Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44372
Title: ผลของ Antimicrobial Stewardship Program ต่อความเหมาะสมของการใช้ยาต้านจุลชีพ
Other Titles: EFFECTS OF ANTIMICROBIAL STEWARDSHIP PROGRAM ON APPROPRIATE ANTIBIOTICS USE
Authors: มรกต อนันต์วัฒนกิจ
Advisors: ธิติมา เพ็งสุภาพ
ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร
ชาญกิจ พุฒิเลอพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
[email protected],[email protected]
[email protected]
Subjects: การดื้อยาในจุลินทรีย์
Drug resistance in microorganisms
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบร้อยละความเหมาะสมในการสั่งใช้ และปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพ ก่อนและหลังการดำเนินงาน Antimicrobial Stewardship Program (ASP) เมื่อมีและไม่มีเภสัชกร วิธีดำเนินการวิจัย: ทำการวิจัยรูปแบบ Retrospective cohort study เพื่อประเมินผลของการดำเนินการ Antimicrobial stewardship programs (ASP) ทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของความเหมาะสมในการสั่งยาในกลุ่ม 3rd generation cephalosporins, Beta lactam/beta lactamase inhibitors (BLBIs) และ carbapenems ที่กำหนดให้ต้องติดตามการใช้ รวมทั้งปริมาณการใช้ยาในรูป Define daily dose ต่อ 1,000 วันนอน (DDD/1,000 วันนอน) ก่อนดำเนินการ ASP และหลังดำเนินการ ASP โดยมีและไม่มีเภสัชกรร่วมปฏิบัติงาน ด้วยการทบทวนเวชระเบียนย้อนหลัง ผลการวิจัย: จากตัวอย่างใบสั่งยาที่ผ่านเกณฑ์คัดเข้ามีจำนวนทั้งหมด 592 ใบ ของผู้ป่วยจำนวน 445 คน พบว่า ปีที่มีเภสัชกรร่วมในการดำเนินงาน ASP มีสัดส่วนใบสั่งยาต้านจุลชีพที่สั่งใช้อย่างเหมาะสมมากที่สุด เท่ากับ ร้อยละ 89.2 รองลงมาคือปีที่มีการดำเนินงาน ASP โดยไม่มีเภสัชกรเข้าร่วม เท่ากับ ร้อยละ 78.2 และน้อยที่สุดคือปีที่ยังไม่มีการดำเนินงาน ASP เท่ากับ ร้อยละ 77.9 โดยสัดส่วนของทั้ง 3 ช่วง มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ค่า p = 0.011 ส่วนในด้านปริมาณการใช้ยาพบว่า ยากลุ่ม BLBIs มีปริมาณลดลงหลังดำเนินการ ASP ทั้งมีและไม่มีเภสัชกร (p = 0.045) แต่ยากลุ่ม carbapenems กลับมีแนวโน้มปริมาณการใช้สูงขึ้น โดยเฉพาะ imipenem ที่เพิ่มสูงขึ้นหลังดำเนินการ ASP และสูงที่สุดในปีที่มีเภสัชกรร่วมดำเนินงาน (p = 0.046) ซึ่งอาจมีสาเหตุจากการดื้อยาที่มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะเชื้อ Escherichia coli และ Klebsiella pneumoniae ที่ผลิตเอนไซม์ Extended spectrum betalactamase (ESBL) อย่างไรก็ตามหลังดำเนินการ ASP และหลังจากมีเภสัชกรร่วมดำเนินงานปริมาณการใช้โดยรวมมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิต สรุปผลการวิจัย: ASP ช่วยเพิ่มความเหมาะสมในการสั่งใช้ยา โดยเฉพาะในด้านขนาดยา และเพิ่มสูงขึ้นอีกเมื่อมีเภสัชกรร่วมดำเนินงาน แต่ในด้านปริมาณการใช้ยาโดยรวมพบว่าลดลงเพียงเล็กน้อย หลังเริ่มดำเนินการ ASP ทั้งมีและไม่มีเภสัชกร โดย carbapenems กลับมีปริมาณการใช้สูงขึ้น ซึ่งอาจเป็นผลจากอัตราการดื้อยาของเชื้อที่สูงขึ้น
Other Abstract: Objective: The proposes of this study are to evaluate the outcomes of Antimicrobial Stewardship Program (ASP) with and without pharmacist participation in improving appropriate antibiotics use and antibiotics consumption. Method: The data was collected by review medical chart in retrospective cohort design. This study included 592 prescriptions from 445 patients who admitted in hospital before and after ASP was applied with and without pharmacist involved. The appropriateness of antimicrobial prescribing and antibiotics consumption in form of Defined daily dose/1,000 inhabitants of 3rd generation cephalosporins, Beta lactam/beta lactamase inhibitors (BLBIs) and carbapenems were compared. Result: ASP with pharmacist was associated with the increasing of appropriateness of prescribing. The proportion of appropriate prescribing was 89.2% after pharmacist participated in ASP, this was significantly more than the year before ASP was applied (77.9%) and the year that ASP without pharmacist (78.2%) with the p value of 0.011. After implemention ASP and ASP with pharmacist, carbapenems consumption was increase especially imipenem. The increasing of antibiotics consumption may result from increasing of antimicrobial resistance. However the total antibiotics consumption is slightly decrease but not statistically significant. Conclusion: The ASP was associated with the increasing in the appropriateness of antimicrobial prescribing. This increasing trend was more pronounced when pharmacist was participated. However, the total antibiotics consumption did not change.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44372
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.461
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.461
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5576221833.pdf2.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.