Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44875
Title: คุณภาพการนอนหลับ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในผู้ดูแลผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมที่คลินิกโรคสมองเสื่อม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: Quality of sleep and related factors in caregivers of patients with dementia at dementia clinic, King Chulalongkorn Memorial Hospital
Authors: วรวุฒิ ร่มไทร
Advisors: สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การนอนหลับ
ภาวะสมองเสื่อม
Sleep
Dementia
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เหตุผลของการทำวิจัย : การดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมอาจส่งผลต่อปัญหาสุขภาพจิตและปัญหาการนอนของผู้ดูแล การตระหนักและเข้าใจถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการนอนของผู้ดูแลผู้ป่วยจะช่วยจัดการเพื่อลดภาระในการดูแลผู้ป่วยได้ วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาคุณภาพการนอนหลับและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในผู้ดูแลผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม ที่คลินิกโรคสมองเสื่อม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง สถานที่ทำการศึกษา : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ดูแลผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมจำนวน 84 คน ที่คลินิกโรคสมองเสื่อม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยการทบทวนเวชระเบียนและการสัมภาษณ์ผู้ดูแลผู้ป่วย เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย ด้วยแบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ(PSQI)และแบบประเมินภาวะซึมเศร้า(HAM-D)ของผู้ดูแล แบบประเมินอาการทางจิตประสาทของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม(NPI-Q) แบบสอบถามความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย (MBAI) แบบสอบถามความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันขั้นสูงของผู้ป่วย(CAI) วิเคราะห์ข้อมูลแบบunivariate analysisและmultivariate analysis เพื่อทดสอบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับในผู้ดูแลผู้ป่วย ผลการศึกษา : พบว่าผู้ดูแลมีคุณภาพการนอนหลับไม่ดีร้อยละ 90.5 โดยมีปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของผู้ดูแลคือ การดูแลผู้ป่วยเพศหญิง การมีระดับพุทธิปัญญาเสื่อมไม่รุนแรงหรือมีค่าคะแนน Thai Mental State Examination (TMSE)ที่สูง ผู้ป่วยที่มีอารมณ์หงุดหงิดหรืออารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย ผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมทำซ้ำๆที่แปลกๆ เมื่อวิเคราะห์ด้วยlinear regression analysis พบว่ามี 3 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพการนอนที่ไม่ดี ได้แก่ การดูแลผู้ป่วยเพศหญิง คะแนนความซึมเศร้าจากแบบสอบถาม HAM-D และการมีภาวะโรคร่วมทางกายของผู้ดูแล สรุป : คุณภาพการนอนหลับของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมส่วนใหญ่อยู่ในระดับไม่ดี การค้นหาและให้การดูแลปัจจัยที่เกี่ยวข้องจะช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ให้การดูแลผู้ดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม
Other Abstract: Background : Caring for the patients with dementia may cause the mental health problems and sleep disturbance among caregivers.The awareness and understanding of factors associated with poor sleep quality of caregivers may ameliorate the cargivers’ burden. Objective : To explore the quality of sleep and related factors in caregivers of patients with dementia at dementia clinic, King Chulalongkorn Memorial Hospital Design : A cross – sectional descriptive study. Setting : King Chulalongkorn Memorial Hospital. Materials and Methods : Data were collected from 84 caregivers of patients with dementia by reviewing the medical records and interviewing the caregivers. The instruments consisted of Pittsburgh Sleep Quality Index (PSQI), Hamilton Rating Scale for Depression (HAM-D), Neuropsychiatry Inventory Questionaire (NPI-Q), Barthel Index Thai version (MBAI), Chula ADL Index (CAI). The univariate analysis and multivariate analysis was used to examine the associated factors with the quality of sleep. Results : We found 90.5 % of caregivers had poor quality of sleep and the factors significantly related with quality of sleep were taking care of female patients, less severe cognitive impairment or higher Thai Mental State Examination (TMSE) score, irritability and aberrant behavior of the patients. The linear regression analysis revealed 3 factors significantly associated with poor quality of sleep; including taking care of female patients , Hamilton Rating Scale for Depression (HAM-D) score, and medical comorbidity of caregivers. Conclusion : Most of the caregivers had poor quality of sleep in this study. To address and management for the associated factors will assist the medical personnel to provide appropriate intervention for the caregivers.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44875
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1666
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1666
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
worawut_ro.pdf2.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.