Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4447
Title: | ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดลพบุรี |
Other Titles: | Opinion of teachers about health promoting activities in primary school under the jurisdiction of Lopburi Provincial Primary Education |
Authors: | จริยา โคจรนา |
Advisors: | องอาจ วิพุธศิริ วิฑูรย์ โล่ห์สุนทร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | โรงเรียน -- บริการส่งเสริมสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพ |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดลพบุรีเกี่ยวกับด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านกิจกรรม 10 องค์ประกอบ และด้านผลการดำเนินงาน โดยการสำรวจเชิงพรรณนาชนิดตัดขวาง จัดส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ให้ครูในโรงเรียนที่สุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม จำนวน 188 แห่ง ตอบกลับ 118 แห่ง อัตราการตอบกลับ 62.8 ได้ข้อมูลจากครูจำนวน 809 คน (ร้อยละ 19.3 ของจำนวนครูทั้งหมดในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดลพบุรี) ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง ร้อยละ 68.8 อายุเฉลี่ย 44 ปี สถานะภาพสมรสคู่ ร้อยละ 80.1 ระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 87.3 รายได้อยู่ในช่วง 10001-20000 บาท ร้อยละ 71.7 ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน พบว่าความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดลพบุรีเกี่ยวกับด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านกิจกรรม 10 องค์ประกอบและด้านผลการดำเนินงานส่วนใหญ่ไม่แน่ใจค่อนไปทางเห็นด้วย โรงเรียนเข้าร่วมโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นทั้ง 4 ด้านสูงกว่าโรงเรียนที่ยังไม่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ เมื่อทดสอบความแตกต่างคะแนนความคิดเห็นของครูโรงเรียนเข้าร่วมโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพกับที่ยังไม่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ด้านปัจจัยนำเข้า (ภาวะผู้นำของผู้นำองค์กร, นโยบายของโรงเรียน, คณะกรรมการ) ด้านกระบวนการ (การทำงานเป็นทีม, การสื่อสาร) ด้านกิจกรรม 10 องค์ประกอบ (นโยบายของโรงเรียน, การบริหารจัดการในโรงเรียน, โครงการร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชน, บริการอนามัยโรงเรียน, โภชนาการและอาหารที่ปลอดภัย, การให้คำปรึกษาและการสนับสนุนทางสังคม) และด้านผลของการดำเนินงาน (ความพึงพอใจในการดำเนินงาน) ความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพกับที่ยังไม่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกด้าน ความคิดเห็นของครูอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพกับที่ยังไม่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ด้านปัจจัยนำเข้า (ภาวะผู้นำของผู้นำองค์กร, นโยบายของโรงเรียน) ด้านกระบวนการ (การสื่อสาร) ด้านกิจกรรม 10 องค์ประกอบ(นโยบายของโรงเรียน) ด้านผลการดำเนินงาน(ความพึงพอใจในการดำเนินงาน) ส่วนความคิดเห็นของครูประจำชั้นในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพกับที่ยังไม่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ด้านปัจจัยนำเข้า(คณะกรรมการ)ด้านกระบวนการ(การทำงานเป็นทีม, การสื่อสาร) ด้านกิจกรรม 10 องค์ประกอบ(นโยบายของโรงเรียน, การบริหารจัดการในโรงเรียน, โครงการร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชน, โภชนาการและอาหารที่ปลอดภัย) และด้านผลการดำเนินงาน(ความพึงพอใจในการดำเนินงาน) ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานครูในโรงเรียนทั้งสองกลุ่มให้ความสำคัญอันดับ1 มากที่สุด คือ งบประมาณและความร่วมมือจากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพและไม่เข้าร่โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพมีความแตกต่างเกี่ยวกับด้านปัจจัยนำเข้าและบางส่วนของด้านกระบวนการ แต่ยังไม่ผลักดันให้เกิดผลลัพธ์ด้านกิจกรรม 10 องค์ประกอบ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนากระบวนกาที่รวดเร็วแพร่หลายส่งผลต่อการส่งเสริมสุขภาพทั่วทั้งโรงเรียน |
Other Abstract: | The purpose of this study was to explore the teachers' opinion about health promoting activities in primary school, which was under the jurisdiction of Lopburi Provincial Primary Education, about input factors, process, output and ten elements of health promoting school criteria (10 elements). This study was conducted by cross-sectional descriptive survey. The pre-test questionnaires were sent by mailing to teachers in 188 schools, which were selected by simple random sampling. Response rate was 62.8%. Data were collected from 809 teachers (19.3% of all teachers under the jurisdiction of Lopburi Provincial Primary Education). The result of the study revealed that the samples were female 68.8%, mean age 44 years, married 80.1%, graduated 87.3%, income rank between 10001-20000 Thai bath 71.7%. The opinions of teachers were unconfident but they were incline to agree about input factor, process, output and 10 elements. Teachers of health promoting school (HPS) had mean scores of opinion more than teachers of non-health promoting school (non-HPS). The teacher's opinion of HPS and non-HPS were statistically significant difference (p<0.05) with input factors (leadership, school policies, committee), process (teamwork, communication), 10 elements (school policies, school administration, joint-project of school and community, nutrition and safety food, counselling and social support) and output (satisfaction). The administrator's opinion of HPS and non-HPS were not found to be significantly different. The school health teacher's opinion of HPS and non-HPS were statistically significant difference (p<0.05) with input factors (leadership, school policies), process (communication), 10 elements (school policies). the classroom teacher's opinion of HPS and non-HPS were statistically significant difference (p<0.05) with input (committee) process (teamwork, communication), output (satisfaction), 10 elements (school policies, school administration, joint-project of school and community, nutrition and safety food). The important problem and obstacle of school were least budget for health promoting activities and coordinating. These finding indicated that health promoting school (HPS) and non-health promoting school (non-HPS) were significantly different in input factors and some process, but no differences to outcome (10 elements). It is necessary to deploy process focusing in result with total health promoting school. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เวชศาสตร์ชุมชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4447 |
ISBN: | 9741309066 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jariya.pdf | 4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.