Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/443
Title: | การศึกษาการใช้หลักสูตรประเภทอาชีวศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนเอกชนนอกระบบ |
Other Titles: | A study of the implementation of vocational education computer curriculum in private nonformal education schools |
Authors: | พัชรี ศิริประภาพรชัย, 2511- |
Advisors: | เพิ่มเกียรติ ขมวัฒนา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การศึกษาทางอาชีพ--หลักสูตร โรงเรียนเอกชน คอมพิวเตอร์--การศึกษาและการสอน |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรประเภทอาชีวศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนเอกชนนอกระบบ กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนเอกชนนอกระบบที่เปิดสอนหลักสูตรประเภทอาชีวศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ครูใหญ่ และครูผู้สอน รวมทั้งสิ้น 344 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 2 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ และหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ สภาพการใช้หลักสูตรประเภทอาชีวศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนเอกชนนอกระบบส่วนใหญ่พบว่า 1) การดำเนินการขออนุมัติหลักสูตร โรงเรียนศึกษาสภาพปัจจุบัน ความต้องการของสังคม และความพร้อมของโรงเรียนก่อนดำเนินการขออนุมัติหลักสูตร 2) การวางแผนการใช้หลักสูตร ด้านการประชาสัมพันธ์หลักสูตร โรงเรียนจัดพิมพ์เป็นเอกสารเผยแพร่เกี่ยวกับหลักสูตร ด้านการเตรียมงบประมาณ โรงเรียนจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณาจัดสรรตามความจำเป็นและจัดสรรด้วยการคาดการณ์จำนวนผู้เรียนขั้นต่ำ ด้านการเตรียมบุคลากร โรงเรียนจัดชี้แจง ประชุม อบรม และ/หรือสัมมนา เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ จุดหมาย โครงสร้าง และเกณฑการใช้หลักสูตร ด้านการเตรียมวัสดุหลักสูตร โรงเรียนเตรียมวัสดุฝึก อุปกรณ์ และสื่อการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชา และมีการจัดหาวัสดุหลักสูตรเพิ่มเติมอยู่เสมอ ด้านการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกและอาคารสถานที่ โรงเรียนจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและจัดจำนวนห้องเรียนและห้องปฏิบัติการให้เหมาะสมกับจำนวนผู้เรียน 3) การบริหารหลักสูตร ด้านการจัดตารางสอนและการจัดชั้นเรียน โรงเรียนให้ครูผู้สอนมีส่วนร่วมในการจัดตารางสอนและจัดชั้นเรียน โดยจัดตารางสอนเป็นคาบต่อเนื่องหลายคาบตามรายวิชาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ด้านการเตรียมความพร้อมของผู้เรียน ครูผู้สอนแยกกลุ่มผู้เรียนตามพื้นความรู้เดิมและสำรวจความต้องการจำเป็นของผู้เรียน ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูผู้สอนศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร เอกสารประกอบหลักสูตร และเทคนิควิธีการสอนและ/หรือรูปแบบการสอนใหม่ๆ ส่วนรูปแบบที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ครูผู้สอนให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง และสอนซ่อมเสริมโดยจัดสอนนอกเวลาเรียน และจัดตารางฝึกปฏิบัติทักษะเพิ่มเติม ด้านการประเมินผลการเรียนรู้ ครูผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างเรียนโดยการใช้แบบทดสอบและประเมินจากผลงานหรือการฝึกทักษะ ตลอดจนจากการสังเกต ประเมินผลการเรียนรู้หลังเรียนโดยประเมินจากผลงานหรือการฝึกทักษะ และการใช้แบบทดสอบ แล้วรายงานผลการประเมินการเรียนรู้โดยจัดทำแบบรายงานผลแก่ผู้เรียนและ/หรือผู้ปกครอง 4) การนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตร โรงเรียนส่งเสริมให้ครูผู้สอนสังเกตการสอนซึ่งกันและกัน พร้อมทั้งสรุปจุดอ่อน และจุดเด่นของผู้สอนแต่ละคนร่วมกัน ปัญหาการใช้หลักสูตรประเภทอาชีวศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนเอกชนนอกระบบพบว่า โรงเรียนส่วนใหญ่ไม่ประสบปัญหาการใช้หลักสูตร |
Other Abstract: | This research was conducted in order to study the state and problems of the implementation of vocational education computer curriculum in private nonformal education schools. The sample group was the private nonformal education schools which implemented the vocational education computer curriculum. Data was obtained by the principal and the teacher, totalling 344 persons. The research instruments were two sets of designed questionnaires for collecting information. The data was analysed by using frequency and percentage. Research findings showed as follows: The state of the implementation of vocational education computer curriculum in private nonformal education schools had shown mostly that 1) Before the requesting for curriculum approval, the schools studied the current situation, social demand and their own readiness. 2) For the curriculum implementation planning, the schools prepared to publicize the curriculum by documenting curriculum. The committees had been established to prepare and arrange the budget if necessary, also arranged the budget from estimated minimum number of total students. The schools set up meeting, training and/or seminar in order to make mutual understanding among the related persons about the principle, objective, structure, and curriculum implentation criteria. The schools prepared the practical materials, instruments, and instrutional medias for each subject. The additional curriculum materials were provided consistently. The facilities and building were provided to support study environment and the number of classrooms and labs were suitable with number of students. 3) For the curriculum management, the teachers were participant in the timetable scheduling and each subject was scheduled in various connected period of time both theorical and practical parts. The teachers prepared the readiness of student by classifying group of students based on the past knowledge and necessity of each student. For the instructional activities, the teachers studied curriculum materials, the teaching technique and/or new teaching model. Most teaching models used were "learning by doing". the remedial teaching and more practice were held on extra timetable scheduling. During the course, they evaluated by testing, assignment or practice assessment, and observation. After the course, they evaluated by assignment or practice assessment and testing. Then the results were reported to the students and/or the parents. 4) For the supervision and curriculum implementation follow-up, the schools encouraged the teachers to observe their teaching and also discuss for the weakness and the strength of the learning-teaching activities. There is no problem in the implementation of vocational education computer curriculum in private nonformal education schools. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/443 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.830 |
ISBN: | 9745321591 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2004.830 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Phadcharee.pdf | 1.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.