่สวมหมวกนิรภัย ซึ่งสาเหตุเกิดจากหมวกนิรภัยในท้องตลาดนั้นขนาดและรูปทรงไม่เหมาะสมกับเด็กเล็ก งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาข้อมูลขนาดสัดส่วนของศีรษะเด็กที่จำเป็นต่อการออกแบบหมวกนิรภัยการวัดสัดส่วนใดที่จำเป็นต่อการออกแบบ และได้เก็บตัวอย่างรูปถ่ายเด็กนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นตัวแทนเด็กอายุ 3 ถึง 6 ปี จำนวนทั้งสิ้น 278 คน ซึ่งได้ข้อมูลขนาดสัดส่วนศีรษะจากภาพถ่ายทั้งหมด 15 สัดส่วน เมื่อพิจารณารูปทรงศีรษะเด็กเล็กกับหมวกนิรภัยในท้องตลาดพบว่ามีเด็กเพียง 9% เท่านั้นที่สามารถสวมใส่หมวกนิรภัยได้พอดี 44% เกิดความไม่กระชับทางด้านขมับซ้ายและขวา และ อีก 47% ไม่สามารถสวมใส่หมวกนิรภัยได้เนื่องจากศีรษะมีขนาดเล็กเกินไป ผลจากการศึกษาทำให้ทราบว่ารูปทรงศีรษะเด็กเปลี่ยนแปลงความกว้างขึ้นตามอายุมากกว่าความยาว ดังนั้นการออกแบบหมวกนิรภัยให้ปลอดภัยสำหรับเด็กเล็กนั้นจะต้องทำการปรับปรุงทั้งขนาดซึ่งใหญ่เกินไปและรูปทรงกว้างเกินไปสำหรับศีรษะเด็กเล็ก ซึ่งข้อมูลสัดส่วนศีรษะซึ่งใช้สำหรับออกแบบหมวกนิรภัยนั้นสามารถพยากรณ์ได้จากสมการถดถอยเชิงเส้นโดยใช้ข้อมูลพื้นฐานคือน้ำหนัก,ส่วนสูง, อายุ และ เส้นรอบศีรษะ ทำนายร่วมกับสัดส่วนหลักของศีรษะคือ ความยาวศีรษะ และ ความกว้างศีรษะ เป็นตัวแปรต้น เปรียบเทียบกับการใช้เพียงข้อมูลพื้นฐานเป็นตัวแปรต้นในการทำนาย ผลปรากฏว่าการใช้ข้อมูลพื้นฐานในการทำนายมีสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ น้อยกว่าการทำนายด้วยข้อมูลพื้นฐานร่วมกับสัดส่วนหลักของศีรษะเพียงเล็กน้อย ดังนั้นเพื่อความสะดวกในการใช้งานข้อมูลการใช้เพียงข้อมูลพื้นฐานในการทำนายสามารถทำได้โดยผู้ใช้งานควรจะพิจารณาสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ และค่าความคลาดเคลื่อนจากการทำนายข้อมูลที่ต้องการนำไปประยุกต์ใช้
Other Abstract: One of the accidents that children often experience on the road is due to riding motorcycles in an unsafe manner. Children who do not wear a protective helmet when riding a motorcycle are in one of the highest risk groups. One reason for this happening is that there is no suitable protective helmet designed specifically for children. Images of the heads of 278 young children from 3-6 years of age were studied. There were 15 dimensions of children’s head were measured to identify the head shape and to find out the relationship of dimension with basic data of children such as weight and height. The results showed that the head shape of only 9 percent of young children who would fit the current protective helmet design in the market. 44 percent of young children would not fit the protective helmet at the left and the right side. In addition 50 percent of them would not be able wear the protective helmet since their head is too small. It was found from this research that young children's heads become wider as they grow up. As a result, this research demonstrates that young children require a uniquely designed protective helmet to provide them with adequate protection when traveling on motorcycles. To create the suitable and safety protective helmet for young children, the design should be improved both of shape and size according to the result of this research. The study data can be used for helmet design by considering the R square, residual errors from linear regression.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43834
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1291
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1291
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5471069821.pdf6.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.