Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43940
Title: การเปลี่ยนแปลงภาวะดื้อต่ออินซูลินในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีร่วมกับไวรัสตับอักเสบซี และผู้ป่วยเอชไอวีในช่วงระยะเวลา 6 เดือน
Other Titles: 6 MONTHS FOLLOW UP OF INSULIN RESISTANCE IN HIV WITH HEPATITIS-C CO-INFECTION AND HIV WITHOUT HEPATITIS C INFECTION
Authors: ศราวุฒิ มากล้น
Advisors: โอภาส พุทธเจริญ
อัญชลี อวิหิงสานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: ผู้ติดเชื้อเอชไอวี
ไวรัสตับอักเสบซี
อินสุลิน
HIV-positive persons
Hepatitis C virus
Insulin
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีร่วมกับไวรัสตับอักเสบซีในช่วงระยะเวลา 6เดือน เปรียบเทียบกับผู้ป่วยเอชไอวีที่ไม่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี วิธีดำเนินการ ประชากรที่ศึกษาคือผู้ป่วยเอชไอวีและ/หรือผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี จาก The HIV Netherlands Australia Thailand Research Collaboration.(HIVNAT) จากการศึกษา NCT 00411983 ที่ยังมีการตรวจติดตามในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 - มิถุนายน พ.ศ. 2556 รวม 57 คน ทำการเก็บข้อมูลระดับอินซุลินในเลือด (mU/L) และระดับน้ำตาล (mg/dL) นำมาคำนวณภาวะดื้อต่ออินซูลินโดยใช้ HOMA- IR score และทำการเก็บข้อมูลซ้ำที่ 6 เดือน รายงานผลเป็นค่าเฉลี่ยและค่ากลางตามกลุ่มประชากรที่ศึกษาคือผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อเอชไอวีร่วมกับไวรัสตับอักเสบซีเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อเอชไอวีเพียงอย่างเดียวโดยเลือกประชากรที่มีเพศ อายุ และค่าเม็ดเลือดชนิด CD4 ใกล้เคียงกัน นำมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงภาวะดื้อต่ออินซูลินที่ 6 เดือน และปัจจัยที่สงผลต่อการเพิ่มขึ้นของการดื้อต่ออินซูลิน ผลการศึกษา จำนวนประชากรที่ศึกษารวม 77 รายมาจากผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อเอชไอวีร่วมกับไวรัสตับอักเสบซีจำนวน 44 คนและผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อเอชไอวีจำนวน 51 คน ค่า HOMA-IR ตั้งต้นในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อเอชไอวีร่วมกับไวรัสตับอักเสบซีเท่ากับ1.82 (SD = 0.97) และในกลุ่มผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อเอชไอวีเท่ากับ 1.59 (SD = 1.04) ที่ 6 เดือนพบว่ามีผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อร่วมกันของไวรัสเอชไอวีและไวรัสตับอักเสบซีเท่ากับ 39 คน ค่า HOMA-IR ที่ 6 เดือนเท่ากับ 1.95 (SD = 1.18) และในกลุ่มผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อร่วมกันของไวรัสเอชไอวี 38 คน ค่า HOMA-IR ที่ 6 เดือนเท่ากับ 1.93 (SD = 1.0)ทั้งสองกลุ่มมีค่าเฉลี่ย HOMA-IR 21 คน คิดเป็นร้อยละ 55.3 และ 28 คน คิดเป็นร้อยละ 73.7 ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยะสำคัญทางสถิติที่ p = 0.043 ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของ HOMA-IR คือการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาล (p< 0.01) มี odd ratio = 12.95 การเคยได้รับยา Protease inhibitor ร่วมด้วย (p=0.027) มี odd ratio เท่ากับ 0.258 และ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีร่วมด้วย (p=0.022) มี odd ratio เท่ากับ 0.265 สรุปผลการศึกษา จำนวนการเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินโดยการใช้ค่า HOMA-IR ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีร่วมกับไวรัสตับอักเสบซีในช่วงระยะเวลา 6เดือน เปรียบเทียบกับผู้ป่วยเอชไอวีที่ไม่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบว่าการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ในขณะที่ การเคยได้รับยาต้านไวรัสสูตรที่มี Protease inhibitor ร่วมด้วยหรือการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีร่วมด้วยเป็นปัจจัยที่ช่วยลดความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญ
Other Abstract: Objective: To study the incidence of insulin resistance by HOMA-IR in patients infected with HIV and hepatitis C in the pass 6 months compared with patients HIV infection without hepatitis C Methods: Study population was patients with HIV and / or hepatitis C patients from The HIV Netherlands Australia Thailand Research Collaboration. (HIVNAT) NCT 00411983 study also monitored during January 2556 - June 2556. Total 57 patients were collected insulin level (mU / L) and fasting plasma glucose (mg / dL) which were calculated insulin resistance by using HOMA-IR score. Data were re-collected at next 6 months, reported as the mean and median demographic study of patients with infections of HIV with HCV compared with patients who were infected with HIV that matching by gender, age, and the CD4 level. Then analyzed the correlation of insulin resistance changing at next 6 months and risk factors affecting the increase of insulin resistance . Result: The study population included 77 cases of patients. Co-infection with HIV and hepatitis C were 44 patients and HIV only were 51 patients. The HOMA-IR results in co-infection with HIV and hepatitis C group was 1.82 (SD = 0.97) and in HIV only group was 1.59 (SD = 1.04). At next 6 months, co-infection with HIV and hepatitis C group only was 39 people, the HOMA-IR at 6 months was 1.95 (SD = 1.18) and HIV only group was 38, the HOMA-IR at 6 months was 1.93 (SD = 1.0).The number of patients in mean HOMA-IR increased group in co-infection with HIV and hepatitis C group were 21 patients, representing 55.3 % and hepatitis C group only were 28 patients, representing 73.7 % with statistical significant by p = 0.043. Risk factors that contribute to the increase in HOMA-IR is an increase in glucose levels (p <0.01) with odd ratio = 12.95, Protease inhibitor used (p = 0.027) with odd ratio of 0.258 and infection with hepatitis C (p = 0.022) with odd ratio of 0.265. Conclusion: The occurrence of insulin resistance by using the HOMA-IR in Co-infection with HIV and hepatitis C during a period of 6 months compared HIV only is significantly different by statistic. It was found that the increase of glucose as a risk factor , while use of protease inhibitor and hepatis C coinfection was associated with reduces the risk of increased insulin resistance.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43940
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1395
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1395
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5574162030.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.