Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44640
Title: | การนำเสนอรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะธรรมาภิบาลของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสำหรับนิสิตนักศึกษาสาขาวิชาบริหารธุรกิจโดยใช้การฝึกทางปัญญาจากต้นแบบในเครือข่ายสังคมออนไลน์ |
Other Titles: | A PROPOSED MODEL OF CORPORATE GOVERNANCE CHARACTERISTICS DEVELOPMENT OF SMALL AND MEDIUM ENTREPRENEUR FOR UNDERGRADUATED STUDENTS MAJORING BUSINESS ADMINSTRATION BY USING COGNITIVEAPPRENTICESHIP IN SOCIAL NETWORK |
Authors: | วราธัช ตันติวรวงศ์ |
Advisors: | พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์ ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] [email protected],[email protected] |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาและวิเคราะห์คุณลักษณะธรรมาภิบาลของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสำหรับนิสิตนักศึกษา (2) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการเรียนรู้ด้วยวิธีการฝึกทางปัญญาจากต้นแบบและพฤติกรรมการเรียนรู้ของนิสิตนักศึกษาในเครือข่ายสังคมออนไลน์ และ (3) พัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะธรรมาภิบาลของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสำหรับนิสิตนักศึกษาโดยใช้การฝึกทางปัญญาจากต้นแบบในเครือข่ายสังคมออนไลน์เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามความคิดเห็น แบบวัดผลสัมฤทธิ์ในเรื่องคุณลักษณะธรรมาภิบาลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและแบบประเมินความคิดเห็นในเรื่องการเรียนรู้โดยใช้วิธีการฝึกทางปัญญาจากต้นแบบในเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับ การบริหารธุรกิจ การเป็นผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจ การประกอบการและการจัดการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตั้งแต่ชั้นปีที่ 3 ขึ้นไป รวมจำนวน 51 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยวิธีการฝึกทางปัญญาจากต้นแบบในเฟสบุ๊กเพื่อพัฒนาคุณลักษณะธรรมาภิบาลของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสำหรับนิสิตนักศึกษาสาวิชาบริหารธุรกิจต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการคือ (1) ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับรางวัลธรรมาภิบาลดีเด่นของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งปีในบทบาทของพี่เลี้ยงต้นแบบและนิสิตนักศึกษาในบทบาทของผู้ฝึกปฏิบัติที่มีการสื่อสารและร่วมแรงร่วมใจในการเรียนรู้ที่ตื่นตัวและต่อเนื่องในเฟสบุ๊ก (2) เฟสบุ๊กซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้ที่มีคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องมือที่สัมพันธ์กับประโยชน์ทางการศึกษา ผ่านการสื่อสาร การร่วมแรงร่วมใจ และการแบ่งปันข้อมูลและข่าวสาร (3) การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการฝึกทางปัญญาจากต้นแบบ 6 ขั้นตอนคือ การเป็นต้นแบบ การเป็นผู้ชี้แนะ การให้ความช่วยเหลือ การสื่อสารอย่างชัดเจน การทบทวนความคิด และการสำรวจค้นหา โดยตลอดระยะเวลาของเรียนรู้ในเฟสบุ๊ก 104 วัน พบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ในเรื่องคุณลักษณะธรรมาภิบาลของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของนิสิตนักศึกษาหลังการเรียนรู้ในเฟสบุ๊กมากกว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญโดยได้ค่า Paired t-test เท่ากับ 3.568 ซึ่งมีค่ามากกว่า 1.96 ในระดับความเชื่อมั่น (Sig. 2 tailed) ที่ 0.001 ซึ่งน้อยกว่าระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 อีกทั้ง นิสิตนักศึกษาที่มีการเรียนรู้โดยการเขียนคอมเม้นท์ในเฟสบุ๊กไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของหน่วยการเรียนรู้ได้คะแนนผลสัมฤทธิ์ในเรื่องคุณลักษณะธรรมาภิบาลของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหลังการเรียนรู้ในเฟสบุ๊กเท่ากับผู้ประกอบการที่ได้รับรางวัลธรรมาภิบาลดีเด่นแห่งปีในระดับสูงสุดที่ 5 ซึ่งเป็นระดับที่นิสิตนักศึกษาสามารถคิดเชิงกลยุทธ์ขั้นสูงที่สามารถสร้างสมดุลระหว่างการสร้างผลกำไรทางธุรกิจและการรู้จักรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งเกิดจากการปรับรับประสบการณ์ใหม่เพื่อรักษาการเปลี่ยนทัศนคติเชิงจิตพิสัยอย่างคงทนถาวร |
Other Abstract: | The objective of the research are (1) to study and analyze the current status and practices in the development of corporate governance of small and medium entrepreneurship (2) to study current situation of cognitive apprenticeship learning model in Facebook for higher graduate education (3) To develop learning model in corporate governance characteristics of small and medium entrepreneurs for students using cognitive apprenticeship learning model in Facebook. Data collecting method in this study by using semi-interview form, questionnaire, corporate governance characteristics test and evaluation form of learning model in corporate governance characteristic of small and medium entrepreneurs. The sample group who are 51 in the third years, or higher years of undergraduate students majoring in fields related to business administration, small and medium entrepreneurs, business owners, traders, and small and medium entrepreneurs management. Data analysis methods are statistic, frequency, percentage, average, standard deviation, and content analysis Developing learning model using cognitive apprenticeship learning model in Facebook to develop corporate governance characteristics in small and medium entrepreneurs for undergraduate students require 3 important factors which are (1) small and medium entrepreneurs whom received award in good corporate governance for SME of the year as the role model and students as the apprentice have active communication and continue collaboration in Facebook. (2) Facebook is an important tool in unique learning method benefiting education through communication, collaboration and resource/material sharing. (3) Managing learning method with 6 steps of cognitive apprenticeship learning model which are being a modeling, coaching, scaffolding, articulation, reflection and exploration. Through learning in Facebook for 104 days, the researcher found that total score in corporate governance characteristic in small and medium entrepreneurs of the students after learning in Facebook reveals the higher score before learning with Paired t-test of 3.568 which is greater than 1.96 with the obvious confident difference at 0.001 which is less than statistical difference at 0.05. Moreover, students who learned through writing “Comment” in Facebook more than 80 percent of all learning units showed the post-test score related to corporate governance characteristics of small and medium entrepreneurs achieving the highest levels of 5 which is close to the small and medium entrepreneurs whom received good corporate governance for SME of the year award and is the level showing the students have understandings in strategic thinking with the capabilities to create a balance between making profit and public responsibility from adjust to their new experiences to maintain changing attitude in the aspect of affective domain permanently. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | อุดมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44640 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5584271427.pdf | 22.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.