Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44283
Title: | สัดส่วนการสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพอนามัยในโรงพยาบาลและการใช้บริการทางการแพทย์ของบุคลาการในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ |
Other Titles: | Hospital hazard exposure proportion and medical service utilization in health care workers of Prince of Songkla Hospital |
Authors: | วิศรุต ศรีสินทร |
Advisors: | พรชัย สิทธิศรัณย์กุล พิชญา พรรคทองสุข |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ บุคลากรโรงพยาบาล -- สุขภาพและอนามัย อาชีวอนามัย สาธารณสุข, การบริการ โรคจากอาชีพ Hospitals -- Staff -- Health and hygiene Industrial hygiene Health services Occupational diseases |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษานี้เป็นการศึกษาภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ วัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพอนามัยในโรงพยาบาล และการใช้บริการทางการแพทย์ของบุคลากรโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ทำการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 ถึง เดือนมกราคม พ.ศ. 2551 โดยเก็บข้อมูลประเภทของสิ่งคุกคามสุขภาพอนามัยในโรงพยาบาลในแต่ละหน่วยงานด้วยแบบสำรวจระหว่างการเดินสำรวจความเสี่ยง ส่วนข้อมูลบุคลากรและข้อมูลการใช้บริการที่บันทึกตามรหัส ICD-10 ได้จากฐานข้อมูลของโรงพยาบาล ผลการศึกษาพบว่าในช่วงระหว่าง 1 มกราคม พ.ศ. 2549 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549 บุคลากรมีการใช้บริการผู้ป่วยนอก จำนวน 2,957 คน (ร้อยละ 79.6 ของบุคลากรทั้งหมด) มีจำนวนการใช้บริการ 20,583 ครั้ง คิดเป็นอัตราการใช้บริการผู้ป่วยนอก 6.96 ครั้งต่อบุคลากรที่มาใช้บริการต่อปี หรือ 5.54 ครั้งต่อบุคลากรทั้งหมดต่อปี ในส่วนของการใช้บริการผู้ป่วยใน พบว่ามีบุคลากรใช้บริการ 257 คน (ร้อยละ 0.07 ของบุคลากรทั้งหมด) มีจำนวนการใช้บริการ 313 ครั้ง คิดเป็นอัตราการใช้บริการ 1.2 ครั้งต่อบุคลากรที่มาใช้บริการต่อปี หรือ 0.08 ครั้งต่อบุคลากรทั้งหมดต่อปี ในด้านสิ่งคุกคามสุขภาพอนามัยในการทำงาน ได้จัดกลุ่มบุคลากรเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง จำนวน 30 หน่วยงาน (9 – 54 คะแนน) รวม 1,842 คน ที่เหลือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ จำนวน 94 หน่วยงาน (1 – 8 คะแนน) รวม 1,870 คน การวิเคราะห์ความแตกต่างของการใช้บริการทางการแพทย์ของบุคลากรกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงและความเสี่ยงต่ำ พบว่ามีหลายกลุ่มโรคใน ICD-10 ที่มีการใช้บริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ทั้งการใช้บริการผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน การศึกษานี้ทำให้ทราบถึงการใช้บริการทางการแพทย์ของบุคลากรและปัจจัยสิ่งคุกคามสุขภาพอนามัยในการทำงานในภาพรวม อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้ไม่สามารถยืนยันได้ว่าความสัมพันธ์ที่พบเป็นเหตุและผลกัน และความสัมพันธ์ที่พบอาจเกิดจากปัจจัยอื่นๆ ที่ไม่ได้เก็บข้อมูลในการศึกษานี้ก็ได้ ผลลัพธ์จากการศึกษานี้จึงควรใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการศึกษาเชิงวิเคราะห์ต่อไป |
Other Abstract: | This cross-sectional analytic study aimed to find correlation between hospital hazard exposure and medical services utilized by the health care workers of Prince of Songkla Hospital, conducted during October 2007 – January 2008. The type of occupational hazards of each department of the hospital were recorded during walk-through survey using a record form, personnel database and ICD-10 were extracted from hospital’s database. The results showed that during 1 January to 31 December 2006, 2,957 personnel (79.6 percents) utilized the OPD services for 20,583 times, calculated to 6.96 times per person (who used the services) per year or 5.54 times per person (total personnel) per year while 257 personnel (0.07 percents) utilized the IPD services for 313 times, calculated to 1.2 times per person (who used the services) per year or 0.08 times per person (total personnel) per year. There were 1,842 personnel in 30 departments classified as high risk group (score 9 – 54), while the remaining 1,870 personnel in 94 departments were classified as low risk group (score 1 – 8). Significant difference (p<0.05) between high risk and low risk groups was found in many disease groups that were classified by ICD-10 for both OPD and IPD utilizations. This study gave the overview on the hospital personnel’s medical services utilization and their occupational hazards. However, this study cannot confirm cause-effect relationship or deny other possibilities that cause these significant correlations. Result from this study should be used as guidance for conducting further analytic study. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อาชีวเวชศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44283 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.182 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.182 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wisarut_Sr.pdf | 1.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.