Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44500
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวิณี วิวัฒน์วานิชen_US
dc.contributor.authorสมจิตร สันติวรนารถen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-08-21T09:29:23Z-
dc.date.available2015-08-21T09:29:23Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44500-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผล และต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดถุงน้ำดีด้วยกล้องวีดีทัศน์ แบบวิธีมาตรฐาน 3 แผลและแบบแผลเดียว จำแนกตามระยะผ่าตัด กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) กลุ่มตัวอย่างทุติยภูมิ (Secondary source) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ได้แก่ แหล่งข้อมูลค่าใช้จ่ายหมวดค่าแรง, ทะเบียนคุมครุภัณฑ์การแพทย์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เก็บรวบรวมข้อมูลเวชภัณฑ์สิ้นเปลืองและข้อมูลผู้ป่วย และ2) กลุ่มตัวอย่างปฐมภูมิ (Primary source) ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล 5 เดือน (ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 - กุมภาพันธ์ 2557) ได้แก่ บุคลากรทางการพยาบาล งานการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด จำนวนรวมทั้งสิ้น 66 ราย ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 44 ราย และผู้ช่วยพยาบาล จำนวน 22 ราย และ ผู้ป่วยรับการผ่าตัดถุงน้ำดีด้วยกล้องวีดีทัศน์ จำนวน 30 ราย เครื่องมือทั้งหมด ได้ความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 1 และ ได้ค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.9 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการ 1) สังเกตบุคลากรทางการพยาบาลปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลแก่ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดถุงน้ำดีด้วยกล้องวีดีทัศน์ และ 2) จากการที่ผู้ป่วยตอบแบบสอบถามคุณภาพชีวิตด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าคะแนนอรรถประโยชน์ ผลการศึกษา พบว่า 1. ต้นทุน-ประสิทธิผลของการผ่าตัดถุงน้ำดีด้วยกล้องวีดีทัศน์ แบบแผลเดียวมีอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผล(CER) ต่ำกว่าแบบวิธีมาตรฐาน 3 แผล เท่ากับ 39,584 และ 39,684 บาท ตามลำดับ 2. ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดถุงน้ำดีด้วยกล้องวีดีทัศน์ แบบวิธีมาตรฐาน 3 แผลและแบบแผลเดียว จำแนกตามระยะผ่าตัด พบว่า ระยะผ่าตัดมีต้นทุนสูงสุด เท่ากับ 1,280 และ1,143 บาท/ราย ตามลำดับ รองลงมาคือ กิจกรรมการพยาบาลระยะก่อนผ่าตัดมีต้นทุน เท่ากับ 435 และ 430 บาท/ราย ตามลำดับ และกิจกรรมการพยาบาลระยะหลังผ่าตัดมีต้นทุนต่ำสุดคือ 69.7 และ 71.6 บาท/ราย ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในภาพรวม พบว่า แบบแผลเดียวมีต้นทุนกิจกรรมการพยาบาล เท่ากับ 1,644 บาท/ราย ในขณะที่แบบวิธีมาตรฐาน 3 แผล มีต้นทุนกิจกรรมการพยาบาล เท่ากับ 1,785 บาท/ราย และแบบแผลเดียวใช้เวลาโดยรวมน้อยกว่าแบบวิธีมาตรฐาน 3 แผล โดยแบบแผลเดียว ใช้เวลา 582 นาที/ราย ในขณะที่แบบวิธีมาตรฐาน 3 แผล ใช้เวลา 631 นาที/ราย ตามลำดับen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this descriptive research was to analyze the cost-effectiveness and perioperative nursing activities base costing (ABC) in patients by comparing the standard three port laparoscopic cholecystectomy with single incision laparoscopic cholecystectomy in 3 phase of operations, operative department, Thammasat Hospital. The research population comprised 2 groups; 1) Secondary source was collected from financial and material during October 1, 2012 to September 30, 2013. And 2) Primary source was collected by observation operative nurses, giving nursing care to 30 laparoscopic cholecystectomy patients and 30 patients self-reported health by EQ-5D . Data was collected from October 7, 2013 to February 28, 2014. Two instrumental methods were utilized in this study: 1) The record relating to the analysis of the cost-effectiveness and 2) The record relating to the analysis of perioperative nursing activities base costing (ABC). All instruments were tested for content validity and reliability. The major results of this study were as follows: 1. The cost-effectiveness between standard three port and single incision laparoscopic cholecystectomy , Cost-Effectiveness ratio (CER) was 39,684 and 39,584 Bath per case respectively. 2. Perioperative nursing activities base costing (ABC) of standard three port and single incision laparoscopic cholecystectomy had 1) the highest intraoperative nursing activities cost which was 1,280 and 1,143 Bath per case respectively 2) preoperative nursing activities cost which was 435 and 430 Bath per case respectively and 3) postoperative nursing activities had the lowest cost which was 69.7 and 71.6 Bath per case respectively.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.520-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectบริการทางการแพทย์ -- ค่าใช้จ่าย
dc.subjectต้นทุนและประสิทธิผล
dc.subjectถุงน้ำดี -- ศัลยกรรม -- ต้นทุน
dc.subjectMedical care, Cost of
dc.subjectCost effectiveness
dc.subjectSurgery -- Surgery -- Costs
dc.titleการวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผล และต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดถุงน้ำดีด้วยกล้องวีดีทัศน์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติen_US
dc.title.alternativeTHE ANALYSIS OF COST-EFFECTIVENESS, PERIOPERATIVE NURSING ACTIVITIES BASE COSTING IN PATIENTS WITH LAPAROSCOPIC CHOLECYSTECTOMY,THAMMASAT HOSPITALen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการบริหารการพยาบาลen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected],[email protected]en_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.520-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5477194636.pdf5.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.