Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43956
Title: | การศึกษากระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงซออู้ของครูฉลวย จิยะจันทน์ |
Other Titles: | A STUDY OF TRANSMISSION PROCESSES OF SOR-OU PERFORMANCE BY CHALUAY JIYAJUN |
Authors: | ภมรศักดิ์ เกื้อหนองขุ่น |
Advisors: | ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ดนตรีไทย ซออู้ การบริหารองค์ความรู้ Knowledge management |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงซออู้ของครูฉลวย จิยะจันทน์ และ 2) วิเคราะห์อัตลักษณ์การบรรเลงซออู้ของครูฉลวย จิยะจันทน์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสาร ผลงานและการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการตีความแบบอุปนัย ร่วมกับการวิเคราะห์สังคีตลักษณ์และอัตลักษณ์การบรรเลงซออู้ที่ปรากฏในเพลงทยอยนอก อัตราจังหวะสามชั้นและเพลงเชิดจีน อัตราจังหวะสองชั้น ผลการวิจัยพบว่า 1.กระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงซออู้ของครูฉลวย จิยะจันทน์แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านผู้สอน ครูฉลวย จิยะจันทน์ ได้รับการถ่ายทอดและหล่อหลอมระเบียบวิธีการบรรเลงซออู้จากพระสรรเพลงสรวง (บัว กมลวาทิน) เป็นหลัก อีกทั้งได้รับการเพาะบ่มจากการเป็นนักดนตรีคณะนารีศรีสุมิตรและต่อมารับราชการที่กรมประชาสัมพันธ์ จึงส่งผลให้การบรรเลงซออู้ของ ครูฉลวยนั้นมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวและส่งผลไปยังลักษณะเฉพาะของกระบวนการถ่ายทอดในเวลาต่อมา 2) ด้านผู้เรียน ลูกศิษย์ของครูฉลวย จิยะจันทน์ที่ได้รับการถ่ายทอดการบรรเลงซออู้นั้น ปรากฏทั้งกลุ่มที่มีและไม่มีพื้นฐานทักษะการบรรเลงซออู้ 3) ด้านบทเพลง บทเพลงที่ครูฉลวย จิยะจันทน์ถ่ายทอดให้ลูกศิษย์สามารถจำแนกเป็นกลุ่มได้ 4 กลุ่มคือ เพลงพื้นฐาน เพลงทั่วไป เพลงพิเศษ ได้แก่ เพลงทยอยนอก อัตราจังหวะสามชั้นและเพลงเชิดจีน อัตราจังหวะสองชั้นและเพลงเดี่ยวต่างๆ และ 4) ด้านกระบวนการถ่ายทอด ปรากฏหลักการสำคัญอยู่ 3 ประการคือ 1) สอนตามความสามารถของผู้เรียน 2) สอนตามแบบโบราณคือการถ่ายทอดแบบตัวต่อตัว(การต่อมือ) และ 3) เน้นทักษะปฏิบัติโดยวิธีการสอนแบบใช้การสาธิตเป็นสำคัญ 2.อัตลักษณ์การบรรเลงซออู้ของครูฉลวย จิยะจันทน์ แบ่งออกได้เป็น 2 ด้านคือ 1) ด้าน อัตลักษณ์ในการบรรเลงมี 3 องค์ประกอบ ได้แก่บุคลิกภาพ, ทางเพลง และการใช้เทคนิคในการบรรเลง และ 2) ด้านสังคีตลักษณ์ ประกอบด้วย (1) ทำนอง การดำเนินทำนองซออู้มีความสอดคล้องกับทำนองหลัก แต่มีบางกลอนเพลงที่เป็นลักษณะกลอนฝาก (2) บันไดเสียง อยู่ในทางเสียงเพียงออบน ทางนอกและทางเพียงออล่าง (3) เทคนิค เทคนิคการใช้นิ้วประกอบด้วย การประ การพรมเปิด การพรมปิด การสีควง การสะบัดนิ้ว การขยี้นิ้ว การป้ายนิ้วและการ กล้ำเสียง เทคนิคการใช้คันชัก มีการใช้คันชัก 2 (ลักคันชัก) จำนวนมาก |
Other Abstract: | This research aims to: 1) Study the Sor-Ou performance transmission process of Chalouy Jiyajan and 2) Analyze the unique performing techniques of hers, using qualitative research methodology. The data are gathered through document study, interviews, deductive data analysis, the analysis of the unique performing technique in two selected numbers: Tayoy-nork Sam-chan and Cherd-jeen Song-chan. The findings are: 1. The transmission process of Chalouy Jiyajan is divided into four aspects: 1) The teacher: Chalouy Jiyajan mainly received her music education from Master Prasan Plengsuang (Bua Kamolwatin). She was a member of Naree Srisumitr performing troop, and eventually worked at the Depertment of Public Relations. The performing style of Chalouy Jiyajan was unique and distinctive, and was widely recognized by Thai classical music masters. 2) Students: Chalouy Jiyajan's students were those who had basic musical skills, and those without basic musical skills, which had the effect on how the transmission processes were carried out. 3) The songs: The songs that she taught her students were categorized into four groups, namely the basic songs, the songs for general performance, the special songs, which are Tayoy-nork and Cherd-jeen, and the solo pieces. 4) Transmitting process includes: 1) Tailor individual instructions suitable for each student's competency, 2) Traditional one on one instruction, 3) Skill focus instruction through demonstration of Sor-Ou techniques. 2. The characteristics of Chaluoy Jiyajan Sor-Ou performing technique can be put into two aspects: 1) Uniqueness in performing techniques which comprises of three aspects, namely posture, melody structure, and performing techniques. 2) Musical Characters of: (1) Sor-Ou melodies harmonizing with the theme and (2) The scales of Tang-Piang-Or-Bon, Tang-Nok and Tang-Piang-Or-Lang. (3) The techniques comprise of Karn-Pra, Karn-Prom-Perd, Karn-Prom-Pid,Karn-See-Kuang, swinging the fingers, Karn-Khayee-Niw, Karn-Pai-Niw and Karn-klam-Seang. The technique of bowing uses many Karn-Lak-Khan-Chak. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ดนตรีศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43956 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1409 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.1409 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5583469227.pdf | 16.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.