Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44298
Title: | การกำกับดูแลและแทรกแซงเว็บบอร์ดทางการเมืองหลังเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 |
Other Titles: | Regulation and interference of political webboards after the 19 September 2006 coup D'etat |
Authors: | บัณฑิต จำรูญวงศ์สกุล |
Advisors: | พิรงรอง รามสูต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 กระดานข่าว (คอมพิวเตอร์) -- การเซ็นเซอร์ ไทย -- การเมืองและการปกครอง -- 2549 Computer bulletin boards -- Censorship Computer Crime Act B.E. 2550 Thailand -- Politics and government -- 2006 |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงโครงสร้างการกำกับดูแลและแทรกแซงการสื่อสารในเว็บบอร์ดทางการเมือง บทบาทเว็บมาสเตอร์ของเว็บบอร์ดทางการเมืองในการกำกับดูแลการสื่อสาร รวมถึงความคิดเห็นของบุคคลในภาคอุตสาหกรรมและภาคประชาสังคมที่มีต่อภาครัฐ ภายหลังเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยผู้วิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึก จากการศึกษาพบว่าหลังเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ภาครัฐมีการกำกับดูแลและแทรกแซงเว็บบอร์ดทางการเมือง โดยผ่านทางกฎหมาย 2 ฉบับ ได้แก่ คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ฉบับที่ 5 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 รวมถึงการใช้กลไกของรัฐที่มีอยู่ในการควบคุม ซึ่งก็คือกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทั้งนี้ ข้อมูลจากการศึกษาดังกล่าวได้ค้นพบว่าภาครัฐใช้วิธีการกำกับดูแลเว็บบอร์ดทางการเมือง ทั้งรูปแบบการแจ้งผู้ดูแลเว็บไซต์ให้ลบกระทู้หรือข้อความ การแจ้งผู้ให้บริการ Web Hosting ให้นำเว็บไซต์ที่มีปัญหาออกจาก IP การแจ้งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ให้ดำเนินการปิดกั้น และการปิดกั้นที่เกตเวย์ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ข้อมูลจากการศึกษายังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างจุดยืนของเว็บไซต์กับมาตรการที่ภาครัฐนำมาใช้ในการกำกับดูแล โดยใช้มาตรการปิดกั้นเว็บไซต์ที่มีท่าทีต่อต้านภาครัฐ ขณะที่ไม่มีการกำกับดูแลเว็บไซต์ที่มีท่าทีสนับสนุนภาครัฐ แต่อย่างใด ขณะเดียวกันภายใต้บริบทของสภาวการณ์รัฐประหาร ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ปทัสถานหรือนโยบายขององค์กร ค่านิยมส่วนตัว รวมถึงอำนาจรัฐและปัจจัยทางการเมืองล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อการตัดสินใจคัดเลือกกระทู้หรือข้อความของเว็บมาสเตอร์ โดยปัจจัยทั้งสามจะส่งผลต่อการตัดสินใจของเว็บมาสเตอร์แต่ละรายแตกต่างกันไป นอกจากนี้ ภาคอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตและภาคประชาสังคมมีความคิดเห็นรวมถึงข้อเสนอแนะให้ภาครัฐกำหนดกรอบนโยบายในการกำกับดูแลเว็บไซต์ที่ชัดเจน และเปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคมเข้ามาดำเนินการกำกับดูแลกันเองมากขึ้น |
Other Abstract: | This thesis aims at studying state regulation and interference of political webboards in Thailand and the responses it evoked by the Internet industry and civil society during the period subsequent to the 19 September 2006 coup d’etat. The research is qualitative in nature. Data collection was done through content analysis and in-depth interviews. The study finds that after the 19 September 2006 coup d’etat, the control of political webboards was administered primarily through these means: legal enforcement and blogging of websites. Two laws were issued during this time -- Decree 5 of the Council for Democratic Reform (CDR) which staged the coup and the Computer Crime Act 2007. The Ministry of Information and Communication Technology (MICT) which has been in charge of website blocking since 2002 is the main mechanism in carrying out the regulatory task. The study finds that the MICT administers the control of political webboards by warning to webmasters to delete or watch out for problematic content while notifying web hosting services, Internet Service Providers (ISPs) as well as CAT Telecom Public Co., Ltd. to block websites of political weboards. In the case of CAT Telecom which is the main service provider of international Internet gateways in Thailand, the study finds blocking occurs at this level. The study also detects a certain pattern of control. For websites which are openly anti-coup, blocking was used disparagingly while those which are pro-coup would be spared of such measure and the government would be more lenient in their regulatory action. Meanwhile, under the post-coup context, the study finds that organization norm or policy, personal values, state power, and political circumstances are factors that varyingly influence the decision of webmasters in selecting and screening topics and content for their respective webboards. Lastly, based on interview with members from the local Internet industry and civil society, the study finds that these sectors prefer a more transparent policy regarding webboard and Internet regulation. They also recommend self-regulation by the industry and users or co-regulation rather than mere state regulation to ensure the needed transparency |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วารสารสนเทศ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44298 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.59 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.59 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pandit_Ch.pdf | 2.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.