Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4453
Title: | การศึกษาการทำงานซีสโตลิกของหัวใจห้องล่างซ้ายในผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก |
Other Titles: | Study on left ventricular systolic function in patients with dengue hemorrhagic fever |
Authors: | มณนิภา สื่อเสาวลักษณ์ |
Advisors: | อภิชัย คงพัฒนะโยธิน ชิษณุ พันธุ์เจริญ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | หัวใจ ซิสโตลิก ไข้เลือดออก |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เพื่อเปรียบเทียบการทำงานซีสโตลิกของหัวใจห้องล่างซ้ายในผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเดงกิวในระยะวิกฤติและหลังจากระยะฟื้นโรค โดยการวัดค่า ejection fraction และ velocity of circumferential fiber shortening/end systolic wall stress relationship (VCFC/ESS) Z-score จากคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงวิเคราะห์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-sectional analytic study) สถานที่ศึกษา: ภาควิชากุมารเวชศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ประชากร: ผู้ป่วยเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งติดเชื้อไวรัสเดงกิว โดยได้รับการยืนยันทางน้ำเหลืองวิทยา และมีอาการทางคลินิกของ dengue hemorrhagic fever (DHF) และเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่ 1 เมษายน 2543 ถึง 31 มีนาคม 2544 วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยที่ทำการศึกษาจะได้รับการซักประวัติ ตรวจร่างกาย เก็บตัวอย่างเลือดเพื่อการวินิจฉัยทางน้ำเหลืองวิทยา ตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจในระยะวิกฤติ ระยะพักฟื้น และเมื่อติดตามอาการเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ โดยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ ejection fraction (EF), velocity of circumferential fiber shortening/end systolic wall stress relationship (VCFC/ESS) Z-score และเปรียบเทียบค่าเหล่านี้ในระหว่างระยะวิกฤติกับหลังจากระยะฟื้นโรค โดยใช้การทดสอบ paired t ค่า p<0.05 ถือว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเดงกิวที่ได้รับการยืนยันทางน้ำเหลืองวิทยาจำนวน 18 ราย เพศชาย 10 คน เพศหยิง 8 คน อายุเฉลี่ย 11.3 ปี พบว่าค่า ejection fraction ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในระยะวิกฤติของโรค (56.1+-8.3% เทียบกับ 63.2+-4.5%, p<0.001) ค่า VCFC/ESS Z-score ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในระยะวิกฤติของโรค (ค่า Z-score -1.1+-2.6 เทียบกับ 0.2+-1.3, p = 0.026) ค่า ejection fraction และ VCFC/ESS Z-score ในผู้ป่วยกลุ่มช็อก (EF = 56.0+-5.4%, VCFC = -1+-0.1, n = 7) และไม่ช็อก (EF = 56.4+-0.1%, VCFC = -1.2+-3.9, n = 11) ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลสรุป: การศึกษาผู้ป่วยในระยะวิกฤติของโรคไข้เลือดออกเดงกิว พบว่าการทำงานซีสโตลิกของหัวใจห้องล่างซ้ายลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มช็อกกับไม่ช็อก พบมีค่าเฉลี่ยของการทำงานซีสโตลิกของหัวใจห้องล่างซ้ายไม่แตกต่างกัน สาเหตุของความผิดปกตินี้ยังคงต้องได้รับการศึกษาค้นคว้าต่อไป |
Other Abstract: | To compare cardiac systolic function, as represented by ejection fraction (EF), velocity of circumferential fiber shortening / end systolic wall stress relationship (VCFC/ESS) Z-score measured by echocardiography, between the toxic stage and after recovery in patients with dengue hemorrhagic (DHF). Design: Cross-sectional analytic study. Setting: Department of Pediatrics, King Chulalongkorn Memorial Hospital. Patients: Children (age 0-15 years) with serologically proven DHF who were admitted to King Chulalongkorn Memorial Hospital between April 1st, 2000 and March 31st, 2001. Methods: Clinical evaluation, blood investigation, infor consent and echocardiograms were done in all recruited children, during toxic stage, convalescent stage and after recovery (2-3 weeks after discharge). Ejection fraction (EF) velocity of circumferential fiber shortening / end systolic wall stress relationship (VCFC/ESS) Z-score were compared between toxic stage and after recovery using paired t-test for statistical significance (p<0.05). Results: Eighteen children (10 males, 8 females; mean age 11.3 years) with clinical diagnosis and serologically proven DHF underwent echocardiograms. The ejection fraction was significantly decreased in the toxic stage compare to after recovery (56.1+-8.3% VS 63.2+-4.5%, p<0.001). The VCFC/ESS Z-score was significantly decreased in the toxic stage compare to after recovery (-1.1+-2.6 VS 0.2+-1.3, p = 0.026). The cardiac systolic function between shock (EF = 56.0+-5.4%, VCFC = -1.0+-0.1, n = 7) and non shock groups (EF = 56.4+-0.1%, VCFC = -1.2+-3.9, n = 11) is not significantly different. Conclusions: DHF is associated with impaired left ventricular systolic function. No association between the degree of cardiac dysfunction and the severity of DHF was found in this study. The importance of these findings deserves further investigation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กุมารเวชศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4453 |
ISBN: | 9741301049 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
MonnipaSue.pdf | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.