Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44094
Title: ผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสและการแพทย์วิถีธรรมเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของตำรวจตระเวนชายแดน
Other Titles: Effects of non-formal education activities organizing based on the neohumanist concept and Buddhist medicine to promote self-care behaviors of the border patrol police
Authors: เกศรารัตน์ สิงห์คำ
Advisors: สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
ตำรวจตระเวนชายแดน
การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
Non-formal education
Border patrol
Self-care, Health
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสและการแพทย์วิถีธรรมเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของตำรวจตระเวนชายแดน และศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสและการการแพทย์วิถีธรรมเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของตำรวจตระเวนชายแดน กลุ่มตัวอย่าง คือ ตำรวจตระเวนชายแดน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินความต้องการด้านสุขภาพ แผนการจัดกิจกรรม แบบทดสอบความรู้ด้านสุขภาพ แบบวัดทัศนคติด้านสุขภาพ แบบสอบถามการปฏิบัติตนด้านสุขภาพ และ แบบประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติทดสอบ (t-test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสและการแพทย์วิถีธรรมเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของตำรวจตระเวนชายแดน และศึกษาผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสและการแพทย์วิถีธรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ ตำรวจตระเวนชายแดน 30 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินความต้องการด้านสุขภาพ แผนการจัดกิจกรรม แบบทดสอบความรู้ด้านสุขภาพ แบบวัดทัศนคติด้านสุขภาพ แบบสอบถามการปฏิบัติตนด้านสุขภาพ และ แบบประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติทดสอบ (t-test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. กิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสและการแพทย์วิถีธรรมเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของตำรวจตระเวนชายแดน มีกระบวนการจัดกิจกรรมตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสดังนี้ 1.1 การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ 1.2 สร้างภาพพจน์ด้านบวกให้กับตนเอง 1.3 การบรรยายความรู้ 1.4 การสาธิต 1.5 การฝึกปฏิบัติ 1.6 การประเมินผลการเรียนรู้ 2. ผลการจัดกิจกรรมพบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้และมีทัศนคติสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง และมีการปฏิบัติตนด้านสุขภาพดีขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 80% มีความพอใจในกิจกรรมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก โดยมีความพึงพอใจมากที่สุดคือ การนำความรู้ไปปฏิบัติได้จริง
Other Abstract: The purposes of this research were to develop non-formal education activities organizing based on the Neohumanist concept and Buddhist medicine to promote self-care behaviors of the border patrol police and to study the effects of The developed Non-formal education activities. The samples were 30 border patrol polic. Research instruments included a survey of health needs, the planning of activities, a test the knowledge of health, an attitude of health, a health questionnaire, and an evaluation of satisfaction form. The data were analyzed by using means (mean) , standard deviation (S.D.) , t-test at .05 level of significance. The results were as follow: 1. The processes of Non-formal education activities organizing based on the Neohumanist concept and Buddhist medicine to promote self-care behaviors of the border patrol police comprised of create a climate for learning ; increase self-esteem ; lecture ; demonstration ; practice ; Evaluation. 2. After the Experiment, The knowledge, attitude and practice of health means scores were higher than the mean scores before experiment at .05 level of significance. 3. The eight percent (80%) of participant revealed then most satisfaction on the toward self knowledge implication.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44094
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.82
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.82
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ketsararat_si.pdf2.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.