Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44236
Title: | การสร้างตัวละครและการเล่าเรื่องในละครโทรทัศน์ญี่ปุ่นที่ใช้อาชีพเป็นแก่นเรื่อง |
Other Titles: | Characterization and narration in Japanese TV drama with career theme |
Authors: | อรอุษา อึ๊งศรีวงศ์ |
Advisors: | ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | รายการโทรทัศน์ -- ญี่ปุ่น รายการทางโทรทัศน์ -- ญี่ปุ่น ตัวละครและลักษณะนิสัยในวรรณกรรม การเล่าเรื่อง Television programs -- Japan Television series -- Japan Characters and characteristics in literature Narration (Rhetoric) |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ละครโทรทัศน์ญี่ปุ่นสมัยใหม่มักจะกำหนดให้ตัวละครหลักมีอาชีพใดอาชีพหนึ่ง และใช้อาชีพของตัวละครหลักเป็นแก่นเรื่อง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างตัวละครและกลวิธีการเล่าเรื่องของละครโทรทัศน์ญี่ปุ่นที่ใช้อาชีพเป็นแก่นเรื่อง และเพื่อวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ของละครโทรทัศน์ญี่ปุ่นที่ใช้อาชีพเป็นแก่นเรื่องกับบริบททางสังคม รวมถึงศึกษาทิศทางของละครโทรทัศน์ญี่ปุ่นสมัยใหม่ที่ใช้อาชีพเป็นแก่นเรื่องในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (ปีพ.ศ. 2545 – 2554) งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาละครโทรทัศน์ประกอบกับการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ละครโทรทัศน์ญี่ปุ่นสมัยใหม่ที่ใช้อาชีพเป็นแก่นเรื่องที่ได้รับความนิยมและนำมาศึกษาทั้งหมด 9 เรื่อง เป็นละครเรื่องยาวเป็นตอนๆ จำนวน 6 เรื่อง และละครชุดจบในตอนจำนวน 3 เรื่อง สามารถจำแนกแนวเรื่องออกได้เป็น 3 ประเภท คือ ละครแนวสืบสวนสอบสวน ได้แก่เรื่อง Mr.Brain และเรื่อง Galileo ละครที่มีแก่นเรื่องความรักมาเกี่ยวข้อง ได้แก่เรื่อง Change, Haken no Hinkaku, Dr. Koto no Shinryojo, Engine, Pride และ Good Luck!! และละครที่เน้นเรื่องตลกและแอ็คชั่น ได้แก่เรื่อง Gokusen โดยมีการเล่าเรื่องอาชีพของตัวละครหลักผ่านความมุ่งมั่นและมานะบากบั่นเพื่อให้ประสบความสำเร็จ ในการสร้างตัวละครจะมีการเอาอาชีพของตัวละครมาช่วยกำหนดคุณลักษณะนิสัยของตัวละคร ความรู้ความสามารถ รวมถึงสภาพแวดล้อมและตัวละครอื่นที่มาเกี่ยวข้อง พบว่าส่วนใหญ่ได้สร้างตัวละครเอกเป็นชายได้แก่ ตัวเอกที่มีอาชีพนักประสาทวิทยา, นักการเมือง, นักฟิสิกส์, ศัลยแพทย์, นักแข่งรถ, นักฮ็อกกี้ และนักบิน ส่วนที่ตัวละครเอกเป็นหญิงได้แก่ตัวเอกที่มีอาชีพครูและพนักงานชั่วคราวในบริษัท อย่างไรก็ตามในการเล่าเรื่อง จะเห็นถึงความสัมพันธ์ของตัวละครเอกกับตัวละครรองซึ่งมักจะเป็นเพศตรงข้ามดำเนินไปด้วยกันอย่างมีนัยสำคัญในการพัฒนาเนื้อเรื่อง ในส่วนของการวิเคราะห์ทิศทางของละครโทรทัศน์ญี่ปุ่นในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าอาชีพที่ได้รับความนิยมในการนำมาสร้างเป็นตัวละครมากที่สุด คือ ตำรวจหรือนักสืบ และโดยภาพรวมแล้วมีการสร้างละครที่ใช้อาชีพเป็นแก่นเรื่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 ของทั้งหมด โดยผู้เชี่ยวชาญได้ให้ความเห็นว่า เป็นเพราะสังคมของญี่ปุ่นนั้นเป็นสังคมที่มุ่งเน้นการทำงาน และมีการปลูกฝังวัฒนธรรมการทำงานเป็นกลุ่ม และส่งเสริมความมานะบากบั่นในสังคมอย่างชัดเจน |
Other Abstract: | Japanese Trendy TV Drama always assigns the main characters with career and most of the dramas in Japanese employing career theme. The research purpose is to study Japanese TV Drama characterization and narration in the dramas with career theme, Japanese social that relate to Japanese Drama, and Japanese Drama trend in the past 10 years (2002 – 2011). The research is qualitative research by textual analysis and in-depth interview with experts. The research found that 9 popular Japanese TV dramas with career theme are consisted of 6 serials and 3 series, can be categorized into 3 types. First, Investigative approach :- Mr. Brain and Galileo. Second, Love approach:- Change, Haken no Hinkaku, Dr. Koto no Shinryojo, Engine, Pride, and Good Luck!!. Third, Comedy Action approach:- Gokusen. The dramas use the characters attempted to succeed in the career or in life to narrate the story, and employ the career of the characters to define characters’ behavior, knowledge, ability, environment and people surrounding. Most of the shows have male protagonists, they are Neuroscientist, Politician, Physician, Surgeon, Racer, Hockey, and Pilot. Only two are female protagonists, they are teacher and temporary employee. All of them, main character and minor character (with opposite sex) always support each other in highly significant. The trend of Japanese TV drama in the past 10 years shows that the most popular career is detective-police. More than 40 percent employ Career Theme. According to working – based society in Japan, the experts remark that people tend to work hard and be effective in team working as well as encouraging endeavor. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44236 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.214 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.214 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Orn-u-sa_un.pdf | 16.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.