Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43953
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา | en_US |
dc.contributor.author | ไผ่ วสยางกูร | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-06-24T06:45:56Z | |
dc.date.available | 2015-06-24T06:45:56Z | |
dc.date.issued | 2556 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43953 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะการเรียนรู้และปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันของครูในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการศึกษาบทเรียน 2) วิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ในกระบวนการศึกษาบทเรียนของกลุ่มครูที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน และ 3) ศึกษาผลของการศึกษาบทเรียนที่มีต่อการเรียนรู้และการปฏิบัติงานของครู และนักเรียน วิธีวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้ คือการวิจัยแบบกรณีศึกษา โดยมีโรงเรียนประถมศึกษา ขนาดใหญ่ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราดเป็นกรณีศึกษา แหล่งข้อมูลประกอบด้วย ครูผู้ปฏิบัติการศึกษาบทเรียน 13 คน ผู้บริหารสถานศึกษา 2 คน และครูผู้สอนในโรงเรียน 27 คน การเก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูลครอบคลุม การศึกษาเอกสาร การสังเกต การสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม และการวิเคราะห์ด้วยสถิติบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะของการเรียนรู้ของครู ใน 3 ขั้นตอนของกระบวนการศึกษาบทเรียนคือ ขั้นการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ ขั้นการปฏิบัติการสอนและการสังเกตการสอน และขั้นการอภิปรายผลและการสะท้อนกลับ มีดังนี้ ครูได้เรียนรู้จากเพื่อนครูในเรื่องการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้แบบ 5 ขั้นตอน รวมทั้งการใช้สื่อและเทคนิคการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนที่มีประสิทธิภาพ ครูเกิดความตระหนักถึงประโยชน์ของการทำงานร่วมกันและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเพื่อนครู ส่วนลักษณะปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูในทั้ง 3 ขั้นตอน เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบการเกื้อกูล การสื่อสารทางบวกเพื่อให้กำลังใจ และชี้แนะซึ่งกันและกันแบบสองทิศทางโดยครูแต่ละคนในกลุ่มต่างเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับการชี้แนะ เพื่อการพัฒนางานวิชาการร่วมกัน 2) การปฏิสัมพันธ์ในกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มครูที่มีอายุแตกต่างกัน มีลักษณะต่างช่วยเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่กันและกัน ครูผู้ใหญ่ได้เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย ในขณะที่ครูผู้เยาว์ได้เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ในการบริหารจัดการชั้นเรียน และการดูแลนักเรียน กลุ่มครูที่สอนในกลุ่มสาระที่แตกต่างกันให้ความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวิธีและเทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ส่วนกลุ่มครูที่สอนระดับชั้นเดียวกัน ต่างได้ช่วยกันเรียนรู้ข้อมูลเชิงลึกของนักเรียนได้อย่างมีคุณค่า 3) ผลของการศึกษาบทเรียนช่วยให้ครูได้พัฒนาความรู้ความเข้าใจในหลักการ และการปฏิบัติของการศึกษาบทเรียน ส่งผลให้เกิดการขยายประสบการณ์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาการสอนของตนเองและเพื่อนครูอย่างสร้างสรรค์ การเปลี่ยนแปลงของครูดังกล่าวส่งผลให้นักเรียนตื่นตัวในการเรียนรู้ มีกระบวนการเรียนรู้แบบ 5 ขั้นตอน และมีการทำงานอย่างเป็นระบบ ไปสู่ลักษณะการเรียนรู้เพื่อชี้นำตนเอง และนักเรียนมีความสุขในการเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างครูในโรงเรียนให้มีความเป็นเครือข่ายของสังคมวิชาการหรือชุมชนวิชาการที่สร้างสรรค์และเข้มแข็งมากขึ้น | en_US |
dc.description.abstractalternative | The objective of the research were 1) to study teachers’ characteristics of learning and interactions in each stage of lesson study, 2) to analyze teachers’ interactions in the process of lesson study among study groups with different backgrounds and 3) to investigate effects of lesson study on teachers’ learning and working and also students’ learning. A qualitative case study research method was employed. The case study was in an elementary school in Trat Province. The data were collected from 13 lesson study teachers, 2 school administers and 27 teachers. The data collection and data analysis methods composed of document study, observation, interviews, questionnaires, content analysis, social network analysis, and descriptive statistics. Research findings were as follow. 1) In the 3 stages of lesson study which were (1) planning a lesson (2) teaching and observation and (3) refection. Teachers learn from each other in designing lesson plans and use various techniques and learning resources to support efficient learning of students. The teachers were aware of usefulness of team learning and sharing information among colleagues. The interactions within a teams learning in are the 3 stages were supportive and positive, which were inspiriting and coaching each other for better academic development of their teaching practices. 2) Teachers in different background teams were supporting each other differently. Senior teachers were supported to use technology in their teaching, while young teachers were supported to use different strategies in managing their classrooms and students. Teachers from different subject areas shared various activities and techniques to support better design of the lesson plans of each other. Teachers who taught the same group of students were deeper understanding their students through plan the observing and reflecting. 3) Having practice lesson study, the teachers developed more meaningful understanding in the principles and practice of lesson study. Consequently, the teachers creatively expended their experiences in effective teaching development of oneself and colleagues. This teacher’s changes increased students’ active learning. Social interactions among the teachers were strengthening through the creative academic interactions network which coming from each stage of the lesson study. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1406 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | เครือข่ายสังคมออนไลน์ | |
dc.subject | ครู | |
dc.subject | การสอนด้วยสื่อ | |
dc.subject | Online social networks | |
dc.subject | Teachers | |
dc.subject | Teaching -- Aids and devices | |
dc.title | กระบวนการและผลของการศึกษาบทเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ของครู: การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม | en_US |
dc.title.alternative | PROCEDURES AND EFFECTS OF LESSON STUDY ON TEACHERS’ LEARNING: A SOCIAL NETWORK ANALYSIS | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | [email protected] | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2013.1406 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5583325527.pdf | 3.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.